Loading...

จริยธรรมการวิจัยในคนสู่การสร้างมาตรฐานด้านการวิจัย

“มาตรฐานด้านจริยธรรมการวิจัยในคนถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยยกระดับคุณภาพงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สู่ความเป็นสากล”

 

 

          ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งถือเป็นสถาบันทางการศึกษาที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศไทย ผ่านการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง และการศึกษาวิจัยของเหล่าคณาจารย์ เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็ต้องการยกระดับตัวเองสู่การเป็นมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยระดับสากลมากยิ่งขึ้น เหตุผลเหล่านี้ส่งผลสำคัญต่อการกำหนดกรอบนโยบายการทำงานโดยรวมของทั้งมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะส่วนงานวิจัยของมหาวิทยาลัย

         ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยจึงมีความพยายามอย่างมากในการยกระดับการศึกษาวิจัยโดยรวมให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากยิ่งขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรด้านการวิจัยให้สามารถตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และหนึ่งในประเด็นสำคัญ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างความน่าเชื่อถือต่อภาพรวมของมหาวิทยาลัย ตลอดจนภาพรวมการวิจัยและตัวนักวิจัยเอง ทั้งในส่วนของสายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสังคมศาสตร์ คือประเด็นเรื่องจริยธรรมการวิจัยในคน กรณีการวิจัยที่มีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกันคน

         ฉะนั้น E-Newsletter ฉบับนี้จะชวนชุมชนนักวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกท่านมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นเรื่องจริยธรรมการวิจัยในคน ว่าในปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีมาตรการ และแนวทางการดำเนินงานอย่างไรบ้างที่จะให้การสนับสนุนผู้วิจัยที่มีการศึกษาเกี่ยวกับคน ในส่วนของ YPIN Talk Series จึงอยากให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมแนวทางการขอรับการประเมินจริยธรรมการวิจัยในคน ตลอดจนแนวทางการตัดสินของมหาวิทยาลัย ผ่านทาง YPIN Ambassador ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา ที่จะชวนพูดคุยประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับประเด็นงานวิจัยสายสังคมศาสตร์ที่ผ่านการประเมินจริยธรรมการวิจัยในคน ปิดท้ายด้วย YPIN Factsheet ที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุมชนผู้วิจัยที่สนใจขอรับทุนเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์และการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร