Loading...

YPIN Factsheet no.4 ทุนการเผยแพร่ผลงานเชิงสร้างสรรค์และการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

“เผยแหล่งทุนสำหรับเผยแพร่ผลงานเชิงสร้างสรรค์และการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรทั้งในระดับชาติและนานาชาติ”

 

 

          สำหรับในปี 2561-62 นี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีโครงการปีแห่งการตีพิมพ์และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อมุ่งหวังให้นักวิชาการ อาจารย์ และบุคลากรด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย ดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสุนนให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นสถาบันการศึกษาด้านวิจัยในระดับสากล ทั้งนี้มหาวิทยาลัยจัดให้มีแหล่งส่งเสริมการทำงานในรูปแบบของเงินทุนสนับสนุนและรางวัลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเป็นกำลังใจให้กับนักวิชาการทุกท่านในการผลิตผลงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งทุนในการสนับสนุนการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ตลอดจนรางวัลเผยแพร่ผลงานเชิงสร้างสรรค์

นำเสนอและเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ทั้งในและนอกประเทศขอพิจารณารางวัลได้

          ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งทุนสำคัญที่สนับสนุนและมอบรางวัลให้กับผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ทั้งในเวทีระดับชาติและระดับนานาชาติ ทั้งนี้ผลงานสร้างสรรค์มีความหมายครอบคลุมถึง ผลงานศิลปะหรือสิ่งประดิษฐ์ทางศิลปะ ซึ่งมีการพัฒนาต่อยอดจากของเดิม อันช่วยส่งเสริมให้เกิดการบุกเบิกสิ่งใหม่ งานสร้างสรรค์อาจเป็นรูปของ ทัศศิลป์ ศิลปะการแสดง และวรรณศิลป์ โดยการเผยแพร่อาจกระทำผ่านการตีพิมพ์ การจัดการแสดง การจัดนิทรรศการ หรือ การจัดประกวด

          ทั้งนี้การขอรับรางวัลเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์จะมีคณะกรรมการกรั่นกรองอีกทีหนึ่งเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของผู้ยื่นขอรับรางวัล โดยในปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แบ่งการมอบรางวัลการเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ออกเป็น 3 ประเภทหลัก

          ประเภทแรกงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ในระดับนานาชาติ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกได้รับรางวัลนี้จะได้รับเงินมูลค่า 30,000 บาท ทั้งนี้งานเผยแพร่ในระดับนานาชาตินั้นคือ การนำเสนอผลงานเผยแพร่ที่การเปิดกว้างสำหรับทุกประเทศและแหล่งที่มีการเผยแพร่ต้องเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะ ทั้งนี้ควรมีการนำเสนอจากหลากหลายประเทศไม่ต่ำกว่า 5 ประเทศ

          ประการที่สองงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกได้รับรางวัลนี้จะได้รับเงินมูลค่า 15,000 บาท ทั้งนี้พื้นที่เผยแพร่ผลงานในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ คือกิจกรรมงานแสดงผลงานซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น

          ประการสุดท้ายงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ในระดับชาติ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกได้รับรางวัลนี้จะได้รับเงินมูลค่า 5,000 บาท ทั้งนี้พื้นที่เผยแพร่ผลงานในระดับชาติคือการเผยแพร่ผลงานในระดับสถานศึกษาภายในประเทศ เชน หอศิลป์ หอประชุม และลานวัฒนธรรม โดยเป็นลักษณะการจัดการแสดงที่เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาชีพและผู้ทรงคุณวุฒิ

การจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์/สิทธิบัตรการออกแบบหรืออนุสิทธิบัตรทั้งในระดับชาติและนานาชาติล้วนมีทุนสนับสนุน

          เป็นอีกแหล่งทุนสำคัญในการสนับสนุนผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งในระดับประเทศไทย หรือในประเทศอื่น ๆ ตามแต่คณะกรรมการจพกำหนดกรอบในการคัดเลือกเอาไว้ เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ ในขณะเดียวกันบังช่วยตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้วย

          ปัจจุบันทุนนี้แบ่งการสนับสนุนเป็นสองส่วนสำคัญคือทุนสนับสนุนการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และทุนสนับสนุนการจดสิทธิบัตรการออกแบบหรืออนุสิทธิบัตร สำหรับการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ภายในประเทศผลงานที่มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของลิขสิทธิ ได้รับเงินสนับสนุนผลงานละ 40,000 บาท และในส่วนของผลงานที่มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ แต่มีส่วนได้รับประโยชย์ ได้รับเงินสนับสนุนผลงานละ 20,000 บาท

          ในขณะที่สิทธิบัตรการประดิษฐ์ต่างประเทศนั้นผลงานที่มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของลิขสิทธิ ได้รับเงินสนับสนุนผลงานละ 80,000 บาท แต่ในส่วนผลงานที่มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ แต่มีส่วนได้รับประโยชย์ ได้รับเงินสนับสนุนผลงานละ 40,000 บาท

          อีกส่วนคือทุนจดสิทธิบัตรการออกแบบหรืออนุสิทธิบัตร ในการนี้สิทธิบัตรการออกแบบหรืออนุสิทธิบัตรภายในประเทศผลงานที่มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของลิขสิทธิ ได้รับเงินสนับสนุนผลงานละ 20,000 บาท ในขณะที่ผลงานที่มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ แต่มีส่วนได้รับประโยชย์ ได้รับเงินสนับสนุนผลงานละ 10,000 บาท

          ส่วนต่อมาคือสิทธิบัตรการออกแบบหรืออนุสิทธิบัตรต่างประเทศโดยผลงานที่มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของลิขสิทธิ ได้รับเงินสนับสนุนผลงานละ 40,000 บาท และผลงานที่มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ แต่มีส่วนได้รับประโยชย์ ได้รับเงินสนับสนุนผลงานละ 20,000 บาท