Loading...

ธรรมศาสตร์ คว้า 14 รางวัล จากเวทีรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566 สูงสุด 14 รางวัล ตอกย้ำความสำเร็จการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมของชาวธรรมศาสตร์

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2565

    คณาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2566 ทั้งสิ้น 14 รางวัล ดังนี้

รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ (สาขาเศรษฐศาสตร์)

ศ.ดร.ศากุน บุญอิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

รางวัลผลงานวิจัย 7 รางวัล

ระดับดี

1. ผลงานวิจัยเรื่อง “การเพิ่มศักยภาพการแบ่งตัวและการเจริญพัฒนาไปเป็นเซลล์กระดูกของเซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์ที่แยกจากเนื้อเยื่อรกของมนุษย์โดยสารแอนโดรกราโฟไลด์”

โดย 1. ผศ.ดร.ดวงรัตน์ ตันติกัลยาภรณ์

        2. ศ.ดร.นายแพทย์ภาคภูมิ เขียวละม้าย

        3. ศ.ดร.ศิริกุล มะโนจันทร์

        4. รศ.ดร.ชัยรัตน์ ตัณทราวัฒน์พันธ์

        5. นายนฤพงศ์ ภูนิคม

และคณะ  

          คณะแพทยศาสตร์

2. ผลงานวิจัยเรื่อง “การพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ตามบทบัญญัติ มาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560”

โดย  1. รศ.ดร.สุปรียา แก้วละเอียด

         2. อาจารย์ ดร.นัษฐิกา ศรีพงษ์กุล

          และคณะ

          คณะนิติศาสตร์

3. ผลงานวิจัยเรื่อง “โค่นยักษ์เพื่อสถานภาพ: Social Stigmatization of Status Dissatisfaction กับกรณีศึกษาสงคราม รัสเซีย-ญี่ปุ่น 1904-1905”

โดย ผศ.ดร.พีระ เจริญวัฒนนุกูล คณะรัฐศาสตร์

4. ผลงานวิจัยเรื่อง “ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การนำเข้าและตลาดแรงงาน: กรณีศึกษาของประเทศไทย”

โดย 1. รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์

        2. รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์

          คณะเศรษฐศาสตร์

5. ผลงานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ”

โดย 1. ผศ.ดร.ณัฐพงษ์ พัฒนพงษ์

        2. อาจารย์พิชญ์ จงวัฒนากุล

และคณะ

         คณะเศรษฐศาสตร์

6. ผลงานวิจัยเรื่อง “การยกระดับความปลอดภัยในการใช้รถจักรยานยนต์เช่าของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่”

โดย รศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง

7. ผลงานวิจัยเรื่อง “โครงการศึกษาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวไทย”

โดย ผศ.อัครนัย ขวัญอยู่ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (ผู้ร่วมวิจัย)

รางวัลวิทยานิพนธ์ 2 รางวัล

ระดับดีมาก

     1. วิทยานิพนธ์เรื่อง “พลศาสตร์ของพลาสมาโค้งที่มีเกลียวสนามแม่เหล็กและกระแส”

     โดย ดร.ภากร ว่องไวทยกรกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     สำเร็จการศึกษาจาก : California Institute of Technology, สหรัฐอเมริกา

     อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก : Professor Paul Bellan

     2. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การทำให้หน้าที่เปิดเผยข้อมูลก่อนเข้าทำสัญญาสอดคล้องตรงกัน: ปัจจัยสำคัญสู่การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”

     โดย อาจารย์ ดร.จุฑามาศ ถิระวัฒน์ คณะนิติศาสตร์

     สำเร็จการศึกษาจาก : Georgetown University, สหรัฐอเมริกา

     อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก : Professor Gregory Klass

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น 4 รางวัล

ระดับดี 1 รางวัล

ผลงานเรื่อง “ระบบเกษตรอัจฉริยะเพื่อการเรียนรู้ทุกช่วงวัยและพัฒนาภาคการเกษตรไทยอย่างยั่งยืน”

โดย รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ และ นางสาวรมย์นลิน จันทะวงษ์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ระดับประกาศเกียรติคุณ 3 รางวัล

     1. ผลงานเรื่อง “เครื่องวิเคราะห์สารกลุ่มซัลไฟต์แบบอัตโนมัติในอาหาร”

โดย รศ.ดร.นภาพร ยังวิเศษ และคณะ 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     2. ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมการสร้างระบบนิเวศน์ชักนำรากลอย เพื่อแก้ปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนแบบถาวร”

โดย รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ และ นายปิยะพงษ์ สอนแก้ว

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     3. ผลงานเรื่อง “เครื่องวัดสมรรถภาพทางกายแบบบันทึกในคลาวด์ FIBER FIT”

โดย  รศ.ดร.เกษรา รักษ์พงษ์สิริ  และคณะ 

คณะสหเวชศาสตร์