Loading...

คณาจารย์นักวิทยาศาสตร์ ‘ธรรมศาสตร์’ ติด Rankings Top 2% ผลงานตีพิมพ์-อ้างอิงสูงที่สุดในโลก

คณาจารย์ธรรมศาสตร์ คว้ารางวัลระดับนานาชาติ โดย “สแตนฟอร์ด” จัดอันดับให้นักวิทยาศาสตร์ธรรมศาสตร์ 6 ราย อยู่ในกลุ่ม 2% แรกของนักวิทยาศาสตร์โลก

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ.2564

     มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ทั่วโลก ประจำปี 2020 จากการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ โดยมีนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในรายชื่อ 2% แรก หรือ A list of top 2 percent of the world scientists มากถึง 6 คน

     ทั้งนี้ ประกอบด้วย 1. ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2. ศ.ดร.Babel, Sandhya สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร  3. ศ.ดร.เกศรา ณ บางช้าง วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ 4. ศ.พญ.จันทรา เหล่าถาวร-กาบวัง ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา 5. ศ.ดร.สมชาติ ฉันทศิริวรรณ คณะวิศวกรรมศาสตร์  และ 6. ศ.ดร.Kuprianov, Vladimir I. สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

     นอกจากนี้ ในปีเดียวกันคณาจารย์จากธรรมศาสตร์ ยังได้รับรางวัลพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2562 ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

และยังมีผู้ที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) อีก 19 รางวัล ดังนี้

รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 2 รางวัล ได้แก่

1. ศ.ดร.เกศรา ณ บางช้าง วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ ในสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

2. ศ.ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ คณะศิลปศาสตร์ ในสาขาปรัชญา

     รางวัลผลงานวิจัย จำนวน 7 รางวัล ได้แก่

รางวัลระดับดีมาก

1.ผศ.ดร.พจนีย์ ศรีมาโนชญ์ คณะสหเวชศาสตร์ (ผู้ร่วมวิจัย)

จากผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษามุ่งเป้าสารโรโดไมรโทนจากสมุนไพร ใบกระทุ (วงศ์ชมพู่) เป็นยา ปฏิชีวนะกลุ่มใหม่และการใช้เทคโนโลยีต่อยอดเป็นนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์”

รางวัลระดับดี

2. รศ.ดร.อรุณพร อิฐรัตน์ คณะแพทยศาสตร์

จากผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนายาสมุนไพรรักษาโรคเรื้อรังจากสารสกัดเบญจกูล”

3. ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์

จากผลงานวิจัยเรื่อง “พลวัตทางการเมืองเรื่องการเลือกตั้งและประชาธิปไตยในอาเซียน: ศึกษาเปรียบเทียบประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์”

4. รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ คณะเศรษฐศาสตร์

จากผลงานวิจัยเรื่อง “การกระจายตัวของการส่งออก โครงสร้างการกระจายตัว และการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรมไทย”

5. ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

จากผลงานวิจัยเรื่อง “อยู่กับบาดแผล : เสียงจากสามัญชน ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางการเมือง (2553-2557)”

6. ผศ.ดร.จันทนี เจริญศรี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และ ผศ.ดร.ณัฐจรี สุวรรณภัฏ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

จากผลงานวิจัยเรื่อง “การย้ายถิ่นของแรงงานทักษะสูงในไทย: บทสำรวจเบื้องต้น”

7. ดร.กาญจณี พันธุ์ไพโรจน์ คณะพยาบาลศาสตร์

จากผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีสุดท้ายเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบวิชาชีพในกลุ่มประเทศอาเซียน”

     รางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวน 5 รางวัล ได้แก่

รางวัลระดับดีมาก

1. ผศ.ดร.ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี คณะนิติศาสตร์

 จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “สิทธิในการเดินทางทางอากาศของคนพิการ The Right to Travel by Air of Persons with Disabilities สำเร็จการศึกษาจาก Leiden University เนเธอร์แลนด์”

รางวัลระดับดี

2. ว่าที่ร้อยตรีหญิง ดร.เปรมปรียา มณเฑียรทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การวิเคราะห์เชิงตัวเลขของผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าต่อการส่งถ่ายพลังงาน โมเมนตัม และความเข้มข้น ในระหว่างการไหลแบบอิ่มตัวในวัสดุพรุน (กรณีศึกษาแบบจำลองประเภทไม่สมดุลเชิงความร้อน)”

3. ดร.พีระ เจริญวัฒนนุกูล คณะรัฐศาสตร์

จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “ความมั่นคงของตัวตนและการแสวงหาสถานะ: นโยบายต่างประเทศเชิงรุกของไทยช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง”

4. ผศ.ดร.วิลาสินี พนานครทรัพย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “ความสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมบนพื้นที่ไซเบอร์: จินตนาการผู้หญิงไทยในการค้นหาคู่ออนไลน์ข้ามชาติ”

5. ดร.สมชาติ ฟักเขียว สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ทำงานร่วมกันโดยสามารถกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลได้ชัดเจน สามารถรองรับการใช้งานได้ไม่จำกัด และมีประสิทธิภาพการเพิกถอนสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลในคลาวด์ที่มีผู้ออกแอททริบิ้วต์หลายราย”

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน 5 รางวัล ได้แก่

รางวัลระดับดีมาก

1. ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ผศ.ดร.พัชรี คุณค้ำชู คณะสหเวชศาสตร์

จากผลงานเรื่อง “การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเดินแบบมีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วน : Space Walker”

รางวัลระดับดี

2. ผศ.ดร.ฌลณต เกษตร คณะสหเวชศาสตร์ และ ผศ.ดร.สิรินารถ ชูเมียน คณะสหเวชศาสตร์

จากผลงานเรื่อง “ชุดสีย้อมอสุจิ บี อาร์”

รางวัลประกาศเกียรติคุณ

3. รศ.ดร.นภาพร ยังวิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จากผลงานเรื่อง “เซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและ สิ่งแวดล้อม”

4. รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์

จากผลงานเรื่อง “เอไอเชสฟอร์ออล”

5. อาจารย์สุภาวดี ทับกล่ำ คณะพยาบาลศาสตร์

จากผลงานเรื่อง “อุปกรณ์สร้างสถานการณ์จำลองสำหรับการฝึกการดูแลผู้ป่วยทารกที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ”

     รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  กล่าวว่า ธรรมศาสตร์มีนโยบายในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่การวิจัยระดับแนวหน้าของโลก โดยสนับสนุนให้อาจารย์และนักวิจัยผลิตผลงานวิจัยที่โดดเด่น นําผลงานสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีศักยภาพไปพัฒนาต่อยอดส่งเข้าประกวดแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติ

      “ดิฉันมีความยินดีปลาบปลื้มใจ และต้องขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่นักวิจัยของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ทุกท่านที่ตั้งใจสร้างผลงานวิจัยจนได้รับรางวัลด้านวิจัยอันทรงเกียรตินี้ ซึ่งนับเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับธรรมศาสตร์สู่ระดับสากล และเป็นที่รู้จักในวงกว้างด้านวิจัยมากยิ่งขึ้น” รศ.เกศินี กล่าว

     รศ.เกศินี กล่าวอีกว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มุ่งมั่นในการส่งเสริมความเป็นเลิศในด้านการวิจัยและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาสังคมคือแนวทางหลักที่ธรรมศาสตร์ให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยเฉพาะในฐานะที่ธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชนด้วยแล้ว งานวิจัยและนวัตกรรมย่อมมีส่วนสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งธรรมศาสตร์มีความภาคภูมิและตั้งใจที่จะเป็นผู้นำด้านนี้ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศชาติและเป็นที่พึ่งพิงของประชาชนคนไทยอย่างแท้จริง