Loading...

“วันปรีดี พนมยงค์ 2562” รำลึกผู้ประศาสน์การ-ขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยสู่ภูมิทัศน์ใหม่

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงาน “วันปรีดี พนมยงค์ ประจำปี 2562” รำลึกผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เปิดเวทีอภิปรายปรับบทบาทอุดมศึกษาไทย

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2562

  

          การปกครอง พ.ศ. 2475 ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็น “บุคคลสำคัญของโลก” โดยมีองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถานทูตต่างประเทศ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พรรคการเมือง ผู้บริหาร คณาจารย์และองค์การนักศึกษา ฯลฯ เข้าร่วมในพิธีวางพานพุ่ม ณ อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 

          รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลผู้ทรงคุณค่าที่ทำคุณประโยชน์แก่ระบบการศึกษา สังคม เศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน จนได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ท่านจึงไม่เพียงเป็นแบบอย่างความภาคภูมิใจของชาวธรรมศาสตร์ทุกคน แต่รวมถึงสร้างประโยชน์ต่อมนุษยชาติและสังคมโลก

          ด้าน นายสมชาย  พูลสวัสดิ์ นายกสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า 11 พฤษภาคม เป็นวันที่ชาวธรรมศาสตร์ถือเป็น “วันปรีดี” วันของผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง บทบาทของท่านอาจารย์ปรีดีมีมากมาย และสิ่งที่ทำให้อาจารย์ปรีดี เป็นสามัญชนที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เรื่องตำแหน่ง หน้าที่ เกียรติยศเท่านั้น แต่คือการที่ท่านรับใช้ทุ่มเทให้บ้านเมืองมาตลอดชั่วชีวิต โดยเชื่อมั่นว่า “ผลของการก่อสร้างไว้ดีแล้ว ย่อมไม่สูญหาย”

          ในงานยังมีพิธีมอบโล่รางวัล “ปรีดี พนมยงค์” ประจำปี 2562 แก่นักศึกษาดีเด่น ได้แก่ นางสาวศิวนาถ โปษยาอนุวัตร์ จากคณะทันตแพทยศาสตร์ และรางวัล “ทุนปาล พนมยงค์” ประจำปี 2562 ให้แก่ นายทัชภูมิ ทุมสวัสดิ์ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ในหัวข้อ “การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม สำคัญต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างไร” พร้อมการอภิปรายเรื่อง “อนาคตอุดมศึกษาไทย : จากบ่อน้ำบำบัดความกระหายสู่ความหลากหลายของการเรียนรู้”

          ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ส่วนหนึ่งเพราะต้องการผู้มีความรู้เรื่องการเมืองการปกครอง และเป็นบ่อบำบัดความกระหายความรู้ของประชาชน โดยปีแรกมีผู้สมัครเรียนถึง 7,094 คน

          “ทุกวันนี้เรามีนักศึกษาถึง 40,000 คน ถือว่ามากเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยมาตรฐานโลกมี 20,000 คน ดังนั้นเราอย่าคิดว่าปริมาณผู้เรียนลดลงแล้วจะวิกฤต แต่นี่คือโอกาสที่มหาวิทยาลัยจะปรับตัวให้คนเกิดวิธีคิดใหม่ ๆ เพราะอนาคตเรามีระบบ AI ช่วยทำให้เกิดความรู้มหาศาล สิ่งสำคัญคืออาจารย์ต้องสอนทักษะให้เด็กรู้จักการเป็นผู้นำ การเข้าหาผู้คน ความเป็นธรรมและความยุติธรรม” ศ.ดร.สมคิด กล่าว

          นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่อยากให้สังคมมองการศึกษาเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณผู้เรียนลดลง แต่ควรปรับให้เป็นระบบอุดมศึกษาของมวชน ขยายโอกาสไปสู่คนทุกกลุ่ม เน้นคุณภาพและการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ สร้างกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหา เปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนหนังสือเป็นผู้ให้ทักษะว่าจะนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ตอบสนองคนรุ่นใหม่ที่ต้องการประกอบอาชีพอิสระและสตาร์ทอัพ สนใจเรียนหลายสาขาวิชาแต่ไม่ใช่คณะใดคณะหนึ่ง 

          นายอภิสิทธิ์ มองว่า ขณะนี้โจทย์การศึกษาเปลี่ยนไป การบริหารของกระทรวงศึกษาธิการก็ไม่จำเป็นต้องมีมาก ภาครัฐควรจัดงบประมาณให้มหาวิทยาลัยมีอิสระคล่องตัว กำกับคุณภาพและมาตรฐานเท่านั้น 

          ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชาติ พวงสำลี คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่า ขณะนี้คือการปรับภูมิทัศน์การศึกษาใน 3 ด้าน ได้แก่ 1. คนรุ่นใหม่มีวิธีการเรียนรู้ ไลฟ์สไตล์ ความใฝ่ฝันในอาชีพที่แตกต่างจากอดีต จึงต้องจัดโครงสร้างที่ตรงกับความต้องการ 2. เทคโนโลยีทำให้เกิดสื่อการเรียนรู้และศาสตร์ใหม่ ๆ เน้นการสอนแบบแอคทีฟเลิร์นนิ่ง 3. สร้างโอกาสที่เปิดกว้างขึ้น เช่น สังคมผู้สูงวัย การปรับทักษะแรงงานโดยผ่านสถาบันอุดมศึกษา

          ทั้งนี้ ระบบการศึกษาไทยกำลังเผชิญโจทย์ใหญ่ คือเรามีโรงเรียนทั่วประเทศกว่า 30,000 แห่ง แต่เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีผู้เรียนไม่ถึง 120 คน มากถึง 17,000 แห่ง จึงขาดความพร้อมด้านทรัพยากรต่าง ๆ และอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีครูเกษียณอายุอีกครึ่งหนึ่ง รวมถึงแต่ละปีมีเด็กที่ออกจากระบบนับแสนคนด้วยปัญหาต่าง ๆ กัน เช่น ท้องก่อนวัย ความรุนแรงในชั้นเรียน ฯลฯ ทุกอย่างล้วนทำให้เราไม่สามารถรออยู่แต่ในรั้วมหาวิทยาลัยได้ต่อไป แต่จะต้องช่วยกันสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพขึ้นมาด้วย