Loading...

ยกระดับ SMEs ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

 

ยกระดับ SMEs ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม กับ  ผศ.ดร.อรพรรณ คงมาลัย อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม และหัวหน้าโครงการยกระดับธุรกิจเริ่มต้น ปี 2562

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2562

  

 

          ปัจจุบัน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs มีจำนวนกว่า 3 ล้านกิจการ คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของจำนวนวิสาหกิจทั่วประเทศ ดังนั้น SMEs จึงเป็นแหล่งจ้างงานขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 10 ล้านคน นับเป็นห่วงโซ่การผลิตและเป็นรากฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญกลไกหนึ่ง

          รัฐบาลมุ่งพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็น Thailand 4.0 ผู้ประกอบการ SMEs จำเป็นต้องปรับตัวในการสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม การที่ SMEs จะพัฒนานวัตกรรมเองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและมหาวิทยาลัยจึงเข้ามามีบทบาทในการบูรณาการการทำงานกับ SMEs เพื่อพัฒนานวัตกรรม หรือที่เรียกกันว่าโมเดลการสร้างนวัตกรรมแบบเกลียว 3 สาย (triple helix model)

          ผศ.ดร.อรพรรณ คงมาลัย อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และหัวหน้าโครงการยกระดับธุรกิจเริ่มต้น (Boost up New Entrepreneurs) ปีงบประมาณ 2562 กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. สนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ยกระดับธุรกิจ โดยนำกระบวนการพัฒนานวัตกรรมมาปรับใช้ในตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ตั้งแต่ Idea Generation, Designing Business Model, Financing, Production, Sale and Marketing และ Distribution

          โครงการฯ ได้นำ BCG โมเดล มาเป็นกรอบในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดย BCG โมเดล ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ B Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อให้การส่งเสริม SMEs มุ่งตรงไปยังอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ทางโครงการฯ จึงโฟกัสการดำเนินงานไปที่อุตสาหกรรม Health, Beauty, และ Service

          ผลการสำรวจความต้องการพัฒนาของ SMEs พบว่า การตลาดเป็นด้านที่ SMEs ต้องการให้ช่วยเหลือมากที่สุด (ร้อยละ 42.6) รองลงมาคือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 28.7) และการตรวจวิเคราะห์ (ร้อยละ 9.5)

          ผศ.ดร.อรพรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2562 โครงการฯ มีเป้าหมายในการยกระดับ SMEs ในอุตสาหกรรม Health, Beauty และ Service จำนวน 100 ราย ในพื้นที่ภาคกลาง อย่างไรก็ตาม มีผู้ประกอบการสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 160 ราย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและบรรลุผลการพัฒนาอย่างมีประสิทธิผล ทางโครงการฯ จึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือที่สามารถวิเคราะห์และคัดเลือกผู้ที่พร้อมต่อการพัฒนาและยกระดับ โดยมีเกณฑ์การวิเคราะห์ใน 3 มิติ ได้แก่

          1. จุดแข็งของธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ (Business Strength)

                    - ความชัดเจนของที่มา/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

                    - กลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์

                    - ช่องทางการจัดจำหน่าย

                    - รูปแบบการประชาสัมพันธ์

                    - ระยะเวลา/กำลังการผลิต

          2. ความน่าสนใจของตลาด (Market Attractiveness)

                    - ขนาดตลาดและแนวโน้มการเติบโตของตลาด

                    - สภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรม

                    - ความคุ้นเคยต่อผลิตภัณฑ์ของตลาด/ ลูกค้า

                    - เป็นที่สนใจของตลาดและนักลงทุนในปัจจุบัน

          3. ความพร้อมของผู้ประกอบการ (Readiness of Entrepreneur)

                    - ความพร้อมด้านเวลา

                    - ความพร้อมด้านการลงทุน