Loading...

ทีมนักวิจัยธรรมศาสตร์ คว้า 19 รางวัล เวทีนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ SIIF 2019

ตอกย้ำศักยภาพด้านวิชาการบนเวทีระดับโลก นักวิจัยธรรมศาสตร์คว้า 19 รางวัล ประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ Seoul International Invention Fair 2019

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2562


          ทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอกย้ำศักยภาพด้านวิชาการในเวทีระดับโลก คว้า 19 รางวัล ในเวทีประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ "Seoul International Invention Fair 2019" (SIIF 2019) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 - 30 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

          รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ นำนักวิจัยเข้าร่วมการประกวดและจัดแสดงนิทรรศการในเวทีประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ "Seoul International Invention Fair 2019" โดยมีผลงานจากนักคิด นักประดิษฐ์กว่า 30 ประเทศ และมีการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์มากกว่า 600 ผลงาน โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สามารถคว้ารางวัลได้ 19 รางวัล ได้แก่ รางวัลเหรียญทอง (Gold Prize) 9 รางวัล เหรียญเงิน (Silver medal) 2 รางวัล เหรียญทองแดง (Bronze medal) 5 รางวัล และรางวัลพิเศษ Special Prize 3 รางวัล ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นผลงานนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาสังคม ผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการเกษตรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้าได้ยิ่งขึ้น ยกระดับผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ให้สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้สูงขึ้น ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านวิชาการและวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำหรับผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่ธรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในปีนี้ ประกอบด้วย 

รางวัลเหรียญทอง (Gold Prize)

          - นวัตกรรมผงปรุงรสจากเปลือกกุ้งล็อปสเตอร์แคลเซียมสูง โปรตีนสูง โซเดียมต่ำ Lobster-Xanthin

โดย อาจารย์ ดร.สุธีรา วัฒนกุล จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ

          - ผลิตภัณฑ์วาฟเฟิลชะอมกรอบ ไส้แยมกระเจี๊ยบเขียวรสแกงส้ม Sharimp

โดย รศ.ดร.ประภาศรี เทพรักษา จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ 

          - สถานีรีไซเคิลจากพาเลทไม้ (Pallet Recycling station)

โดย อาจารย์ ดร.วิญญู อาจรักษา และ ผศ.ดร.จุฬวดี สันทัด จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง และคณะ 

          - Fresh Served Technology: Smart export fresh mature durian technology around the world

โดย รศ.ดร.วรภัทร ลัคนทินวงศ์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ

          - Ethylene Gas (EG) - Fresh Sense

โดย ผศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ

          - Flex-Pack

โดย ผศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ  

          - Cool to Touch

โดย ผศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ โดยผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลพิเศษ จาก Patent  Office of Cooperation Council for the Arab States of the Gulf

          - A-B block

โดย ผศ.ดร.เบญญา เชิดหิรัญกร จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ

          - cpp guide line

โดย อาจารย์การันต์ พงษ์พานิช จากคณะสหเวชศาสตร์ และคณะ

รางวัลเหรียญเงิน (Silver medal)

          - MicroPlantguard

โดย ผศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ  

          - อุปกรณ์วิเคราะห์ความอิ่มตัวของออกซิเจนร่วมกับการเชื่อมต่อกับการใช้ออกซิเจน

โดย รศ.ดร.กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์ จากคณะสหเวชศาสตร์ และคณะ  

รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze medal)

          - Creamy Durian & Sticky Rice Crunch Bar

โดย ผศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ โดยผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลพิเศษ จากประเทศเวียดนาม

          - อุปกรณ์ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อขาสำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

โดย ผศ.ดร.พัชรี คุณค้ำชู จากคณะสหเวชศาสตร์ และคณะ ​โดยผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลพิเศษ จากประเทศมาเลเซีย

          - Crackless tech ; Ripening delayed and reduced Cracking of nature durian by Coating Technology to export

โดย รศ.ดร.วรภัทร ลัคนทินวงศ์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ

          - Crack Me Healthy Vegan Cracker แครกเกอร์มังสวิรัติจากแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี ปราศจากกลูเตนโปรตีนสูง และไฟเบอร์สูง

โดย อาจารย์ ดร.สุธีรา วัฒนกุล จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ

           - Vegetaron Cube (Low GI, High Vitamins and Minerals) มาการองมังสวิรัติจากถั่วเหลืองงอกสูตรไม่เติมน้ำตาล

โดย อาจารย์ ดร.กฤติยา เขื่อนเพชร จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ

          ความสำเร็จที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับ 19 รางวัล ถือเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และประเทศไทยในเวทีระดับนานาชาติ ผลักดันให้นักวิจัยของธรรมศาสตร์ได้รับการยอมรับทั้งด้านนวัตกรรม วิชาการ และความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นเลิศ ธรรมศาสตร์มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศให้ดียิ่งขึ้น