Loading...

ตึกโดม

เป็นอาคารหลังแรกของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ออกแบบโดยนายหมิว อภัยวงศ์ ตามคำแนะนำของบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัย ปรับปรุงจากตึกเก่า 4 หลังของทหารโดยสร้างหลังคาเชื่อมแต่ละตึก จนกลาย เป็น อาคารหลังเดียวกัน ส่วนกลางของตึกได้สร้างอาคาร 3 ชั้นขึ้นเพิ่มเติมโดยมี “โดม” เป็นสัญลักษณ์ตรงกลาง รูปแบบ ของโดมนี้ กล่าวอธิบายกันในภายหลังว่านำรูปแบบมาจากดินสอแปดเหลี่ยมที่เหลาจนแหลมคม เพื่อแสดงถึงภูมิปัญญา ที่สูงส่ง ของการจัดการศึกษา

ภายในอาคารตึกโดม เมื่อเดินจากบันไดกลางขึ้นไปบนชั้น 2 ห้องแรกจะเป็น ห้องทำงาน ของบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัย ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งห้องเดียวกันนี้ในสมัยสงครามโลก ครั้งที่สอง คือ ศูนย์บัญชาการ ขบวนการเสรีไทยที่มีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำ โดย ทำงาน ร่วมกับเสรีไทยสายอังกฤษ และสาย สหรัฐอเมริกา

มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง รวมทั้งตึกโดมของมหาวิทยาลัย แห่งนี้ จึงมีสถานะพิเศษอย่างยิ่ง สำหรับผู้ร่วมขบวนการเสรีไทยและผู้รักชาติทั้งมวล แต่ในอีกทางหนึ่งก็ได้ส่งผลให้ฝ่ายกองทัพและผู้มีอำนาจ ทางการเมือง ฝ่ายตรงข้าม นายปรีดี มีความระแวง และ หวาดกลัวมหาวิทยาลัยแห่ง

หลังเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน เดือนมิถุนายน พ.ศ.2494 กองทัพบกได้เข้ายึดพื้นที่ของมหาวิทยาลัยวิชา ธรรมศาสตร์และการเมืองไว้ รวมทั้งเสนอขอซื้อที่ผืนนี้ด้วยเงินจำนวน 5 ล้านบาท แต่นักศึกษาของ มธก. จำนวนกว่า 2 พันคน ได้รวมตัวกันเดินขบวนไปยังรัฐสภา เพื่อเรียกร้องขอมหาวิทยาลัยคืนจากรัฐบาลทหารในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2494 และประสบความสำเร็จโดยได้มหาวิทยาลัยคืนกลับมาอย่างสันติวิธีโดยมีนักศึกษาจำนวนกว่าพันคน ได้บุกเข้ามายึดพื้นที่ มหาวิทยาลัยคืนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2494

อย่างไรก็ตาม ในปีถัดต่อมา คือ พ.ศ.2495 ชื่อของมหาวิทยาลัยก็ได้ถูกตัดคำว่า “การเมือง” ออกไป และเหลือ แต่เพียงชื่อ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ตราบจนปัจจุบัน

กล่าวได้ว่ารรณศรี ได้ประพันธ์บทกวี “โดม…ผู้พิทักษ์ธรรม” ไว้ในปี พ.ศ.2495มีความตอนหนึ่งกล่าวว่า “ถ้าขาดโดม...เจ้าพระยา...ท่าพระจันทร์ ก็ขาดสัญลักษณ์พิทักษ์ธรรม

หอประชุมใหญ่

สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2497 ในวาระครบรอบ 20 ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย โดยมีการวางศิลาฤกษ์ ในวันสถาปนา มหาวิทยาลัย27 มิถุนายน 2497 และสร้างแล้วเสร็จในสมัยที่พลเอกถนอม กิตติขจร เป็นอธิการบดี ราวปี พ.ศ.2506

หอประชุมนี้ ก่อสร้างขึ้นด้วยความมุ่งหวังให้เป็นหอประชุมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุด ของประเทศไทย และเอเชีย ตะวันออก เฉียงใต้ในสมัยนั้น ทั้งในเรื่องของระบบเสียง ความเย็น และที่นั่ง ซึ่งมีทั้งสิ้น 2,500 ที่นั่ง โดยแยกออกเป็น ที่นั่งชั้นล่าง 1,800 ที่นั่ง และชั้นบน 700 ที่นั่ง ส่วนทางด้านทิศใต้ของหอประชุมนี้จัดทำเป็น "หอประชุมเล็ก" อีกส่วนหนึ่ง โดยบรรจุคนได้ราว 500 คน ปัจจุบันหอประชุมเล็กเรียกชื่อว่าหอประชุมศรีบูรพา ซึ่งเป็นนามปากกาของศิษย์เก่า มหาวิทยาลัย คือ กุหลาบ สายประดิษฐ์

หอประชุมใหญ่ ถูกนำมาใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ของทาง มหาวิทยาลัย และ นักศึกษาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรม เกี่ยวกับการไหว้ครู การ พระราชทาน ปริญญาบัตร รวมทั้งยังใช้เป็นห้องเรียน ในวิชาพื้นฐาน สำหรับ วิชาที่มีนักศึกษาระดับ พันคนขึ้นไป และที่สำคัญได้แก่การจัดกิจกรรม ทางการเมืองโดยเฉพาะในช่วงหลัง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 หอประชุมใหญ่กลายเป็น สถานที่ ที่มีการแสดง ความ คิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ สภาพการเมือง และสังคม ที่เป็นอยู่ ผ่านการอภิปราย และ การจัด นิทรรศการ ต่างๆ ที่มีขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ หอประชุมใหญ่ยังเป็นเสมือนด่านหน้า ในการป้องกันการโจมตี จากกลุ่มอันธพาล การเมือง และการล้อมปราบนิสิตนักศึกษา และประชาชน ในเหตุการณ์ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519

ลานปรีดี

และอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ ก่อสร้างขึ้นเพื่อ รำลึกถึง นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำขนวน การเสรีไทย และบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยวิชา ธรรมศาสตร์ การเมือง ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรม อย่างสงบเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2526 ที่ประเทศฝรั่งเศส

ท่านปรีดี พนมยงค์ เป็นบุตรชาวนา เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2443 ที่จังหวัดอยุธยา สำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม และได้รับทุน ไปศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอก โดยได้รับปริญญาเอก ของรัฐในสาขา วิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยปารีสรวมทั้งได้รับประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางเศรษฐกิจอีกด้วย

ท่านมีบทบาทอย่างสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็น ระบอบ ประชาธิปไตยวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 โดยมีฐานะเป็นผู้นำสายพลเรือนของคณะราษฎร มีบทบาทสำคัญในหลายๆ ด้านในช่วงรอยต่อของระบอบเก่ากับระบอบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการก่อร่างสร้างระบอบรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย การสถาปนาระบบรัฐสภา การแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคกับต่างประเทศ รวมทั้งการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชา ธรรมศาสตร์ และการเมือง ให้เป็นมหาวิทยาลัยเปิดเพื่อบ่มเพาะ ความรู้ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ให้แก่ประชาชน ผู้กระหาย ความรู้ทางการเมืองแบบใหม่

ปรีดี พนมยงค์ มีบทบาทอย่างสูงเด่นในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเป็นผู้นำจัดตั้งขบวนการเสรีไทย ต่อต้านการร่วมทำสงครามกับกองทัพของประเทศญี่ปุ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ท่านได้รับตำแหน่งเป็น “รัฐบุรุษอาวุโส” รวมทั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2488 อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลันในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 และเหตุการณ์สืบเนื่อง ส่งผล ทำให้นายปรีดี พนมยงค์ ต้องเดินทางลี้ภัยไปประเทศจีน และต่อมาได้พำนักอยู่ในประเทศฝรั่งเศส นับเวลาที่พำนัก อยู่ใน ต่างประเทศรวม 36 ปี ตราบจนถึงแก่อสัญกรรม

ลานโพธิ์

เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของธรรมศาสตร์และสังคมไทย นับตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ที่ขบวนการนิสิตนักศึกษาประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย

เช้าตรู่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2516 ลานโพธิ์ เป็นสถานที่เริ่มต้นของการ ชุมนุม เคลื่อนไหว ของนักศึกษา เพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวกลุ่มผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ 13 คน ซึ่งถูกรัฐบาลจับกุม ต่อมามีผู้เข้าร่วมสนับสนุนการชุมนุมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มีจำนวน นับหมื่น คน จนต้องย้ายไปชุมนุมที่สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ จำนวนผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้น จนมี จำนวน หลาย แสนคน ก่อนเคลื่อนขบวนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเวลา เที่ยงตรงของ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2516 และกลายเป็นเหตุการณ์ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516

ลานโพธิ์ยังเป็นสถานที่แสดงละครล้อการเมืองของนักศึกษาในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2519 ภาพการเล่นละครล้อ ในครั้งนั้น กลายเป็นภาพข่าวหน้าหนึ่ง ในหนังสือพิมพ์ดาวสยาม ขณะที่สถานีวิทยุยานเกราะและวิทยุในเครือ เริ่มประโคม ข่าวว่านักศึกษาแสดงละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จนกระทั่งมีการชุมนุมของลูกเสือชาวบ้าน และกลุ่มพลังต่างๆ นำมาสู่การใช้ความรุนแรง ล้อมปราบสังหารนักศึกษา ประชาชน ในเช้าวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519

ในปี 2534 ลานโพธิ์ ได้กลับมามีบทบาทอีกครั้งเมื่อคณะผู้นำกองทัพได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ การปกครอง และร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2534 ที่สืบทอดอำนาจให้กับตนเอง ในครานั้น นักศึกษาและประชาชนได้ใช้ลานโพธิ์เป็นสถานที่ ชุมนุมคัดค้านรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ลานโพธิ์ในฐานะที่เป็นฐานที่มั่นในการเรียกร้องประชาธิปไตยจึงได้กลับคืนฟื้นชีวิตอีกครั้ง

และหลังการเลือกตั้งในช่วงต้นปี 2535 ลานโพธิ์ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ชุมนุมคัดค้าน การสืบทอดอำนาจ ของผู้นำกองทัพจน กระทั่ง นำไปสู่เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ที่ยุติบทบาทของกองทัพในการเมืองไทยในที่สุด

การชุมนุมของนักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชนในเดือน 2516 ก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากระบอบเผด็จการทหาร ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย และเป็นจุดเริ่มต้นของการตระหนักในสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นยุคที่สังคม เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงไป เป็นระบบเศรษฐกิจเสรี มีการจัดตั้งพรรคการเมืองสมัยใหม่ มีแนวคิดเรื่อง การกระจายอำนาจให้ประชาชนปกครองตนเอง และมีการกำเนิดขึ้น ของ เพลงเพื่อชีวิต

การเคลื่อนไหวเดือนตุลาคม 2516 มีผลทำให้วีรชนเสียชีวิต 77 คน และบาดเจ็บ 857คน เหตุการณ์ครั้งนั้น ได้ก่อเกิดจิต วิญญาณ และวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยขึ้นในสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรมและกว้างขวาง จนกระทั่งกลายข้อเท็จจริง ที่ยอมรับกันว่า พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ของไทยเป็นผลพวงมาจากการต่อสู้ทางการเมืองของวีรชนเดือนตุลาคม 2516

หากตำนานและเรื่องบอกเล่าทางการเมืองสมัยใหม่ของไทยมิอาจตัดขาดจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ได้ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการประชาธิปไตยของไทยทั้งหมด ก็ไม่สามารถละเลยที่จะกล่าวถึงการ ชุมนุมที่เป็น ประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ณ บริเวณนี้ได้เลย

 

ต้นหางนกยูงฝรั่ง

ต้นหางนกยูงฝรั่ง

หรือที่ชาวธรรมศาสตร์มักเรียกสั้นๆ ว่า ต้นยูงทอง

เป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จ มาปลูกที่หน้าหอประชุมใหญ่ จำนวน 5 ต้น เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2506 และพระราชทานให้เป็นต้นไม้ สัญลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยสีของดอกหางนกยูงนั้น มีความสอดคล้องกับสีประจำมหาวิทยาลัยแต่เดิม คือสี เหลือง - แดง

"เหลืองของเราคือธรรมประจำจิต แดงของเราคือโลหิตอุทิศให้" เนื้อร้อง ท่อนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของเพลง "สำนักนั้น ธรรมศาสตร์และการเมือง" หรืออาจเรียกชื่อ ตามทำนอง เพลงเดิมว่าเพลง "มอญดูดาว" นับเป็นเพลง ประจำมหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปีแรกของการ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2477 ซึ่งเพลงนี้ได้สร้างคำอธิบาย และคำเตือน ให้นักศึกษา ธรรมศาสตร์ ได้สำนึกในความเป็น "ธรรม" และความ "เสียสละ" เพื่อสังคม ตลอดมา

ในปี พ.ศ.2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทาน ทำนองเพลง พระราชนิพนธ์ "ยูงทอง" ให้เป็น เพลง ประจำ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต่อมา นายจำนงราชกิจ ข้าราชสำนักได้แต่งเนื้อร้อง และกลายเป็นเพลง ประจำ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์แทน เพลงประจำ มหาวิทยาลัยเดิม ที่มาจากทำนองเพลงมอญดูดาว

ต้นยูงทอง และเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเป็นสถาบันในระดับ ที่มความ เข้มแข็งอย่างสูงสุด เนื่องเพราะได้ช่วยส่งเสริมให้ธรรมศาสตร์ มีความเชื่อมโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และ พระราชกรณียกิจ โดยตรง ตัวอย่างเช่น มีการรับพระราชทานปริญญาบัตร มีเพลงพระราชทาน และมีต้นไม้พระราชทาน เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มีสถานะและความสำคัญเหนือกิจกรรม และเหนือเพลงรวมทั้งเหนือต้นไม้ชนิดอื่นๆ ที่เคยมี มาแต่เดิม

กำแพงวังหน้า

กำแพงวังหน้า ตำแหน่งพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ หากจะกล่าวเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์แล้ว วังหน้าเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช เนื่องจากในสมัย รัชกาลที่ 1 เมื่อมีการสร้างพระราชวังหลวงในปี พ.ศ.2325 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ทรงสร้างวังหน้าขึ้นพร้อมกันทางด้านทิศเหนือของพระราชวังหลวง และอยู่ชิดกับฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

ประวัติศาสตร์ที่เป็นเรื่องราวของวังหน้านี้ดูจะเป็นลืมเลือนไปจากประชาคมแห่งนี้ ตราบจนกระทั่งมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ได้ทำการสร้างอาคารอเนกประสงค์ 2 ขึ้นใหม่ จึงมีการขุดพื้นดินต่างๆ และเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดแสดง รูปร่างของกำแพงวังหน้าให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ชื่นชมว่า กาลครั้งหนึ่ง พื้นที่ บริเวณนี้ เป็นสถานที่ตั้งของวังหน้า

อย่างไรก็ดี สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่า ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้จำนวนหนึ่ง มีอยู่ ไม่น้อยที่มีความเชื่อว่า การที่สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ คือ วังหน้า มีความหมาย ว่าสถานที่แห่งนี้มีจิตวิญญาณ ของการช่วยเหลือ สถาบัน ทางอำนาจ และ ในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ ถ่วงดุลและตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้นำสูงสุดตลอดมา ความเชื่อดังกล่าวนี้ ช่วยอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่กระทบต่อวิถีชีวิต ของประชาคม แห่งนี้ได้พอสมควร ทั้งในยามที่มีความเจริญ รุ่งเรืองและในยาม ที่ประสบภัยด้วยแรง บีบคั้น ทางการเมือง ชนิดต่าง ๆ

บริเวณที่อยู่ใกล้ชิดติดกันกับกำแพงวังหน้าคือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะที่มี การเรียน การสอนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกมาตั้งแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัย แต่มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีนับจาก ปี พ.ศ.2492 ผู้ก่อตั้ง คือ ศาสตราจารย์ดิเรก ชัยนาม เป็นสมาชิกคณะราษฎร ผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 ท่านเป็นทั้งปัญญาชน นักการเมือง และนักการทูต จนรับการยอมรับเป็นอย่างสูงจากแวดวงต่าง ๆ

สนามฟุตบอล

บริเวณที่เป็นอาคารอเนกประสงค์ในปัจจุบันนี้ ในยุคแรกของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นที่ตั้งของอาคารเรียนและอาคารที่พักของนักเรียนโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง หรือ ต.มธก.ในระหว่างปี พ.ศ.2481-2488

โรงเรียน ต.มธก. จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และจัดการเรียน การสอนแบบเต็มเวลา โดยที่ทางมหาวิทยาลัยมีความตั้งใจว่า จะมีส่วนสำคัญที่ทำให้การศึกษา ของมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดการเรียนการสอนแบบตลาดวิชามีการพัฒนาที่ดีขึ้น กล่าวคือ นักศึกษาของมหาวิทยาลัย จะมีสองระบบ ทั้งที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมอื่นๆ ทั่วไปและสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียม มธก. เป็นการเฉพาะ

โรงเรียน ต.มธก. จึงเป็นตำนานของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เนื่องด้วยนักเรียน ต.มธก.แต่ละคนและแต่ละรุ่นที่ศึกษา จะการศึกษาเป็นธรรมศาสตร์บัณฑิตล้วนมีคุณภาพและมีชื่อเสียงมีผลงาน กิจกรรมทั้งด้านการเรียนการสอน กิจกรรม ทางการเมือง และกิจกรรมทางด้านการบริหารประเทศ และการทำงานสาธารณะเป็นอย่างมากทุกคน ตัวอย่างเช่น ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัยศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก เป็นต้น

บริเวณที่เป็นสถานที่ที่ใกล้ชิดติดกันทางด้านอาคารตึกโดมฝั่งสนามฟุตบอล นับว่ามีตำนานที่ยิ่งใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง เนื่องด้วยเป็นสถานที่ที่เป็นเวทีและเป็นศูนย์กลางการจัดชุมนุมใหญ่ ในระหว่างวันที่ 10 – 14 ตุลาคม พ.ศ.2516

การชุมนุมของนักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชนในเดือน 2516 ก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากระบอบเผด็จการทหาร ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย และเป็นจุดเริ่มต้นของการตระหนักในสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นยุคที่สังคม เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงไป เป็นระบบเศรษฐกิจเสรี มีการจัดตั้งพรรคการเมืองสมัยใหม่ มีแนวคิดเรื่อง การกระจายอำนาจให้ประชาชนปกครองตนเอง และมีการกำเนิดขึ้น ของ เพลงเพื่อชีวิต

การเคลื่อนไหวเดือนตุลาคม 2516 มีผลทำให้วีรชนเสียชีวิต 77 คน และบาดเจ็บ 857คน เหตุการณ์ครั้งนั้น ได้ก่อเกิดจิต วิญญาณ และวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยขึ้นในสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรมและกว้างขวาง จนกระทั่งกลายข้อเท็จจริง ที่ยอมรับกันว่า พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ของไทยเป็นผลพวงมาจากการต่อสู้ทางการเมืองของวีรชนเดือนตุลาคม 2516

หากตำนานและเรื่องบอกเล่าทางการเมืองสมัยใหม่ของไทยมิอาจตัดขาดจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ได้ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการประชาธิปไตยของไทยทั้งหมด ก็ไม่สามารถละเลยที่จะกล่าวถึงการ ชุมนุมที่เป็น ประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ณ บริเวณนี้ได้เลย