Loading...

14 นวัตกรรมจากนักวิจัยธรรมศาสตร์ คว้ารางวัลเวทีนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ SIIF 2023

นักวิจัยธรรมศาสตร์ เดินหน้าคว้ารางวัลจาก 14 ผลงานนวัตกรรมในงาน Seoul International Invention Fair 2023

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2566

นักวิจัยธรรมศาสตร์ เดินหน้าคว้ารางวัลจาก 14 ผลงานนวัตกรรมในงาน Seoul International Invention Fair 2023

     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน “Seoul International Invention Fair 2023” (SIIF 2023) ที่จัดขึ้นโดย Korea Invention Promotion Association (KIPA) สมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์ของสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลเกาหลี ระหว่างวันที่ 1-4 พฤศจิกายน 2566 ณ COEX Convention & Exhibition Center กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โดยคณาจารย์และนักวิจัยจากคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมแข่งขันและคว้ารางวัลมาได้ ดังนี้

ผลงานที่ 1

รางวัลที่ได้รับ

   1.รางวัลเหรียญทอง

   2. รางวัลพิเศษ “Distinguished Innovation Award” จาก King Abdulaziz University ประเทศซาอุดิอาระเบีย

     นวัตกรรมเรื่อง: การสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงินและอนุภาคนาโนทองคำเพื่อใช้เป็นไบโอเซนเซอร์สำหรับตรวจวัดเซรั่มอัลบูมินเพื่อวินิจฉัยโรคไต (Synthesis of silver nanoparticles and gold nanoparticles used as biosensors for the detection of human serum albumin (HSA) diagnosed kidney disease)

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. ศ.ดร.นพ.อดิศว์ ทัศณรงค์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   2. รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   3. ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ ตั้งนรวิชญ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   4. ผศ.ดร.พัชรี ประทุมพงษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   5. ขนิษฐา พลสันติ (นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาฟิสิกส์)

   6. ติอาภา ทองวัฒนา (นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ)

   7. รณกร ไชโย (นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาฟิสิกส์)

ผลงานที่ 2

รางวัลที่ได้รับ

   1. รางวัลเหรียญทอง

นวัตกรรมเรื่อง: การปฏิวัติการวัดโฮโมชีสเตอีนเพื่อตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจ: โดยใช้มัลติวอลล์คาร์บอนนาโนทิ้วบ์ Revolutionizing Homocysteine Measurement for Coronary Artery Disease Detection : Smart Multiwall Carbon-based Nanotubes Solutions)

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. ผศ.ดร.หยาดนภา ผาเจริญ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   2. ผศ.ดร.ศีตกานต์ นัดพบสุข วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   3. รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   4. รศ.ดร.เบญญา เชิดหิรัญกร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   5. ศุภฤกษ์ อุ่นจิตร (นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ)

   6. ผศ.ดร.สุรเชษฐ์ ตุ้มมี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ผลงานที่ 3

รางวัลที่ได้รับ

   1. รางวัลเหรียญทอง

นวัตกรรมเรื่อง: การออกแบบเครื่องมือตรวจวัดร้อยละของโปรตีนในน้ำนมแม่ (Detector design of percentage of protein in breast milk)

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. รศ.พญ.สุดาทิพย์ โฆสิตะมงตคล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   2. รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   3. ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ ตั้งนรวิชญ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   4. อาจารย์ ดร.ณัฐพล นาคปฐมกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   5. อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ (นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาฟิสิกส์)

   6. ขนิษฐา พลสันติ (นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาฟิสิกส์)

   7. ชลพัฒน์ พานทอง (นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ)

ผลงานที่ 4

รางวัลที่ได้รับ

   1. รางวัลเหรียญทอง

นวัตกรรมเรื่อง: QD (Quality Deep Sleep)

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   2. ผศ.ดร.สุรเชษฐ์ ตุ้มมี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

   3. ผศ.ดร.เอนก หาลี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

   4. วิศรุต ปัญญาประดิษฐโชค (ผู้ประกอบการ) 

ผลงานที่ 5

รางวัลที่ได้รับ

   1. รางวัลเหรียญทอง

   2. รางวัลพิเศษจาก Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA)  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

นวัตกรรมเรื่อง: ผลงาน เอ็มดีไลท์ ฟิงเกอร์ รูท มอยส์เจอร์ สเปรย์ MDlight FINGER ROOT Moisturizing Spray

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. ผศ.ดร.ปัญจพร วงศ์วิทยากูล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   2. ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

   3. ผศ.ดร.ณัฐพล ฤกษ์เกษมสันติ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

   4. ผศ.ดร.เอกรัฐ หิตโกเมท คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลงานที่ 6

รางวัลที่ได้รับ

   1. รางวัลเหรียญทอง

นวัตกรรมเรื่อง: ผลงาน โปรเอน, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารช่วยเสริมสร้างและชะลอการย่อยสลายของกล้ามเนื้อ เพิ่มพลังงานและส่งเสริมการขับถ่าย ProEn, a dietary supplement product that  strengthen muscles and slow down their degradation, increase energy and promote excretion

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   2. รศ.ดร.กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

   3. กฤติเดช อนันต์

   4. อภิสิทธิ์ นิลมาต

ผลงานที่ 7

รางวัลที่ได้รับ

   1. รางวัลเหรียญทอง

   2. รางวัลพิเศษจาก Taiwan Invention Association สาธารณรัฐจีน

นวัตกรรมเรื่อง: ผลงาน ไบโอ-คิล ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรคพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Bio-Kill, an environmentally friendly plant diseases control product

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   2. ชนิกานต์ บุญลือ

   3. กฤษณะ รักน้อย

   4. อภิสิทธิ์ นิลมาต

ผลงานที่ 8

รางวัลที่ได้รับ

   1. รางวัลเหรียญทอง

   2. รางวัลพิเศษจาก Malaysian Association of Research Scientists (MARS) สหพันธรัฐมาเลเซีย

นวัตกรรมเรื่อง: ผลงาน โรงเรือนปลูกพืชมูลค่าสูงในสภาวะวิกฤติโดยใช้พลังงานสะอาดปรับลดอุณหภูมิและสร้างสภาวะที่เหมาะสมต่อพืช Greenhouse for Growing High-value Crops in Critical Conditions by Using Clean Energy to Reduce Temperatures and Create Optimal Conditions for Plants

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   2. รมย์นลิน จันทะวงษ์

   3. ชยากร ตังสุรัตน์

ผลงานที่ 9

รางวัลที่ได้รับ

   1. รางวัลเหรียญเงิน

   2. รางวัลพิเศษ “SPECIAL PRIZE” จาก Vietnam Fund for Supporting Technological Creations (VIFOTEC) ประเทศเวียดนาม

นวัตกรรมเรื่อง: บาลานส์ ไบโอติค 3พี - พรีไบโอติกส์ โพรไบโอติกส์ โพสไบโอติก เสริมสร้างทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงสุขภาพที่ดีของลำไส้และเพิ่มภูมิคุ้มกัน Biotic 3P - Prebiotic Probiotic Postbiotic Work Together to Improve Gut Health and Enhance Immunity)

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. ผศ.ดร.ศีตกานต์ นัดพบสุข วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   2. ผศ.ดร.หยาดนภา ผาเจริญ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   3. รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   4. ผศ.ดร.สุรเชษฐ์ ตุ้มมี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

   5. อรุณพร อนุกูลไพบูลย์ บริษัท เอฟ แอนด์ บี เฮ้าส์ จำกัด

   6. กชภัส พงษ์เกษ บริษัท เอฟ แอนด์ บี เฮ้าส์ จำกัด

ผลงานที่ 10

รางวัลที่ได้รับ

   1. รางวัลเหรียญเงิน

   2. รางวัลพิเศษ “SPECIAL AWAED” จาก Indonesian Invention and Innovation Promotion Association ประเทศอินโดนีเซีย

นวัตกรรมเรื่อง: เซนเซอร์ตรวจวัดสารกำจัดศัตรูพืช (TU Pesticide Sense)

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ ตั้งนรวิชญ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   2. รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   3. อาจารย์ ดร.ณัฐพล นาคปฐมกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   4. ผศ.ดร.หยาดนภา ผาเจริญ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   5. ผศ.ดร.สุรเชษฐ์ ตุ้มมี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

   6. อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ (นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาฟิสิกส์)

   7. วิชญา ศิริโสม (นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ)

ผลงานที่ 11

รางวัลที่ได้รับ

   1. รางวัลเหรียญเงิน

นวัตกรรมเรื่อง: Digital Incentive Spirometer Device

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. ลักษณาพร มหาวงศ์ (นักศึกษาภาควิชากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 4 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

   2. ณัฐภูมินทร์ เรืองเพ็ชร (นักศึกษาภาควิชากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 4 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

   3. กรรณิการ์ แจ้งอุบล (นักศึกษาภาควิชากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 4 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

   4. เจ้าพระยา เณรมณี (นักศึกษาภาควิชากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 4 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

โดยมี รศ.ดร.กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ผลงานที่ 12

รางวัลที่ได้รับ

   1. รางวัลเหรียญทองแดง

   2. รางวัลพิเศษ “Distinguished Innovation Award” จาก King Abdulaziz University ประเทศซาอุดิอาระเบีย

นวัตกรรมเรื่อง: Firm-Guard: นาโนไฮโดรเจลอัจฉริยะเพื่อเพิ่มศักยภาพสำหรับการปลูกถ่ายกระดูกทางทันตกรรม Firm-Guard: Intelligent Nano-Hydrogel for Enhanced Dental Bone G

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   2. ผศ.ดร.ปัญจพร วงศ์วิทยากูล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   3. ผศ.ดร.เอกรัฐ หิตโกเมท คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   4. ชานนท์ สมิตรกุล (นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ)

ผลงานที่ 13

รางวัลที่ได้รับ

   1. รางวัลเหรียญทองแดง

   2. รางวัลพิเศษ “SPECIAL PRIZE” จาก Vietnam Fund for Supporting Technological Creations (VIFOTEC) ประเทศเวียดนาม

นวัตกรรมเรื่อง: แผ่นปิดแผลไคโตซานเสริมแรงใยมะพร้าว CoCo Body Pad

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. อาจารย์ ดร.ศานตมน เพ็งอุบล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   2. รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   3. วศิน สะอาด (นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ)

ผลงานที่ 14

รางวัลที่ได้รับ

   1. รางวัลเหรียญทองแดง

   2. รางวัลพิเศษ The best invention award จาก GCC patent office - The Arab States of Gulf

นวัตกรรมเรื่อง: Al-dross lightweight block

รายชื่อคณะผู้วิจัย

   1. รศ.ดร.เบญญา เชิดหิรัญกร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   2. ฮัซวานี พึ่งพา (นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ)

   3. ณัชชา พร้อมมิตรญาติ (นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ)

   ทั้งนี้ ในงานดังกล่าวมีผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัย สถาบันต่าง ๆ จากนักวิจัย และนักประดิษฐ์อิสระทั้งในสาธารณรัฐเกาหลีและต่างประเทศ เข้าร่วมประกวดและจัดแสดง จำนวนกว่า 1,000 ผลงาน จากองค์กรในประเทศต่าง ๆ ร่วม 30 ประเทศ