Loading...

ธรรมศาสตร์ คว้า 37 รางวัล ตอกย้ำความสำเร็จการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ในงานวันนักประดิษฐ์  ประจำปี 2564-2565

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินหน้ายกระดับงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและประโยชน์ทางสังคม ความมั่นคง และสิ่งแวดล้อม

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565

     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564 – 2565 สูงสุด 37 รางวัล เดินหน้ายกระดับงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและประโยชน์ทางสังคม ความมั่นคง และสิ่งแวดล้อม

     ศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิง ศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำทีมคณาจารย์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ารับรางวัลในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564 – 2565 (Thailand Inventors’Day 2021 - 2022) จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เป็นประธานมอบรางวัล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. เข้าร่วมพิธีมอบรางวัล เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา

     รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ในระยะ 5 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งเป้าหมายในการดำเนินการตามแผนพัฒนาความเป็นเลิศทางด้านการวิจัย เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับแนวหน้าของโลก ที่ผ่านมานักวิจัยธรรมศาสตร์ สามารถผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์สังคมมาโดยตลอด โดยได้รับรางวัลการันตีจากหลากหลายเวทีทั้งในระดับชาติและในระดับสากลอย่างต่อเนื่อง จากการมุ่งสร้างผลงานวิจัยระดับโลก สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการทำวิจัยในระดับโลก ทำให้มหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในฐานข้อมูลนานาชาติเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีชื่อเสียงในระดับโลก มีความเป็นนานาชาติ และได้รับการจัดอันดับที่สูงขึ้นในระดับโลก

     “การที่นักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติมากถึง 37 รางวัลในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพทางวิชาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกภาคส่วน ทั้งเรื่ององค์ความรู้และทุนสนับสนุน โดยงานวิจัยทั้งหมดเป็นผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ” รศ.เกศินี กล่าว

     ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิง ศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ที่มีนโยบายในการยกระดับผลงานวิจัยและนวัตกรรมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพให้เป็นที่ยอมรับสูงขึ้นในระดับสากล มุ่งเน้นผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมอย่างรอบด้าน สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงการทำงานกับอาจารย์ นักวิจัย และบัณฑิตศึกษา ความร่วมมือกับเอกชนและมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

      “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีเป้าหมายความสำเร็จ คือสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง พร้อมส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ ๆ ภายใต้แนวทางที่ท้าทายในการเชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสังคม เพื่อให้งานวิจัยของเราเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างแท้จริง” ศ.ดร.ทพญ.ศิริวรรณ กล่าว

     สำหรับปีนี้ นักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ  ประจำปีงบประมาณ 2564-2565 จำนวน 37 รางวัล  ดังนี้

รางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 19 รางวัล ดังนี้

     รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่

  1. ศาสตราจารย์ ดร. เกศรา ณ บางช้าง วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สาขาวิทยาศาสตร์และเภสัช)

  2. ศาสตราจารย์ ดร. วัชระ งามจิตรเจริญ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สาขาปรัชญา)

รางวัลผลงานวิจัย จำนวน 7 รางวัล ได้แก่

ระดับดีมาก 1 รางวัล

  1. ผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษามุ่งเป้าสารโรโดไมรโทนจากสมุนไพร ใบกระทุ (วงศ์ชมพู่) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่และการใช้เทคโนโลยีต่อยอดเป็นนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พจนีย์ ศรีมาโนชญ์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ผู้ร่วมวิจัย)

ระดับดี 6 รางวัล

  1. ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนายาสมุนไพรรักษาโรคเรื้อรังจากสารสกัดเบญจกูล” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณพร อิฐรัตน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. ผลงานวิจัยเรื่อง “พลวัตทางการเมืองเรื่องการเลือกตั้งและประชาธิปไตยในอาเซียน: ศึกษาเปรียบเทียบประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  3. ผลงานวิจัยเรื่อง “การกระจายตัวของการส่งออก โครงสร้างการกระจายตัว และการเจริญเติบโต ทาง เศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรมไทย” โดย รองศาตราจารย์ ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  4. ผลงานวิจัยเรื่อง “อยู่กับบาดแผล : เสียงจากสามัญชน ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางการเมือง (2553-2557)” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  5. ผลงานวิจัยเรื่อง “การย้ายถิ่นของแรงงานทักษะสูงในไทย: บทสำรวจเบื้องต้น” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทนี เจริญศรี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐจรี สุวรรณภัฏ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  6. ผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีสุดท้ายเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบวิชาชีพในกลุ่มประเทศอาเซียน” โดย ดร.กาญจณี พันธุ์ไพโรจน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวน 5 รางวัล ได้แก่

ระดับดีมาก 1 รางวัล

  1. วิทยานิพนธ์เรื่อง “สิทธิในการเดินทางทางอากาศของคนพิการ The Right to Travel by Air of Persons with Disabilities สำเร็จการศึกษาจาก Leiden University เนเธอร์แลนด์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระดับดี 4 รางวัล

  1. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การวิเคราะห์เชิงตัวเลขของผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าต่อการส่งถ่ายพลังงานโมเมนตัม และความเข้มข้น ในระหว่างการไหลแบบอิ่มตัวในวัสดุพรุน (กรณีศึกษาแบบจำลองประเภทไม่สมดุลเชิงความร้อน)” โดย ว่าที่ร้อยตรีหญิง ดร.เปรมปรียา มณเฑียรทอง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. วิทยานิพนธ์เรื่อง “ความมั่นคงของตัวตนและการแสวงหาสถานะ:นโยบายต่างประเทศเชิงรุกของไทยช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง” โดย ดร.พีระ เจริญวัฒนนุกูล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  3. วิทยานิพนธ์เรื่อง “ความสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมบนพื้นที่ไซเบอร์: จินตนาการผู้หญิงไทยในการค้นหาคู่ออนไลน์ข้ามชาติ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิลาสินี พนานครทรัพย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  4. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ทำงานร่วมกันโดยสามารถกำหนดนโยบายการควบคุม การเข้าถึงข้อมูลได้ชัดเจน สามารถรองรับการใช้งานได้ไม่จำกัด และมีประสิทธิภาพการเพิกถอนสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลในคลาวด์ที่มีผู้ออกแอททริบิ้วต์หลายราย” โดย ดร.สมชาติ ฟักเขียว สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน 5 รางวัล ได้แก่

ระดับดีมาก 1 รางวัล

  1. ผลงานเรื่อง “การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเดินแบบมีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วน : Space Walker” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรี คุณค้ำชู คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระดับดี 1 รางวัล

  1. ผลงานเรื่อง “ชุดสีย้อมอสุจิ บี อาร์” โดย 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฌลณต เกษตร คณะสหเวชศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรินารถ ชูเมียน คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประกาศเกียรติคุณ 3 รางวัล

  1. ผลงานเรื่อง “เซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและ สิ่งแวดล้อม” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นภาพร ยังวิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. ผลงานเรื่อง “เอไอเชสฟอร์ออล” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  3. ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์สร้างสถานการณ์จำลองสำหรับการฝึกการดูแลผู้ป่วยทารกที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ” โดย อาจารย์สุภาวดี ทับกล่ำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 18 รางวัล ดังนี้

รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่

  1. ศาสตราจารย์ณรงค์ ใจหาญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สาขานิติศาสตร์)

  2. ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สาขาเศรษฐศาสตร์)

รางวัลผลงานวิจัย จำนวน 7 รางวัล ดังนี้

ระดับดีมาก 1 รางวัล

  1. ผลงานวิจัยเรื่อง “ปัญหาเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจหรือการดำเนินการทางปกครองในเรื่องสิทธิในที่ดิน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระดับดี 6 รางวัล

  1. ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาและปรับปรุงสมบัติของอนุภาคแม่เหล็กนาโนและอนุภาคกราฟีนออกไซด์เพื่อการใช้งานทางด้านสิ่งแวดล้อมและการแพทย์” โดย ดร.จริยา แก้วเสน่หา และคณะ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. ผลงานวิจัยเรื่อง “การวิจัยและพัฒนาพลาสติกชีวภาพสมบัติเฉพาะฐานพอลิแลคติกแอซิดและกระบวนการรีไซเคิลทางเคมีสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (BCG)” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ โอภาประกาสิต และคณะ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  3. ผลงานวิจัยเรื่อง “โครงการพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพสตรีและครอบครัว : ทบทวนกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล และคณะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  4. ผลงานวิจัยเรื่อง “ส่องผ่านเพดานแก้ว : ผู้บริหารหญิงกับความไม่เท่าเทียมทางเพศ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เนตรนภา ยาบุชิตะ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  5. ผลงานวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  6. ผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและมลพิษทางอากาศในจังหวัดน่าน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณวรรณ กำธรเกียรติ และคณะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวน 4 รางวัล ได้แก่

ระดับดีมาก 1 รางวัล

  1. วิทยานิพนธ์เรื่อง “ข้อเสนอทางกฎหมายเพื่อรองรับการทำข้อตกลงเชิงอนุรักษ์ในประเทศไทย : การศึกษากฎหมายเปรียบเทียบ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ บุญเรือง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษาจาก University of Dundee, สหราชอาณาจักร อาจารย์ที่ปรึกษาหลักได้แก่ Professor Colin T. Reid

ระดับดี 3 รางวัล

  1. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาระบบไฮบริดเชิงควอนตัมโดยใช้สนามความเครียดเชื่อมต่อระบบเรโซเนเตอร์ เชิงกลในเพชรผลึกเดี่ยวและระบบคิวบิตไนโตรเจนแวแคนซีเซ็นเตอร์” โดย ดร.ปรีติ โอวาทชัยพงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษาจาก University of California, Santa Barbara, สหรัฐอเมริกา อาจารย์ที่ปรึกษาหลักได้แก่ Professor Dr. Ania Jayich

  2. วิทยานิพนธ์เรื่อง “คุณลักษณะของการตอบสนองเชิงความร้อนในกระบวนการรักษาด้วยไมโครเวฟโดยใช้ท่อนำคลื่นในเนื้อเยื่อตับ : โมเดลไบโอฮีตที่มีเส้นเลือดใหญ่ฝังอยู่ & โมเดลตับที่พิจารณาเป็นวัสดุพรุน” โดย ดร.วุฒิพงษ์ ปรีชาพลกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลักได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช

  3. วิทยานิพนธ์เรื่อง “ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรประมง : กรณีศึกษาวิถีการดำรงอยู่กับความขัดแย้งของชาวประมงชายฝั่ง” โดย ดร.พัชราภา ตันตราจิน คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลักได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.โสภารัตน์ จารุสมบัติ

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน 5 รางวัล ดังนี้

ระดับดี 3 รางวัล

  1. ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อหมู่เลือดระบบดีเอโกด้วยเทคโนโลยีคลังฟาจ” โดย ศาสตราจารย์พิเศษ พลตรีหญิง ดร.อ้อยทิพย์ ณ ถลาง และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จีระพงษ์ ทะนงศักดิ์ศรีกุล คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. ผลงานเรื่อง “ระบบตรวจหาและระบุประเภทของโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke) บนภาพถ่ายสมองจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography หรือ CT) โดยไม่ฉีดสารทึบรังสี(non-contrast CT หรือ NCCT) โดยอัตโนมัติ” โดย นางสาวพันธิตร จันทร์แต่งผล และคณะ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  3. ผลงานเรื่อง “ระบบระบุตำแหน่งลิ่มเลือดในสมองโดยอัตโนมัติบนภาพถ่ายสมอง ncCT ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือด (Middle Cerebral Artery) อุดตันในระยะเฉียบพลัน จากไฟล์ DICOM” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เกาทัณฑ์ทอง และคณะ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระดับประกาศเกียรติคุณ จำนวน 2 รางวัล

  1. ผลงานเรื่อง “เครื่องฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์ และคณะ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. ผลงานเรื่อง “เครื่องออกกำลังกายและกายภาพบำบัดสำหรับการฝึกลุกยืน เพื่อผู้สูงอายุ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ และคณะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์