‘ธรรมศาสตร์’ รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติในงาน ‘วันนักประดิษฐ์ ปี 2568’
คณาจารย์นักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติรวม 17 รางวัล จากงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568
วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2568
คณาจารย์นักวิจัยของธรรมศาสตร์ รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติในงาน ‘วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568’ (Thailand Inventor’s Day 2025) จัดขึ้นโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทย: ความท้าทายของประเทศ” ระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยมี รศ. ดร.ม.ล.พินิตพันธุ์ บริพัตร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ รศ. ดร.สุปรีดี ฤทธิรงค์ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดี
โดยการมอบรางวัลแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรวม 17 รางวัล
รางวัลผลงานวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 6 รางวัล
▪️ ระดับดีมาก 2 รางวัล
1. ผลงาน “รูปเคารพเจิ้งเหอในสังคมไทย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์
2. ผลงาน “หยดและอ่าน : การตรวจหมู่เลือดบนฐานกระดาษและระบบอ่านผลอัจฉริยะ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ฌลณต เกษตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.สิรินารถ ชูเมียน คณะสหเวชศาสตร์
▪️ ระดับดี 4 รางวัล
1. ผลงาน “สิทธิของประชาชนและชุมชนในการฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐให้ปฏิบัติตามหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 51 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 45” โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรมัย พิศแข มั่นจิตร คณะนิติศาสตร์
2. ผลงาน “แนวทางการบูรณาการด้านการวางแผนเมืองเพื่อความสอดคล้อง ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและความปลอดภัยทางถนนอย่างองค์รวม” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง
3. ผลงาน “โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์
4. ผลงาน “ฐานข้อมูลและหลักการสร้างวัสดุโลหะอินทรีย์ชนิดใหม่ จากสารตั้งต้น CO2 เพื่อนำไปใช้ประโยชน์จาก CO2 ขั้นสูงสุด” โดย Dr. Kaito Takahashi สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
รางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวนทั้งสิ้น 9 รางวัล
ในฐานะผู้จัดทำวิทยานิพนธ์
▪️ ระดับดีมาก 1 รางวัล
1. วิทยานิพนธ์ “การเมืองกับการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันของวุฒิสภาในประเทศไทย”
โดย: อาจารย์ ดร.ปุรวิชญ์ วัฒนสุข คณะรัฐศาสตร์
สำเร็จการศึกษา: University of Canterbury, ประเทศนิวซีแลนด์
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Associate Professor Dr.James Ockey
▪️ ระดับดี 2 รางวัล
1. วิทยานิพนธ์ “การวิเคราะห์แนวโน้มการลดความเสี่ยงน้ำท่วมเข้าสู่การวางผังเชิงพื้นที่ในประเทศไทย”
โดย: อาจารย์ ดร.อาลิตา ฉลาดดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
สำเร็จการศึกษา: สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศาสตราจารย์ ดร.วิลาศ นิติวัฒนานนท์
2. วิทยานิพนธ์ “สมบัติทางเคมีไฟฟ้าของวัสดุสองมิติ (2D): ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงการประยุกต์ใช้ในตัวเก็บพลังงาน”
โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวินทร์ เอี่ยมประเสริฐกุล สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
สำเร็จการศึกษา: The University of Manchester, สหราชอาณาจักร
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก : Professor Robert A. W. Dryfe
ผลงานที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
▪️ ระดับดีมาก 1 รางวัล
1. วิทยานิพนธ์ “ระบบการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยศาลในคดีอาญา: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างระบบชีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับระบบของประเทศไทย”
โดย: ดร.ชยาธร เฉียบแหลม
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล คณะนิติศาสตร์
▪️ ระดับดี 5 รางวัล
1. วิทยานิพนธ์ “การใช้โดรนในการปราบปรามอาชญากรรม: ศึกษามาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายอาญากับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน”
โดย: ดร.ปวริศร์ กิจสุขจิต
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รองศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท คณะนิติศาสตร์
2. วิทยานิพนธ์ “มาตรการทางกฎหมายต่อการฟ้องคดีอาญาโดยไม่สุจริตของราษฎรตามมาตรา 161/1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา”
โดย: ดร.ปิติ โพธิวิจิตร
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รองศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท คณะนิติศาสตร์
3. วิทยานิพนธ์ “การนำภาพลักษณ์ของบุคคลมาใช้ในวิดีโอเกม”
โดย: ดร.วุฒิ ศรีธีระวิศาล
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รองศาสตราจารย์ ดร.มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์
4. วิทยานิพนธ์ “การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ของกระบวนการกลายเป็นเมืองกับการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทย”
โดย: ดร.ณัชพล ประเสริฐสูง
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพงษ์ พัฒนพงษ์ คณะเศรษฐศาสตร์
5. วิทยานิพนธ์ “โทรเลขกับการรวมศูนย์อำนาจของรัฐในสมัยรัชกาลที่ 5”
โดย: ดร.วิภัส เลิศรัตนรังษี
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รองศาสตราจารย์ ดร.จุฬาพร เอื้อรักสกุล คณะศิลปศาสตร์
รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวนทั้งสิ้น 2 รางวัล
• ระดับประกาศเกียรติคุณ จำนวน 2 รางวัล
1. ผลงาน “อุปกรณ์ประเมินความทนทานของหลอดเลือดหัวใจด้วยการทดสอบการเดิน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์ คณะสหเวชศาสตร์
2. ผลงาน “อุปกรณ์วิเคราะห์ความผิดปกติการลงน้ำหนักเท้าด้วยภาพกราฟิกออกแบบเพื่อช่วยป้องกันการล้ม” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เกษรา รักษ์พงษ์สิริ คณะสหเวชศาสตร์
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังได้รับประกาศนียบัตรรางวัลผลงานคุณภาพ NRCT Quality Achievement Awards ประจำปี 2568 จากคุณศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จำนวน 16 รางวัล ดังนี้
รางวัลผลงานวิจัย จำนวน 9 รางวัล
1. ผลงาน “อุปกรณ์กระดาษแบบจุ่มแล้วอ่านที่สามารถใช้ได้กับตัวทำละลายอินทรีย์เพื่อใช้วิเคราะห์อินโดลในกุ้งโดยอาศัยหลักการโครมาโตรกราฟี” โดย อาจารย์ ดร.ศศิกานต์ สีทาสังข์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. ผลงาน “การสังเคราะห์อนุภาคนาโนของเงินและทองคำแบบกรีน โดยใช้สารสกัดจากต้นเพกา เพื่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร บุญยืน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3.ผลงาน “การสังเคราะห์และความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารประกอบเชิงซ้อนธาตุโลหะพอร์ไพรินประเภทสายโซ่ยาวและอนุพันธ์” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร บุญยืน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. ผลงาน “เสถียรภาพแบบไม่ระบายของช่องเปิดภายใต้ระบบระนาบความเครียดในดินเหนียวแอนไอโซทรอปิกและไม่เป็นเนื้อเดียวกัน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
5. ผลงาน “ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย : การศึกษาในสถานการณ์จริง (ปีที่ 2)” โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภาสกร ศรีทิพย์สุโข คณะแพทยศาสตร์
6. ผลงาน “ฟูโคแซนทินลดการบาดเจ็บจากภาวะเครียดออกซิเดชันในเซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์จากรกผ่านทางวิถี PI3K/Akt/Nrf-2” โดย ศาสตราจารย์ ดร.ศิริกุล มะโนจันทร์ คณะแพทยศาสตร์
7. ผลงาน “การศึกษาเชิงลึกทางเคมีพื้นผิวของคาร์บอนสู่การประยุกต์ใช้เพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.คณิน เนื่องโนราช สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
8. ผลงาน “การปรับแต่งพลังงานพื้นผิวของสารละลายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิตแผ่นนาโน MoS2 โดยกระบวนการลอกออกเป็นแผ่น ด้วยของเหลว พร้อมศึกษากระบวนการดูดซับซีเซียมคลอไรด์ด้วยวิธีการทางเคมีไฟฟ้า” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวินทร์ เอี่ยมประเสริฐกุล สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
9. ผลงาน “การแก้ปัญหาการออกแบบตัวเก็บประจุยิ่งยวดกราฟืนเสริมอะตอมวิวิธพันธุ์:วิธีแก้ด้วยวิทยาศาสตร์ข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ด้วยตนเอง” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวินทร์ เอี่ยมประเสริฐกุล สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
รางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวน 5 รางวัล
ในฐานะผู้จัดทำวิทยานิพนธ์
1. ผลงาน “ผลเฉลยทางพลวัตของตัวกลางโพอิลาสติกหลายชั้นที่มีคุณสมบัติเหมือนกันตามขวาง” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
ผลงานที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1. ผลงาน “The Versatility of Stereocomplex PLLA/PDLA for the Thermal and Mechanical Property Improvement of PLA/Rubber Blends”
โดย: ดร.ศุภณัฐ ภัทรธีรา
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศาสตราจารย์ ดร.แคทลียา ปัทมพรหม คณะวิศวกรรมศาสตร์
2. ผลงาน “การพัฒนาระบบการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำส้มด้วยเทคนิคสนามไฟฟ้าพัลส์ระดับอุตสาหกรรม”
โดย: ดร.ชัชวาลย์ กันทะลา
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช คณะวิศวกรรมศาสตร์
3. ผลงาน “การศึกษาคุณลักษณะพื้นผิวโคพอลิเมอร์ poly”
โดย: ดร.พงศ์พจน์ สกุลอือ
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รองศาสตราจารย์ ดร.คณิน เนื่องโนราช สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
4. ผลงาน “การพัฒนาระบบแช่อิ่มมะม่วงโดยใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าพัลส์”
โดย: ดร.ศุภเกียรติ สุภสินธุ์
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช คณะวิศวกรรมศาสตร์
รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน 2 รางวัล
1. ผลงาน “ชุดอุปกรณ์ตรวจวัดฐานกระดาษรูปแบบใหม่เพื่อการตรวจวัดแอลกอฮอล์และสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ในตัวอย่างน้ำลายโดยปราศจากการเตรียมตัวอย่าง” โดย อาจารย์ ดร.ชวิน ศรีสมวัฒน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. ผลงาน “อุปกรณ์อัจฉริยะติดตามสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้ใช้งานวีลแชร์” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สายรัก สะอาดไพร คณะสหเวชศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์