THAMMASAT GLOBAL CONNECTIONS 2025 – May NO.1
Update: Thammasat University has discussed an academic collaboration with Queen Mary University of London (QMUL)
วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2568
Thammasat and Queen Mary University hold round table discussion on UK-Southeast Asia Partnership.
On 25 March 2025, Dr. Usanee Patapsikij Lertrattananon, Thammasat Assistant Rector for International Affairs, led a round table discussion titled “UK-Southeast Asia Partnership: Prospects and Challenges for Research Collaboration in the Humanities and Social Sciences in a STEM-Dominated World”. The event took place at the Chitti Tingsabadh Conference Room, Faculty of Law on Thammasat’s Tha Prachan campus.
The panel featured distinguished executives from Thammasat’s Faculties of Law, Political Science, and Economics, alongside their counterparts from Queen Mary University of London (QMUL), representing the Faculties of Humanities and Social Sciences, Law, Arts, Politics and International Relations, Geography, Business, and Management. The QUML delegation was led by Dr. Matthieu Burnay, Dean International – Faculty of Humanities and Social Sciences.
Key Discussion Points
The discussion focused on strengthening collaboration in the Humanities and Social Sciences (HHS) and exploring strategies to integrate these disciplines with technology-driven fields. Both institutions shared insights into research interests and explored potential areas of joint studies. Key challenges, such as securing research funding and expanding opportunities for cross-disciplinary initiatives, were also addressed.
Queen Mary University highlighted its “Shape Health” program, which integrates Humanities with Medical Technology to foster interdisciplinary innovations. This initiative aims to create new learning and research opportunities for students across STEM (Science, Technology, Engineering, and Mathematics) and HHS fields.
Future Collaboration Plans
Thammasat and QMUL identified several mutual areas of interest, including:
▪️ Support for young researchers and emerging scholars.
▪️ Social Innovation and interdisciplinary research.
▪️ Doctoral exchange programs and the 1+1 master’s degree mode.
To deepen academic ties, both universities agreed to collaborate at the university-level through student and faculty exchange programs, joint research initiatives, and internship opportunities.
ธรรมศาสตร์ และ Queen Mary University ร่วมจัดประชุมเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ UK-Southeast Asia Partnership
ดร.อุษณีษ์ ปฐพีศรีกิจส เลิศรัตนานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานการจัดงานเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ “UK-Southeast Asia Partnership: Prospects and Challenges for Research Collaboration in the Humanities and Social Sciences in a STEM-Dominated World” ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Queen Mary University of London (QMUL) เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ร่วมอภิปรายฝ่ายธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย คณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และผู้ร่วมอภิปรายฝ่าย QMUL ได้แก่ คณาจารย์จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภูมิศาสตร์ บริหารธุรกิจและการจัดการ โดยมีหัวหน้าคณะคือ Dr. Matthieu Burnay ตำแหน่ง Dean International จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดยมีประเด็นการหารือ เพื่อมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และการหารือถึงกลยุทธ์เพื่อการบูรณาการการทำงานวิจัยระหว่างสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่วมกับสายเทคโนโลยี โดยทั้งสองฝ่ายได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนความสนใจในการทำวิจัยแบบเชิงลึกและการแสวงหาแนวทางการทำงานร่วมกัน รวมถึงการหยิบยกประเด็นที่ท้าทายของการทำงานวิจัยในปัจจุบัน เช่น ปัญหาด้านงบประมาณและแหล่งทุนในการทำวิจัย การบูรณาการในการทำงานแบบข้ามสาขาวิชา เป็นต้น
ฝ่าย Queen Mary University of London ได้นำเสนอตัวอย่างโครงการ “Shape Health” ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีด้านการแพทย์กับสายมนุษยศาสตร์ ในการทำงานแบบข้ามสาขาวิชา และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมอภิปรายได้เห็นแนวทางการในการสร้างโอกาสในการทำงานวิจัยสำหรับนักศึกษาเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมแบบข้ามสาขาวิชา โดยเฉพาะในสาขา Science, Technology, Engineering, and Mathematics (STEM) และสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์
รวมทั้งหารือการทำความร่วมมือในหลากหลายด้าน เช่น การสนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่และทุนการทำวิจัย การสนับสนุนการทำวิจัยด้านสังคมศาสตร์และแบบข้ามสาขาวิชา โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในระดับปริญญาเอกและการพัฒนาหลักสูตรปริญญาโท แบบ 1 +1 และในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่าย ได้เห็นพ้องที่จะทำความร่วมมือทางวิชาการในระดับมหาวิทยาลัย ผ่านโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ และการทำงานวิจัยร่วมกัน รวมถึงโครงการฝึกงาน