Loading...

นักวิจัยธรรมศาสตร์ คิดค้นนวัตกรรม-สิ่งประดิษฐ์เพื่อสังคม คว้า 25 รางวัลระดับโลก

ทีมนักวิจัยและนักประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้า 25 รางวัลจากเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม The 48th International Exhibition of Inventions Geneva

วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2566

     รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวแสดงความยินดีกับทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาของประเทศ ส่งผลให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีชื่อเสียงในระดับโลก จนสามารถคว้ารางวัลในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 30 เมษายน 2566  ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

     ในปีนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 25 รางวัล ได้แก่ เหรียญทองเกียรติยศ 1 รางวัล เหรียญทอง 2 รางวัล เหรียญเงิน 6 รางวัล เหรียญทองแดง 7 รางวัล และรางวัลพิเศษ 9 รางวัล ตอกย้ำความสำเร็จนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยเพื่อก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย และนับเป็นความภาคภูมิใจที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยบนเวทีที่มีความสำคัญระดับโลก

     รางวัลที่ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva” ประกอบด้วย

▪️ รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ Gold Medal with the Congratulations of the Jury

     1. ผลงาน เซนเซอร์อัจฉริยะตรวจวัดระดับน้ำตาล สะสมในเลือด (MyA1c)

     โดย ศ.ดร.เกศรา ณ บางช้าง วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น, ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ ตั้งนรวิชญ์ และขนิษฐา พลสันติ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

▪️ รางวัลเหรียญทอง Gold Medal จำนวน 2 รางวัล

     1. ผลงาน นวัตกรรมแผงกันแดดปรับได้อัตโนมัติแบบประหยัดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Low-Cost Real-Time Automatic Louver)

     โดย ผศ.พฤฒิพร ลพเกิด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (รศ.ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง) และได้รับรางวัลพิเศษของงาน On Stage คือ รางวัล Industrial Design Prize จาก Pour la Suisse Romande de I’Association สวิตเซอร์แลนด์

     2. ผลงาน วีพีเซีย ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณหาบริเวณที่เหมาะสมในการผ่าตัดเจาะกระโหลกเพื่อระบายน้ำในสมอง (VP Shunt Entry Area Recommender (VPSEAR): A Computer-Assisted System for VP Shunt Operation)

     โดย รศ.ดร.ภคินี เอมมณี สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (นพ.วิชญ์ ยินดีเดช, พญ.ศศิกานต์ สุขห่อ และ นพ.อนุสรณ์ มั่งมี จากคณะแพทยศาสตร์, กฤษวิชญ์ จงสฤษดิ์ และลิออน เวิร์ซ)

▪️ รางวัลเหรียญเงิน Silver Medal จำนวน 6 รางวัล

     1. ผลงาน เตียงปรับองศาอัตโนมัติควบคุมด้วยเสียงปอดและระบบสั่นสะเทือน (Artificial Intelligence Lung Sound Controlled Posture-Gyro Bed)

     โดย ผศ.สุภาวดี ทับกล่ำ จากคณะพยาบาลศาสตร์

     2. ผลงาน เอ็น อาร์ ดี โดย ฮาชิ (NRD by Hashi)

     โดย รศ.ดร.สุภกร บุญยืน จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (ภก.ศรสหณัฐฏ์ อาชามณีภาดาภัทร และ ภก.ยอดชาย ตั้งใจดีบริสุทธิ์) และได้รับรางวัล Special prize จาก Research Institute of Creative Education, Vietnam

     3. ผลงาน พีดับบลิว สาม แอลแอล (P W3ll by Coffee Slender)

     โดย ผศ.ดร.กฤติยา เขื่อนเพชร จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (วารุณี มหาชนก และ ภก.ยอดชาย ตั้งใจดีบริสุทธิ์) และได้รับรางวัล Special prize จาก Research Institute of Creative Education, Vietnam

     4. ผลงาน ซุปเปอร์เคล (Super Kale)

     โดย รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (รมย์นลิน จันทะวงษ์, อภิสิทธิ์ นิลมาต และกฤติเดช อนันต์) และได้รับรางวัล Special prize จาก Research Institute of Creative Education, Vietnam

     5. ผลงาน เส้นใยนาโน (Shield Plus Nanofiber Shield Plus)

     โดย รศ.ดร.มาลี สันติคุณากรณ์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (รศ.ดร.ชาญณรงค์ อัศวเทศานุภาพ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และทรงวุฒิ จันที)

     6. ผลงาน บ้านแสนอยู่ดี (100,000 UD HOUSE)

     โดย รศ.ดร.ชุมเขต แสวงเจริญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (ชมภูนุท หอมหวาน และศศินาพร ยุทธิ์สนอง)

 

▪️ รางวัลเหรียญทองแดง Bronze Medal จำนวน 7 รางวัล

     1. ผลงาน อักษรโปรแกรมคอมพิวเตอร์รูปแบบเกมเพื่อช่วยสอนพยัญชนะไทยสำหรับเด็กที่มีปัญหาในการอ่าน  (AKSORN, a computer game program to assist Thai alphabet teaching for children with reading difficulties)

     โดย ศ.นพ.ภาสกร ศรีทิพย์สุโข จากคณะแพทยศาสตร์ (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (รศ.พญ.อิสราภา ชื่นสุวรรณ จากคณะแพทยศาสตร์, พญ.อัญชลิตา รัตนจารุรักษ์, ผศ.ดร.กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์ และทศพร เวชศิริ)

     2. ผลงาน เซลล์เมทริกซ์พลัส : อาร์เซเวนศาสตร์แห่งการชำระล้างสารพิษครบวงจร (Cell Matrix plus: R7 Biodynamic Detoxification)

     โดย รศ.ดร.รัชนีวรรณ อุ่นแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (รศ.ดร.สุภกร บุญยืน คณะคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ภก.ยอดชาย ตั้งใจดีบริสุทธิ์, ดร.กำพล ภูผาวัฒนากิจ, ดร.แสงดาว สมศรี และ อาภัสรี อุเทศธำรง) และได้รับรางวัลพิเศษ Special prize  Winner of impact innovator จาก mykenz and UAE associations และ Special prize จาก Research Institute of Creative Education, Vietnam

     3. ผลงาน ฟีลลิ แคน พลัส (Phelli-Can+)

     โดย ผศ.ดร.ปาริยา ณ นคร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (ผศ.ดร.ณัฐพงค์ จันจุฬา)

     4. ผลงาน นวัตกรรมจุลินทรีย์ทางการเกษตรเพื่อสูตรเชิงพาณิชย์ (Innovative Microbe for the  Commercial Formulations)

     โดย รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (รมย์นลิน จันทะวงษ์, อภิสิทธิ์ นิลมาต และกฤติเดช อนันต์) และได้รับรางวัล Special prize จาก King Abdulaziz University, Saudi Arabia

     5. ผลงาน HER2- Belive: เซ็นเซอร์แบบบูรณาการ สำหรับการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมระยะแรกเริ่ม (HER2- Belive : Integrated Sensors  for Early Breast Cancer Diagnostics)

     โดย รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (ผศ.ดร.นิภาพร เงินยวง จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์, ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ ตั้งนรวิชญ์ และขนิษฐา พลสันติ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสุกฤตา เพชรเย็น จากกองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร)

     6. ผลงาน ซุปเปอร์กรีน ยืดอายุผักผลไม้สด (Super Green; Prolong Shelf Life of  Fresh Fruit and Vegetable)

     โดย รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (ปิยะพงษ์ สอนแก้ว จากสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง และธนวัฒน์ โชติวรรณ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และได้รับรางวัลพิเศษ Special Prize จาก King Abusaziz University

     7. ผลงาน Maxx Life Eye Care

     โดย ผศ.ดร.ปาริยา ณ นคร (หัวหน้าทีมวิจัยฯ) และทีมวิจัย (รศ.ดร.สุภกร บุญยืน และ ภก.ยอดชาย ตั้งใจดีบริสุทธิ์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสฤษดิ์ เวชสุภาพร) และได้รับรางวัลพิเศษ Special Prize จาก King Abusaziz University

     จากความสำเร็จที่นักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับ 25 รางวัล นับเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และประเทศไทยในเวทีระดับนานาชาติ ซึ่งในด้านการวิจัยธรรมศาสตร์นั้น ได้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาของประเทศ ส่งผลให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีชื่อเสียงในระดับโลก ที่ผ่านมานักวิจัยธรรมศาสตร์ สามารถผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์สังคมมาโดยตลอด โดยได้รับรางวัลการันตีจากหลากหลายเวทีทั้งในระดับชาติและในระดับสากลอย่างต่อเนื่อง