Loading...

นักศึกษา SCI-TU สร้างชื่อ คว้ารางวัลจากมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565

นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กวาดรางวัลจาก Thailand Research Expo 2022

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2565

     นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้ารางวัลจากมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2565 (Thailand Research Expo 2022) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-5 สิงหาคม 2565  ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

     ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้มีนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากหลากหลายสาขาวิชาได้รับรางวัล ซึ่งประกอบไปด้วย 1. สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร 2. สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ 3. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ศูนย์ลำปาง

นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

     1. ผลงานนวัตกรรมเรื่อง นวัตกรรมการจัดการน้ำและธาตุอาหารแบบลุ่มน้ำสำหรับการผลิตทุเรียน โดย นายธนวัฒน์ โชติวรรณ นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ได้รับถ้วยรางวัลผลงาน ถ้วยรางวัลดีเด่น เหรียญทอง รางวัลข้อเสนอระดับดี และ โล่รางวัล

     2. ผลงานนวัตกรรมเรื่อง สารละลายช่วยผสมเกสรทุเรียน โดย น.ส.สุพรรษา เจริญสุข และ น.ส.ปานัดดา เจริญจันทร์ ได้รับรางวัลผลงาน ถ้วยรางวัลดีมาก เหรียญทอง รางวัลข้อเสนอระดับดีมาก และ โล่รางวัล

     3. ผลงานนวัตกรรมเรื่อง เม็ดบีดจุลินทรีย์ร่วมย่อยสลายอินทรีวัตถุ ชักนำรากเเก้ปัญหารากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โดย น.ส.อภัสราพร ภิรมย์ชม และนายประกอบ เกิดท้วม ได้รับรางวัลผลงาน ถ้วยรางวัลดี และ เหรียญทอง

โดยผลงานนวัตกรรมข้างต้นมี รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

     4. ผลงานนวัตกรรมเรื่อง 3P ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ โดย นายสุวิจักขณ์ ขาวทอง และ น.ส.เทียนนภา รองพนัง ซึ่งมี รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับรางวัลผลงานนวัตกรรมระดับปริญญาตรี ระดับดีเด่น เหรียญทอง รางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการนวัตกรรมระดับปริญญาตรี ระดับดีเด่น และ โล่รางวัล

นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

     ผลงานนวัตกรรม รี-มอส: มอลโตโอลิโกแซคคาไรด์ (MOS) จากกากมันสำปะหลังโดยกระบวนการทางเอนไซม์ที่ไม่ใช้ความร้อน โดย นายดารัณ โปร่งจิต และ น.ส. ภาวรินทร์ บลทอง นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งมีผศ.ดร.หทัยกาญจน์ เลกากาญจน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และ ดร.เบญจรัตน์ บรรเทิงสุข จาก สวทช. เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ได้รับรางวัลเหรียญเงิน นวัตกรรมสายอุดมศึกษา

นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ลำปาง

     1. ผลงานนวัตกรรมเรื่อง ระบบประเมินความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด 19 ในร้านอาหาร โดย นายพชร มีวงศ์อุโฆษ และ นายภาณุวัฒน์ สุขเมือง ซึ่งมีอาจารย์ ดร.กฤตคม ศรีจิรานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับรางวัลเหรียญเงิน ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ

     2. ผลงานนวัตกรรมเรื่อง ระบบติดตามท่าทางการนอนหลับเพื่อระบุตำแหน่งเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ โดย นายอภิสิทธิ์ วงศ์สอน และ นายกนกพล แซ่ว่าง ซึ่งมีอาจารย์ ดร.กฤตคม ศรีจิรานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับรางวัลเหรียญเงิน ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์