Loading...

ธรรมศาสตร์ คว้า 30 รางวัล ‘การวิจัยแห่งชาติ’ ปี 2567 รวมนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ‘สาขานิติศาสตร์’

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567 รวม 30 รางวัล ประกอบด้วย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และผลงานประดิษฐ์คิดค้น

วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2566

     สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประกาศผลรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2567 ประกอบด้วย รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลรวม 30 รางวัล ดังนี้

รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

     รศ.ดร.นาถนิรันดร์ จันทร์งาม

     คณะนิติศาสตร์ (สาขานิติศาสตร์)

รางวัลผลงานวิจัย จำนวน 17 รางวัล

ระดับดีมาก 2 รางวัล

     1. ผลงานวิจัยเรื่อง “ศาลรัฐธรรมนูญกับแนวคิดประชาธิปไตยที่ปกป้องตนเองได้”

โดย รศ.ดร.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ (ผู้ร่วมวิจัย)

     2. ผลงานวิจัยเรื่อง “การคัดเลือกและค้นหาเอนไซม์ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์จากแหล่งจุลินทรีย์ในประเทศไทย : จากความหลายทางชีวภาพสู่ต้นแบบเพื่ออุตสาหกรรม” 

โดย ผศ.ดร.หทัยกาญจน์ เลกากาญจน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ผู้ร่วมวิจัย)

ระดับดี 15 รางวัล

     1. ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเส้นด้ายนำไฟฟ้าสำหรับประยุกต์ใช้งานเป็นเซนเซอร์ และอุปกรณ์ทำความร้อนแบบสวมใส่”

โดย รศ.ดร.เรวัตร ใจสุทธิ และคณะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     2. ผลงานวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย: การศึกษาในสถานการณ์จริง (ปีที่ 1)”

โดย ศ.นพ.ภาสกร ศรีทิพย์สุโข และคณะ คณะแพทยศาสตร์

     3. ผลงานวิจัยเรื่อง “พลาสติกชีวภาพสมบัติเฉพาะ จากกระบวนการรีไซเคิลทางเคมี และการประยุกต์ใช้ประโยชน์ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน”

โดย รศ.ดร.ปกรณ์ โอภาประกาศิต และคณะ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

     4. ผลงานวิจัยเรื่อง “ปฏิบัติการข่าวสารและความรับผิดชอบของรัฐ: กรณีศึกษาข้อกล่าวหาเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กลุ่มโรฮีนจาในประเทศเมียนมาและปฏิบัติการโน้มน้าวข้อมูลข่าวสารที่มีความเกี่ยวข้องกับทหารในประเทศไทย”

โดย อาจารย์ ดร.ธนภัทร ชาตินักรบ คณะนิติศาสตร์

     5. ผลงานวิจัยเรื่อง “โครงการประเมินสถานการณ์และวิเคราะห์คดีพิพาทในศาลปกครองของมหาวิทยาลัย”

โดย รศ.ดร.เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล คณะนิติศาสตร์

     6. ผลงานวิจัยเรื่อง “ปาฏิหาริย์นั้นมีจริง: ความบังเอิญของไทยในการรอดพ้นจากอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง”

โดย ผศ.ดร.พีระ เจริญวัฒนนุกูล คณะรัฐศาสตร์

     7. ผลงานวิจัยเรื่อง “การแบ่งขั้วเชิงลึก การสลายขั้ว และสัณฐานวิทยาของอุดมการณ์: บทเรียนจากความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ในไทย”

โดย อาจารย์ดุลยภาพ จาตุรงคกุล คณะรัฐศาสตร์

     8. ผลงานวิจัยเรื่อง “ไทยกับรัฐบาลกั๋วหมินตั่งที่ไต้หวัน: จากพันธมิตรในสงครามเย็นสู่ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ (ค.ศ. 1949 – 1994)”

โดย ศ.ดร.สิทธิพล เครือรัฐติกาล วิทยาลัยสหวิทยาการ

     9. ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาทักษะสีเขียวขององค์การหรือบริษัทในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ภายใต้บริบทเชิงสถาบันของประเทศไทย”

โดย รศ.ดร.จตุรงค์ นภาธร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

     10. ผลงานวิจัยเรื่อง ““ห้องเรียนพหุวัฒนธรรม”: องค์ความรู้ ประสบการณ์ และตัวแบบการจัดการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษาในพื้นที่ ที่มีแรงงานต่างด้าวหนาแน่น (สมุทรสาคร ปทุมธานี และนครปฐม)”

โดย ผศ.ดร.ทรงชัย ทองปาน และ รศ.ดร.สิรจิตต์ เดชอมรชัย คณะศิลปศาสตร์

     11. ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ในการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี”

โดย รศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง

     12. ผลงานวิจัยเรื่อง “การประมวลผลภาพถ่ายจอตาที่ได้จากเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน”

โดย รศ.ดร.ภคินี เอมมณี สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

     13. ผลงานวิจัยเรื่อง “การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย”

โดย ผศ.ดร.พีรยุทธ โอรพันธ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

     14. ผลงานวิจัยเรื่อง “การสังเคราะห์การทุจริตเชิงนโยบายเพื่อการออกแบบระบบและพัฒนากลไกการสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายของไทย”

โดย รศ.ดร.สุปรียา แก้วละเอียด คณะนิติศาสตร์ (ผู้ร่วมวิจัย)

     15. ผลงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยเรื่อง “ระบบกำกับดูแลที่ดินเพื่อการพัฒนา: ทางเลือกการใช้ที่ดินและนโยบายที่ดินใน 20 ปีข้างหน้า”

โดย 1. ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ (ผู้ร่วมวิจัย) และ ผศ.ดร.สร้อยมาศ รุ่งมณี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (ผู้ร่วมวิจัย)


รางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวน 7 รางวัล

ระดับดีมาก 2 รางวัล

     1. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การวางแผนเมืองเพื่อพร้อมรับและปรับตัวต่ออุทกภัยอย่างเป็นธรรม”

โดย ดร.นาอีม แลนิ คณะรัฐศาสตร์

สำเร็จการศึกษา: University of Groningen, ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Professor Jos Arts

     2. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การประกอบสร้างความหมายของการุณยฆาตในสังคมไทยร่วมสมัย: บทบาทร่วม การแพทย์-กฎหมาย-พุทธศาสนา”

โดย ดร.อภิโชค เกิดผล

สำเร็จการศึกษา: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก : ศ.ดร.เสมอชัย พูลสุวรรณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ระดับดี  5 รางวัล

     1. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาบทบาทของ IL-25 ต่อการควบคุมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ Cryptococcus”

โดย ดร.อดิเทพ หาญสกล วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์

สำเร็จการศึกษา: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รศ.ดร.พรพิมล อังคเศกวินัย

     2. วิทยานิพนธ์เรื่อง “แนวทางการพัฒนากระบวนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553”

โดย ดร.ปุณยวัจน์ ไตรจุฑากาญจน์ คณะนิติศาสตร์

สำเร็จการศึกษา: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศ.ดร.ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์

     3. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การปฏิรูปข้อต่อสู้เรื่องการกระทำความผิดในขณะวิกลจริตของประเทศไทย:กรณีศึกษาเปรียบเทียบในแง่ของพัฒนาการทางกฎหมายในสกอตแลนด์อังกฤษและเวลส์”

โดย ดร.ญาดา เดชชัย เธียรประสิทธิ์ คณะนิติศาสตร์

สำเร็จการศึกษา: University of Aberdeen, ราชอาณาจักรสกอตแลนด์

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Dr. Elizabeth Shaw

     4. วิทยานิพนธ์เรื่อง “เรียงความเกี่ยวกับการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ข้ามวัฒนธรรม”

โดย ดร.ภูมิภักดิ์ คูสวัสดิ์

สำเร็จการศึกษา: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รองศาสตราจารย์ดร.สุรัตน์ ทีรฆาภิบาล คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

     5. วิทยานิพนธ์เรื่อง “เฟรมเวิร์คและอัลกอริทึมส าหรับสร้างความสามารถในการถกเถียงด้วยเหตุผลแก่ระบบเอไอ”

โดย ผศ.ดร.ธีรเดช ราชรักษ์

สำเร็จการศึกษาจาก : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Assistant Professor Nguyen Duy Hung สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน 5 รางวัล ดังนี้

ระดับดีมาก 1 รางวัล

     1. ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ฝึกการทำงานของแขนแบบฝึกแขนสองข้าง ผ่านกลไกสะท้อนแบบสมมาตรสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง”

โดย ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ รศ.ดร.พัชรี คุณค้ำชู คณะสหเวชศาสตร์ และคณะ

ระดับดี 1 รางวัล

     1. ผลงานเรื่อง “เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจอัตราการหายใจและฝึกหายใจ”

โดย รศ.ดร.กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์ และคณะ คณะสหเวชศาสตร์

ระดับประกาศเกียรติคุณ จำนวน 3 รางวัล

     1.ผลงานเรื่อง “ชุดตรวจยีน HLA-B*15:02 ด้วยเทคนิคอิมพีแดนซ์สเปกโทรสโกปีเชิงเคมีไฟฟ้าเพื่อป้องกันการแพ้ยาคาร์บามาซีพีน”

โดย รศ.ดร.ฌลณต เกษตร และ ผศ.ดร.สิรินารถ ชูเมียน คณะสหเวชศาสตร์

     2. ผลงานเรื่อง “วีพีเซีย ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณหาบริเวณที่เหมาะสมในการผ่าตัดเจาะกระโหลกเพื่อระบายน้ำในสมอง”

โดย รศ.ดร.ภคินี เอมมณี และคณะ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

     3. ผลงานเรื่อง “OWADIS: ระบบตรวจพบช่องโหว่ OWASP10 แบบเร่งด่วนโดยระบบการตรวจจับผู้บุกรุกแบบผสมผสาน”

โดย ดร.สมชาติ ฟักเขียว และคณะ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร