Loading...

ทีมนักวิจัยธรรมศาสตร์ กวาดรางวัลจาก ITEX 2023 มากสุด 27 รางวัล

ทีมนักวิจัยและนักประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้า 27 รางวัล จากเวทีใหญ่ที่สุดในเอเชีย The 34th International Invention, Innovation & Technology Exhibition

วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2566

     นักประดิษฐ์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลจากเวที The 34th International Invention, Innovation & Technology Exhibition (ITEX 2023) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 13 พฤษภาคม 2566 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับนักประดิษฐ์/นักวิจัย และระดับเยาวชน

ทีมธรรมศาสตร์ สามารถคว้ารางวัลมาได้จำนวน 27 รางวัล ได้แก่ เหรียญทอง 9 รางวัล เหรียญเงิน 9 รางวัล และรางวัลพิเศษ 9 รางวัล

▪️ รางวัลเหรียญทอง จำนวน 9 รางวัล

     1. ผลงาน การพัฒนาและสมบัติของ พอลิพรอพิลีน/พอลิเอทิลีนไวนิลอะซิเตท/ไมโครเซลลูโลส สำหรับประยุกต์เป็นวัสดุขัดในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย (Bright A Gems)Development and properties of polypropylene/ Polyethylene vinyl acetate/ micro-cellulose for polishing materials application in Thailand’s jewelry industry (bright a gems)

     โดย รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ รศ.ดร.เบญญา เชิดหิรัญกร, ผศ.ดวงแข บุตรกูล, นางสาวกัญญารัตน์ นามนนท์, นายศุภณัฐ สาริกา, นายสมัตถ์ ณ ราชสีมา และนายเจษฎา เจียรจิตอารีย์ และได้รับรางวัลพิเศษของงาน on stage คือ รางวัล ITEX 2023 Best Invention Award -International

     2. ผลงาน ทียู เอสบี TU-SBA

     โดย รศ.ดร.สุภกร บุญยืน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นายปณต ลักขณาวราภรณ์, นายณัฐภัทร แก้วทอง, นางสาวสุชานันท์ พวงนาค และ Dr. Shanmugam Paramasivam และได้รับรางวัลพิเศษของงาน Taiwan: World Invention Intellectual Property Associations (WIIPA)

     3. ผลงาน ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่เทียมปราศจากกลูเตนและถั่วเหลืองจากขนุนอ่อน Gluten-free and Soy-free Plant-based Chicken Meat from Young Jackfruit

     โดย ผศ.ดร.บุศราภา ลีละวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นางสาวธัญวรัตน์ ต่ายเกิด, นางสาวอติกานต์ ลือกิตินันท์ และนางสาวภัสสร ลั่นซ้าย และได้รับรางวัลพิเศษของงาน Taiwan: World Invention Intellectual Property Associations (WIIPA)

     4. ผลงาน โรตีผสมควีนัวสำเร็จรูปสอดไส้เจลนมข้นเพื่อสุขภาพ Healthy Instant Quinoa Roti with Condensed Milk Gel

     โดย ผศ.ดร.บุศราภา ลีละวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ ผศ.ดร.สุพัตรา สุภาวงค์, นางสาวฐิตภา ปัทมวิทูร, นางสาวปวันพัสตร์ เล่นทัศน์, นางสาวณัฐพัชญ์ พงศ์อนันตโชค, นางสาวพรกนก เพ็ชร์โยธิน, นายจิรวัฒน์ เขยสมผล และนางสาวตรีรักษ์ แดงวิไลเลิศ

     5. ผลงาน ริโค่ น้ำข้าวหมักจากข้าว กข 43 Rico fermented RD 43 rice drink

     โดย ผศ.ดร.สุธีรา วัฒนกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นางสาวเปรมจิต ศรีสุพพัตพงษ์, นางสาวพลอย พฤกษ์ไพบูลย์, นางสาวณัฐรดา วงศ์บุญประเสริฐ, นายธนกร คงสมจิตต์ และนางสาวศรานันท์ จุนท้วม และได้รับรางวัลพิเศษของงาน Taiwan: World Invention Intellectual Property Associations (WIIPA)

     6. ผลงาน ไพน์ไบโอติก: ผงเครื่องดื่มสับปะรดน้ำตาลต่ำเสริมโพรไบโอติก PineBiotic: Low-sugar pineapple drink powder with probiotic

     โดย รศ.ดร.สุเปญญา จิตตพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นางสาววาสิตา ลาปีอี, รศ.ดร.เทพปัญญา เจริญรัตน์, รศ.ดร.สร้อยสุดา พรภักดีวัฒนา, นายชัชชล กองสินแก้ว และนางสาวอรัชพร ทองโอฬาร และได้รับรางวัลพิเศษของงาน Taiwan: World Invention Intellectual Property Associations (WIIPA)

     7. ผลงาน กรีนทีน: เครื่องดื่มโปรตีนจากพืช ทางเลือกของคนรักสุขภาพ GreenTein: Alternative plant-based protein drink for healthiness

     โดย รศ.ดร.เทพปัญญา เจริญรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นายรุ่งวิกรัย เลิศสุวรรณ์, รศ.ดร.สุเปญญา จิตตพันธ์, ผศ.ดร.ทิวธวัฒ นาพิรุณ, รศ.ดร.สร้อยสุดา พรภักดีวัฒนา และนายชัชชล กองสินแก้ว

     8. ผลงาน เครื่องสูบน้ำท่อเขย่าคู่เสริมแรงดัน Pressurized Twin Shaking Pipe Water Pump

     โดย  รศ.ดร.ธนิท เรืองรุ่งชัยกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นายกฤชนนท์ สวนจันทร์ และได้รับรางวัลพิเศษของงาน Taiwan: World Invention Intellectual Property Associations (WIIPA)

     9. ผลงาน เจ อาร์ คอมเพล็กซ์ JR Complex

     โดย ผศ.ดร.ปาริยา ณ นคร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นายยอดชาย ตั้งใจดีบริสุทธิ์ และนายปุญญาวัฒน์ ทองพิจิตร

▪️ รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 9 รางวัล

     1. ผลงาน Green Clean Set

     โดย ผศ.ดร.อรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นางสาวนิภาวดี สุกรี และนางสาวพนาวัล อิ่มอรชร และได้รับรางวัลพิเศษของงาน Indonesia: Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA)

     2. ผลงาน ระบบติดตามคุณภาพน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับถังเก็บน้ำอัจฉริยะ Solar-Powered Water Quality Monitoring System for Smart Tank

     โดย รศ.ดร.ธนิท เรืองรุ่งชัยกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ รศ.ดร.สุเพชร จิรขจรกกุล และนายกฤชนนท์ สวนจันทร์

     3. ผลงาน อินโนเมด ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติผสมผสานนาโนเทคโนโลยี InnoMed Nano-natural Products

     โดย ผศ.ดร.ปาริยา ณ นคร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นางสาวเอสเธอร์ ทองอร่าม และได้รับรางวัลพิเศษของงาน Indonesia: Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA)

     4. ผลงาน การยืดอายุการเก็บรักษาผลมะนาวให้ได้ภายใน 3 เดือน Extending the shelf life of lime Fruits up to 3 months

     โดย รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นางสาวอภัสราพร ภิรมย์ชม, นายภาณุมาศ เทียนทอง และนายปิยะพงษ์ สอนแก้ว

     5. ผลงาน นวัตกรรมการเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตของเห็ดฟางโดยใช้อาหารวุ้นเป็นวัสดุเพาะ Increasing the quality and yield of straw mushrooms with Innovation novel agar substrate

     โดย รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นายปิยะพงษ์ สอนแก้ว, นางสาวสุพรรษา เจริญสุข และนางสาวปานัดดา เจริญจันทร์

     6. ผลงาน อุปกรณ์ให้ปุ๋ยพร้อมระบบน้ำขนาดเล็ก Mini-Chemigation Device

     โดย รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นายปิยะพงษ์ สอนแก้ว และนายธนวัฒน์ โชติวรรณ และได้รับรางวัลพิเศษของงาน Indonesia: Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA)

     7. ผลงาน ชลาศัยให้น้ำพืชและป้องกันดินเค็ม Aquawell and soil salinity control

     โดย รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นายปิยะพงษ์ สอนแก้ว, นายประกอบ เกิดท้วม, นายธนบดี พัฒนชนชาติคีรี และนายปฏิพัทธ์ บุญเรือน

     8. ผลงาน การศึกษาเชิงทฤษฎีและแบบจำลองชุดเกราะน้ำหนักเบาคอมโพสิตจากผ้าผืนธรรมชาติสองมิติ/พอลิเอสเตอร์และอิพอกซี่สำหรับป้องกันขีปนาวุธและการแทง (ชุดขีปนาวุธ) Theoretical and model study of light weight armour Composite from 2-dimension (2d) natural Fabrics/polyester and epoxy for ballistic and stabbing protection (ballistic suit-mix. & mat.)

     โดย รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้วิจัย ได้แก่ ผศ.ดร.พัชรี ประทุมพงษ์, ดร.ณัฐพล นาคปฐมกุล, นางสาวธัญญาเรศ ทองยศ, นางสาวจิรภัทร์ กำจัด และนางสาวพิชชาพร ตรีรัศมีพร

     9. ผลงาน การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อประเมินสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง: การศึกษานำร่องในจังหวัดเชียงราย The development of a mobile application for an oral health assessment of functionally dependent patients: A pilot study in Chiang Rai province, Thailand

     โดย ทพญ.สุธาสินี อินทร์ชัย คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะผู้วิจัย ได้แก่ นายนราธิป สุวรรณบัติ และนายยุทธศิลป์ คลังนาค และได้รับรางวัลพิเศษจากงาน HK: Hong Kong Student Invention Patent Program (HKSIP)

     ทั้งนี้ ITEX เป็นงานการประกวดและนำเสนอผลงานของนักประดิษฐ์จากประเทศต่าง ๆ ซึ่งจัดขึ้นมากว่า 30 ครั้ง ถือเป็นหนึ่งในนิทรรศการที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และเป็นเวทีที่นักประดิษฐ์และนักวิจัยจากนานาประเทศให้ความสนใจในการเข้าร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักประดิษฐ์และนักวิจัย จัดโดย Malaysian Invention and Design Society (MINDS) หน่วยงานด้านการส่งเสริมสิ่งประดิษฐ์และการออกแบบของมาเลเซีย