Loading...

นักศึกษาธรรมศาสตร์ สร้างสรรค์ผลงานวิจัย-นวัตกรรม คว้ารางวัลเวที Thailand Research Expo 2022

นักศึกษาธรรมศาสตร์ โชว์ศักยภาพสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน คว้ารางวัลมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ปี 2565

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2565

     นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้ารางวัลจากมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2565 (Thailand Research Expo 2022) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 5 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” มีผลงานเข้าร่วมประกวด จำนวน 155 ผลงาน โดยมีการมอบรางวัล ประกอบด้วย 1. รางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการ 2. รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา และ 3. เหรียญรางวัลตามเกณฑ์คะแนนของแต่ละผลงาน ประกอบด้วย 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ กลุ่มการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร, กลุ่มการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์, กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์, กลุ่มพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model และกลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

     รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะผลักดันให้นักศึกษาธรรมศาสตร์ได้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อตอบสนองรับใช้สังคมและประชาคมโลก ตามแนวทางวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า “มหาวิทยาลัยระดับโลกเพื่อประชาชน (World Class University for the People)”

     ในปีนี้ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จากหลากหลายคณะ ได้รับรางวัลจากมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2565 (Thailand Research Expo 2022) ในประเภทรางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการ จำนวน 4 รางวัล และรางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา จำนวน 5 รางวัล ดังนี้

รางวัลการเขียนข้อเสนอผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565

     1. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร (ระดับปริญญาตรี)

   1.1 เรื่อง “สารละลายช่วยผสมเกสรทุเรียน” ได้รับรางวัล ระดับรางวัลดีมาก

   โดย นางสาวสุพรรษา เจริญสุข และนางสาวปานัดดา เจริญจันทร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

   1.2 เรื่อง “3P ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์” ได้รับรางวัล ระดับรางวัลดีเด่น

   โดย นายสุวิจักขณ์ ขาวทอง และนางสาวเทียนนภา รองพนัง สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

     2. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร (ระดับบัณฑิตศึกษา)

   2.1 เรื่อง “นวัตกรรมการจัดการน้ำและธาตุอาหารแบบลุ่มน้ำสำหรับการผลิตทุเรียน” ได้รับรางวัล ระดับดี

   โดย นายธนวัฒน์ โชติวรรณ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     3. ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (ระดับปริญญาตรี)

   3.1 เรื่อง “ชุดตรวจคัดกรองการดื้อยาโคลิสตินของเชื้อ Acinetobacter baumannii” ได้รับรางวัล ระดับรางวัลดีมาก

   โดย นางสาวอันนา ทีฆะทิพย์สกุล และนางสาวณรัตน์ชา ศรีเพ็ชร สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ (ผศ.ดร.เอนก ภู่ทอง และ ผศ.ดร.สิรินารถ ชูเมียน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565

     1. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร (ระดับปริญญาตรี)

   1.1 เรื่อง “เม็ดบีดจุลินทรีย์รวมย่อยสลายอินทรีวัตถุ ชักนำรากแก้ปัญหารากเน่าโคนเน่าในต้นทุเรียน” ได้รับรางวัล ระดับรางวัลดี

   โดย นางสาวอภัสราพร ภิรมย์ชม และนายประกอบ เกิดท้วม สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

   1.2 เรื่อง “สารละลายช่วยผสมเกสรทุเรียน” ได้รับรางวัล ระดับรางวัลดีมาก

   โดย นางสาวสุพรรษา เจริญสุข และนางสาวปานัดดา เจริญจันทร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

   1.3 เรื่อง “3P ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์” ได้รับรางวัล ระดับรางวัลดีเด่น

   โดย นายสุวิจักขณ์ ขาวทอง และนางสาวเทียนนภา รองพนัง สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

     2. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร (ระดับบัณฑิตศึกษา)

   2.1 เรื่อง “นวัตกรรมการจัดการน้ำและธาตุอาหารแบบลุ่มน้ำสำหรับการผลิตทุเรียน” ได้รับรางวัล ระดับรางวัลดีเด่น

   โดย นายธนวัฒน์ โชติวรรณ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     3. ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (ระดับบัณฑิตศึกษา)

   3.1 เรื่อง “อุปกรณ์ฝึกการทำงานของแขนแบบฝึกแขนสองข้าง ผ่านกลไกสะท้อนแบบสมมาตร” ได้รับรางวัล ระดับรางวัลดี

   โดย นางสาวธันยพร วงศ์วัชรานนท์ และนายเมธาสิทธิ์ เกียรติ์ชัยภา คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ และ รศ.ดร.พัชรี คุณค้ำชู เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา) 

     ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน และมุ่งส่งเสริมผลงานวิจัยและนวัตกรรม มีผลงานที่ได้รับเหรียญรางวัลตามเกณฑ์คะแนน จำนวน 15 ผลงาน ดังนี้

รางวัลเหรียญทอง

     1. ผลงาน “นวัตกรรมการจัดการน้ำและธาตุอาหารแบบลุ่มน้ำสำหรับการผลิตทุเรียน”

   โดย นายธนวัฒน์ โชติวรรณ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     2. ผลงาน “สารละลายช่วยผสมเกสรทุเรียน”

   โดย นางสาวสุพรรษา เจริญสุข และนางสาวปานัดดา เจริญจันทร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     3. ผลงาน “เม็ดบีดจุลินทรีย์ร่วมย่อยสลายอินทรีวัตถุ ชักนำรากเเก้ปัญหารากเน่าโคนเน่าในทุเรียน”

   โดย นางสาวอภัสราพร ภิรมย์ชม และนายประกอบ เกิดท้วม สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

     4. ผลงาน “3P ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์”

   โดย นายสุวิจักขณ์ ขาวทอง และนางสาวเทียนนภา รองพนัง สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

     5. ผลงาน "อุปกรณ์ฝึกการทำงานของแขน แบบฝึกแขนสองข้าง ผ่านกลไกสะท้อนแบบสมมาตร"

   โดย นางสาวธันยพร วงศ์วัชรานนท์ และนายเมธาสิทธิ์ เกียรติ์ชัยภา (ระดับบัณฑิตศึกษา) คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ และ รศ.ดร.พัชรี คุณค้ำชู เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

 

รางวัลเหรียญเงิน

     1. ผลงาน “รี-มอส: มอลโตโอลิโกแซคคาไรด์ (MOS) จากกากมันสำปะหลังโดยกระบวนการทางเอนไซม์ที่ไม่ใช้ความร้อน”

   โดย นายดารัณ โปร่งจิต และนางสาวภาวรินทร์ บลทอง นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ผศ.ดร.หทัยกาญจน์ เลกากาญจน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และ ดร.เบญจรัตน์ บรรเทิงสุข จาก สวทช. เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม)

     2. ผลงาน “ระบบประเมินความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด 19 ในร้านอาหาร”

   โดย นายพชร มีวงศ์อุโฆษ และนายภาณุวัฒน์ สุขเมือง สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ลำปาง (อาจารย์ ดร.กฤตคม ศรีจิรานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

     3. ผลงาน “ระบบติดตามท่าทางการนอนหลับเพื่อระบุตำแหน่งเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ”

   โดย นายอภิสิทธิ์ วงศ์สอน และนายกนกพล แซ่ว่าง สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ลำปาง (อาจารย์ ดร.กฤตคม ศรีจิรานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

     4. ผลงาน “เครื่องออกกำลังกายแบบสภาพแวดล้อมเสมือนจริงสำหรับเพิ่มสมรรถภาพร่างกายในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจและกลุ่มผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด”

   โดย นางสาวณัฐสินี เสริมสินสายทอง (ระดับบัณฑิตศึกษา) สาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ (รศ.ดร.กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

     5. ผลงาน “ชุดตรวจคัดกรองการดื้อยาโคลิสตินของเชื้อ Acinetobacter baumannii”

   โดย นางสาวอันนา ทีฆะทิพย์สกุล และนางสาวณรัตน์ชา ศรีเพ็ชร สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ (ผศ.ดร.เอนก ภู่ทอง และ ผศ.ดร.สิรินารถ ชูเมียน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

     6. ผลงาน “อุปกรณ์ต้นแบบ Blue Light LED Photoactivator เพื่อประยุกต์ใช้ในการตรวจวินิจฉัยด้วยเทคนิค viability PCR (Prototype design of blue light LED photoactivator for viability PCR applications)”

   โดย นางสาวรุจิรา พรหมมา และนางสาวธนพร เถื่อนถ้า สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ (ดร.ณัฐมน นิยมเดชา อาจารย์ที่ปรึกษา)

     7. ผลงาน “ชุดตรวจหมู่เลือดชนิด Mia กลุ่มเรื่องนวัตกรรม ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์”

   โดย นายโกมินทร์ ภูมิสะอาด และนางสาวชัชฎาภรณ์ ดวงวิลัย สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ (ผศ.ดร.สิรินารถ ชูเมียน และ ผศ.ดร.ฌลณต เกษตร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

     8. ผลงาน “โอบิล V.1 อุปกรณ์ปิดตาทารกขณะส่องไฟ”

   โดย นางสาวประภากร ศรีบัวบาล คณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (ผศ.สุภาวดี ทับกล่ำ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

     9. ผลงาน “AI Chatbot สายด่วนมะเร็งเต้านม รู้เร็วหายไว”

   โดย นางสาวประภากร ศรีบัวบาล คณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ, นางสาวภัทรศยา ฉิมวัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ผศ.สุภาวดี ทับกล่ำ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)

รางวัลเหรียญทองแดง

     1. ผลงาน “การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือวัดแรงดันสัญญาณป้อนกลับทางชีวเวชร่วมกับแอปพลิเคชัน สำหรับฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้วยตนเอง” โดย นางสาวปัณณิกา อินอุตร (ศึกษาต่อปริญญาโทวิศวกรรมการแพทย์) คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะฯ (ผศ.ดร.กริช เจียมจิโรจน์ และ รศ.ดร.เกษรา รักษ์พงษ์สิริ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)