Loading...

หลักสูตรปริญญาตรี

          หลักสูตรระดับปริญญาตรี เปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยประกอบด้วยหลักสูตรภาษาไทย หลักสูตรทวิภาษา และหลักสูตรนานาชาติ

 

          รวมถึงมีหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการพิเศษ ได้แก่ หลักสูตรสองปริญญา (Double Degree) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดการเรียนการสอนร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ หลักสูตรสองวิชาเอก (Double Major) และหลักสูตรปริญญาตรีควบโท ซึ่งใช้เวลาเรียนเพียง 5 ปี เพื่อรับวุฒิปริญญาโท

 

          ทั้งนี้ ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่เสริมสร้างการเป็นบัณฑิตยุคสมัยใหม่ ในด้านกระบวนการทางความคิดและทักษะการเรียนรู้ที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบและความสำนึกในหน้าที่ รวมถึงมีวิชาให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้และเตรียมพร้อมสำหรับการประกอบอาชีพ

การรับเข้าศึกษา : https://tuadmissions.in.th

View by Categories

การผังเมืองบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนและผังเมือง การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร การจัดการสิ่งแวดล้อมและการแก้ปัญหาเมืองด้านต่างๆ เน้นการประยุกต์วิชาการพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และวิทยาการจัดการ เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างสรรค์งานด้านการผังเมืองที่มีความทันสมัยสอดคล้องกับสังคมยุคใหม่

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานที่สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เทศบาลเมือง เทศบาลนคร เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบล การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การเคหะแห่งชาติ การนิคมอุตสาหกรรม โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ที่ปรึกษา โดยเป็นนักวางแผนและวางผังเมือง ที่ปรึกษาการวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tds.tu.ac.th/programs-up/

การออกแบบพัฒนาชุมชนเมืองบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบชุมชนเมือง ซึ่งเป็นบูรณาการศาสตร์อันประกอบไปด้วยศาสตร์ด้านการออกแบบ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม วิทยาการจัดการ และการพัฒนา เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของสังคมยุคใหม่ และการเจริญเติบโตของเมืองและชุมชน และเพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับมวลมนุษย์

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบวิชาชีพอิสระหรือทำงานในหน่วยงานราชการ องค์กรไม่แสวงหากำไร บริษัทที่ปรึกษาโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนเมืองได้หลายประเภท ทั้งในและต่างประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tds.tu.ac.th/programs-uddi/

การแพทย์แผนจีนบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.cicm.tu.ac.th/

การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย โดยเน้นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการตรวจวินิจฉัยอาการ และให้การรักษาโรคด้วยการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ครอบคลุมทั้งด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย หัตถเวชกรรมไทย และผดุงครรภ์ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการและความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์รองรับ รวมทั้งสามารถส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ แพทย์แผนไทยประยุกต์ แพทย์แผนไทย นักการแพทย์แผนไทยในสถานพยาบาลทุกระดับ อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย หรือประกอบอาชีพอิสระด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์โดยการเปิดคลินิก

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.med.tu.ac.th/attmedtu

ควบบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจแบบบูรณาการ

เป็นหลักสูตรควบตรี–โท ทางการบริหารธุรกิจ ซึ่งออกแบบมาเพื่อการเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการ โดยจะเน้นให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนในห้องเรียนควบคู่ไปกับการเรียนรู้ภาคปฏิบัติในโลกการทำงานจริงของทั้งภาคธุรกิจสังคมและชุมชน นักศึกษาจะได้รับการปลูกฝังเรื่องจริยธรรมและสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมที่ประสานไว้ในหลักสูตรผ่านหลายวิชาทั้งธุรกิจกับสังคมธรรมาภิบาล ตลอดจนโครงการรณรงค์ทางธุรกิจเพื่อสังคมและประเทศชาติ

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพนักบริหาร นักวิชาการ นักวิจัย และทำงานในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในด้านดังต่อไปนี้ ด้านการเงิน ด้านการตลาด ด้านการบริหารองค์การและการประกอบการ และที่ปรึกษาทางธุรกิจ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.ibmp.tbs.tu.ac.th

ควบบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ

ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญและบทบาทของการบัญชี โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้ถึงแนวความคิดในการรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลทางการเงิน ซึ่งสะท้อนกิจกรรมทางธุรกิจที่เกิดขึ้นในองค์กร หลักสูตรมีการออกแบบการเรียนการสอนในลักษณะบูรณาการ โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการบูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการบัญชีเข้ากับการบริหาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านการบัญชีและการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับองค์กร

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพนักบริหาร นักวิชาการ นักวิจัย และทำงานในองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในด้านการทำบัญชี การสอบบัญชี การบัญชีบริหาร การวางระบบบัญชี การบัญชีภาษีอากร การศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี และการตรวจสอบภายใน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://accounting.bus.tu.ac.th

ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก การตรวจ วินิจฉัย การวางแผนการรักษา เวชบำบัดหรือการผ่าตัดรักษาโรคและภยันตรายของช่องปากกระดูกขากรรไกรและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพของอวัยวะในช่องปากและอวัยวะข้างเคียง ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพเป็นทันตแพทย์ ผู้มีความพร้อมปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับมาตรฐาน และสามารถทำงานร่วมกับบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dentistry.tu.ac.th/Dentistry

ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรทวิภาษา)

ศึกษาเกี่ยวกับการรักษาทางทันตกรรม โดยมุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการตรวจวินิจฉัย การวางแผนการรักษาเพื่อบำบัดโรค ฟื้นฟู คงสภาพในช่องปาก โดยคำนึกถึงหลักสุขภาพองค์รวม รวมถึงพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษตามความจำเป็นของวิชาชีพ มีทักษะในการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและบุคคลอื่นอย่างเหมาะสม

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพเป็นทันตแพทย์ ผู้มีความพร้อมปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับมาตรฐาน และสามารถทำงานร่วมกับบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dentistry.tu.ac.th/Dentistry

นิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจ โดยมุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนมีความพร้อมในวิชาชีพกฎหมายระดับสากลสำหรับการแข่งขันกับนักกฎหมายต่างชาติบนเวทีการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้นในตลาดแรงงานด้านกฎหมาย

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ ทนายความ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ผู้พิพากษาและตุลาการ อัยการ นิติกร อาจารย์และนักวิจัย นักการทูต ข้าราชการ ที่ปรึกษากฎหมายในองค์กรธุรกิจและองค์การระหว่างประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.law.tu.ac.th

นิติศาสตร์บัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยเน้นฝึกฝนให้นักศึกษาสามารถใช้วิชากฎหมายให้ถูกต้องแก่กรณี รู้จักใช้เหตุผล เข้าใจตัวบทกฎหมายทั้งในการตีความและเจตนารมณ์ของกฎหมาย มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายพื้นฐานต่างๆ และมีความชำนาญเฉพาะด้านในกฎหมายสาขาใดสาขาหนึ่งมากขึ้น รวมถึงมีความสำนึกและรับผิดชอบในวิชาชีพกฎหมาย

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เช่น ตุลาการ อัยการ ทนายความ พนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจ นิติกร ผู้สอนในสถานศึกษา หรืองานที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณะ รวมทั้งงานของรัฐวิสาหกิจและเอกชนด้วย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.law.tu.ac.th

บริหารธุรกิจบัณฑิต

- บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกการเงิน

ศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจทางการเงินเพื่อสร้างมูลค่าแก่กิจการ การลงทุนในโครงการต่างๆ การจัดหาเงินทุน การบริหารสภาพคล่อง การลงทุนในหลักทรัพย์และอนุพันธ์ทางการเงิน และการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน ผู้เรียนควรมีความสนใจในพื้นฐานหลัก 3 ด้าน คือ คณิตศาสตร์และสถิติ เศรษฐศาสตร์ และการบัญชี

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่การเงิน นักวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน นักวิเคราะห์การลงทุนและโครงการ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และบริหารความเสี่ยง ตำแหน่งงานเหล่านี้ยังสามารถพัฒนาให้เป็นผู้บริหารระดับสูง (CFO และ CEO) ได้ทั้งในธุรกิจเอกชน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยราชการ ตลอดจนองค์กรการกุศลและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่  https://www.tbs.tu.ac.th/fn-home/

 

- บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกการตลาด

ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยนำความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคและการวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาด มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้บริโภค โดยคำนึงถึงจริยธรรม และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

นักการตลาดที่มีความรู้ความสามารถยังเป็นที่ต้องการอีกมาก ทั้งในภาคราชการและเอกชน โดยเฉพาะในภาคเอกชน ความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะขึ้นอยู่กับนักการตลาดที่มีความสามารถ แม้กระทั่งการทำธุรกิจส่วนตัวหรือธุรกิจขนาดย่อมให้ประสบผลสำเร็จได้ดี ก็ต้องอาศัยความรู้ทางด้านการตลาดเข้ามาช่วยดำเนินการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.tbs.tu.ac.th/mk-home/

 

- บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกการบริหารองค์การ การประกอบการและทรัพยากรมนุษย์

ศึกษาเกี่ยวกับการตลาดและการเงินระบบปฏิบัติการ ในบริบทของธุรกิจขนาดเล็กและกลางหรือ SME (Small-and Medium Enterprise) โดยเน้นการเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติจริง สอนให้คิดแตกต่างและสร้างสรรค์ บ่มเพาะให้เป็นนักแสวงหาโอกาสทางธุรกิจที่มีจริยธรรม ส่งเสริมให้ได้เรียนรู้ใกล้ชิดกับเจ้าของธุรกิจตัวจริง เรียนรู้การทำแผนธุรกิจอย่างมืออาชีพและนำเสนอต่อกลุ่มนักลงทุนและ/หรือเจ้าของธุรกิจ เพื่อโอกาสต่อยอดให้ธุรกิจเป็นจริง

บัณฑิตสาขานี้ สามารถจบไปเป็นเจ้าของธุรกิจ บริหารธุรกิจครอบครัว ทำงานเป็นที่ปรึกษาฝ่ายพัฒนาธุรกิจขององค์กรชั้นนำ นักวิเคราะห์กลยุทธ์ SME ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างธุรกิจ (Start-up)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.tbs.tu.ac.th/moeh-home/

 

- บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกบริหารการปฏิบัติการ

ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งระบบอุตสาหกรรมการผลิต ระบบการให้บริการ รวมทั้งงานบริหารสำนักงานทั่วไป โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ และตัดสินใจอย่างเป็นระบบ คำนึงถึงผลิตภาพ (Productivity) คุณภาพ (Quality) และสามารถประสานความสัมพันธ์เชิงรวมในการปฏิบัติงานเพื่อองค์กรได้

บัณฑิตสาขานี้ สามารถทำงานได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมบริการ และกิจการทุกประเภท ซึ่งต้องทำการบริหารคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต การพัฒนาระบบงาน การประหยัดต้นทุน และการส่งงานอย่างตรงเวลา เช่น ธนาคาร กิจการขนส่งทางเรือ ท่าอากาศยาน ตลาดกลางขายสินค้า ห้างสรรพสินค้า กิจการจัดจำหน่าย กิจการก่อสร้าง และบริษัทที่ปรึกษา

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.tbs.tu.ac.th/om-home/

 

- บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง

ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลและทางอากาศ ในด้านการบริหารและการจัดองค์การขั้นพื้นฐานของบริษัท ประวัติการเดินเรือและการบิน โครงสร้างและลักษณะของอุตสาหกรรมการเดินเรือและการขนส่งทางอากาศ บทบาทของผู้ประกอบกิจการ ตัวแทนประเภทต่างๆ บทบาทของรัฐ หลักและการปฏิบัติของบริษัทเดินเรือ บริษัทสายการบิน และบริษัทผู้รับจัดการขนส่ง การจัดทำเอกสาร ข้อตกลง และสัญญาการขนส่ง การจัดทำตารางเดินเรือ การเช่าเหมาเรือ ระบบการขนถ่ายและการจัดวางสินค้า

บัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้ สามารถประกอบธุรกิจหรือทำงานในธุรกิจด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ประกอบธุรกิจหรือเข้าร่วมงานในธุรกิจการนำเข้า-ส่งออก ธุรกิจผู้ให้บริการขนส่ง เช่น บริษัทเรือ บริษัทสายการบิน ธุรกิจผู้ให้บริการรับจัดการขนส่ง เช่น Freight Forwarder ธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ธุรกิจท่าเรือ และสนามบิน ธุรกิจคลังสินค้าหรือการกระจายสินค้า ธุรกิจประกันภัยสินค้า ธุรกิจวิเทศธนกิจ เช่น ฝ่ายวิเทศธนกิจในสถาบันการเงิน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่  https://www.tbs.tu.ac.th/iblt-home/

 

- บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาและการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติงานและช่วยในการตัดสินใจ เรียนรู้การออกแบบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ การใช้และการบริหารทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทั้งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารงานด้านต่างๆ ในองค์การ

บัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้ เหมาะสมจะทำงานด้านสารสนเทศเป็นหลัก เช่น นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer) ผู้ตรวจสอบคอมพิวเตอร์ (IT Audit) ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Consultant) ที่ปรึกษาด้านระบบ ERP ผู้ทดสอบและควบคุมคุณภาพระบบ (Tester) ผู้ดูแลและจัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator: DBA) และผู้พัฒนาโปรแกรม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.tbs.tu.ac.th/mis-home/

 

- บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ศึกษาเกี่ยวกับการบริหาร การตลาด การลงทุน การพัฒนา และการประเมินมูลค่า ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เน้นการเพิ่มพูนความเข้าใจในศาสตร์ทางด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเชิงบูรณาการอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการพัฒนาที่เป็นระบบ ควบคู่ไปกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการบริหารจัดการที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคอย่างเป็นรูปธรรม

ผู้สำเร็จการศึกษาด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีช่องทางในการทำงานที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ 
การบริหารจัดการทรัพย์สิน การตลาด และการขายทรัพย์สิน โดยสามารถทำงานร่วมกับบริษัทเอกชนที่พัฒนาและลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ บริษัทให้คำปรึกษา หน่วยงานราชการ และบริษัทหรือสถาบันการเงิน

 

บริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

- บริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) วิชาเอกการเงิน

ศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจทางการเงินเพื่อสร้างมูลค่าแก่กิจการ การลงทุนในโครงการต่างๆ การจัดหาเงินทุน การบริหารสภาพคล่อง การลงทุนในหลักทรัพย์และอนุพันธ์ทางการเงิน รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน นอกจากนี้เน้นฝึกฝนให้นักศึกษามีมุมมองแบบโลกาภิวัฒน์ มีความคล่องตัวในการทำงานในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีทักษะในการสื่อสารและการนำเสนอทางธุรกิจอย่างมืออาชีพ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาขยายโลกทัศน์และประสบการณ์ของตนผ่านโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจต่างๆ ในทุกทวีปทั่วโลก

อาชีพในสายงาน ได้แก่ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการเงิน ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (การเงิน) นักวิเคราะห์สินเชื่อ ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน เจ้าหน้าที่การเงิน นักวิเคราะห์การเงิน ผู้จัดการฝ่ายสัญญาเช่าซื้อขาย นักวิเคราะห์ความเสี่ยง รองผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน

- บริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) วิชาเอกการตลาด

ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดอย่างลึกซึ้ง เพื่อมุ่งผลิตผู้บริหารการตลาดมืออาชีพที่ลงมือปฏิบัติได้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้เน้นฝึกฝนให้นักศึกษามีมุมมองแบบโลกาภิวัฒน์ มีความคล่องตัวในการทำงานในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีทักษะในการสื่อสารและการนำเสนอทางธุรกิจอย่างมืออาชีพ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาขยายโลกทัศน์และประสบการณ์ของตนผ่านโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจต่างๆ ในทุกทวีปทั่วโลก

อาชีพในสายงาน ได้แก่ ผู้บริหารงานลูกค้า ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้ช่วยอำนวยการฝ่ายขายและการตลาด ผู้จัดการบริหารตราสินค้า เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเนื้อหาดิจิตอล ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรม ผู้จัดการสำนักงานโมเดิร์นเทรด เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด พนักงานฝ่ายการตลาด พนักงานวิจัยทางการตลาด ผู้วางแผนกลยุทธ์สื่อและโฆษณา ผู้จัดการฝ่ายสินค้า ผู้จัดการธุรกิจค้าปลีก รองผู้บริหารระดับสูงฝ่ายขายและการตลาด ผู้จัดการฝ่ายสินค้า

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.bba.tbs.tu.ac.th

บัญชีบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับการบันทึกและวิเคราะห์รายการการค้าทางธุรกิจ โดยครอบคลุมแนวคิดและเครื่องมือด้านการบัญชี การเงิน และการบัญชีบริหาร ในลักษณะที่เชื่อมโยงและสะท้อนความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทางธุรกิจโดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในการแปลความหมายของข้อมูลทางการบัญชีและการเงิน เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจที่สำคัญทางธุรกิจ

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพนักบริหาร นักวิชาการ นักวิจัย และทำงานในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในด้านดังต่อไปนี้ ด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี และด้านการตรวจสอบภายใน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://accounting.bus.tu.ac.th

บัญชีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการบันทึกและวิเคราะห์รายการการค้าทางธุรกิจ โดยครอบคลุมแนวคิดและเครื่องมือด้านการบัญชี การเงิน และการบัญชีบริหาร ในลักษณะที่เชื่อมโยงและสะท้อนความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทางธุรกิจ นอกจากนี้เน้นฝึกฝนให้นักศึกษามีมุมมองแบบโลกาภิวัฒน์ มีความคล่องตัวในการทำงานในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีทักษะในการสื่อสารและการนำเสนอทางธุรกิจอย่างมืออาชีพ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาขยายโลกทัศน์และประสบการณ์ของตนผ่านโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจต่างๆ ในทุกทวีปทั่วโลก

อาชีพในสายงาน ได้แก่ หัวหน้างานบัญชีและการเงิน นักวิเคราะห์บัญชี ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบัญชี ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี พนักงานบัญชี ผู้จัดการฝ่ายบัญชี เจ้าหน้าที่บัญชี (เจ้าหนี้) เจ้าหน้าที่บัญชีลูกหนี้ ผู้เชี่ยวชาญสินทรัพย์เพื่อการลงทุน ผู้บริหารฝ่ายบัญชีต้นทุน ผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชี ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบภายใน เจ้าหน้าที่บัญชีโครงการ ที่ปรึกษาด้านภาษี

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.bba.tbs.tu.ac.th

พยาบาลศาสตรบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และมีการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์จริง รวมถึงมีกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เป็นบุคลากรทางการพยาบาลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปกับความรู้และทักษะเชิงวิชาชีพ

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพเป็นพยาบาลวิชาชีพในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ) พยาบาลประจำโรงเรียน/สถานประกอบการด้านสุขภาพ ประกอบอาชีพอิสระด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ศึกษาต่อระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก สาขาพยาบาลศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://nurse.tu.ac.th

พยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://nurse.tu.ac.th

ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อให้ได้สภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่มีคุณค่าสำหรับมวลมนุษย์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ ภูมิสถาปนิก นักวางผังบริเวณ ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ที่ปรึกษาด้านการก่อสร้างภูมิสถาปัตยกรรม นักบริหารโครงการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tds.tu.ac.th/programs-ln/

รัฐศาสตรบัณฑิต

- รัฐศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการเมืองการปกครอง    

ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาและความคิดทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศต่างๆ โครงการและการทำงานของ
สถาบันและองค์กรทางการเมืองต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญ รัฐสภา พรรคการเมือง การเลือกตั้ง
และปัญหาทางการเมืองและสังคมที่สำคัญๆ เช่น ธุรกิจกับการเมือง ทหารกับการเมือง การเมืองกับกฎหมายมหาชน การเมืองภาคประชาชนกฎหมายปกครองการเมืองของผู้ใช้แรงงานและชาวนา ฯลฯ

เมื่อเรียนจบสามารถปฏิบัติงานด้านการปกครอง การพัฒนาทั้งในภาครัฐบาลและองค์การพัฒนาเอกชน ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประชาธิปไตย การอำนวยผลประโยชน์แก่ประชาชนในบทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภา และผู้บริหารระดับท้องถิ่น ตลอดจนผู้นำพรรคการเมืองและองค์กรทางการเมืองต่างๆ หรือเข้าไปมีบทบาทในฐานะนักวิชาชีพ สื่อมวลชน ทำหน้าที่ติดตามนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆ ต่อสาธารณชน

- รัฐศาสตรบัณฑิต วิชาเอกบริหารรัฐกิจ 

ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการในหน่วยงานและองค์การต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบราชการ รวมถึงหน่วยงานของรัฐประเภทต่างๆ การบริหารบุคคล การคลัง การงบประมาณ การวางแผนจัดทำโครงการ เทคนิคการบริหาร การจัดระบบงาน การบริหารการพัฒนา นโยบายต่างๆ โดยเน้นปัญหาที่สำคัญๆ เช่น ปัญหาแรงงาน การคอรัปชั่น การพัฒนาชนบท การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการภัยพิบัติ ฯลฯ

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานด้านบริหาร นโยบาย และแผนงานได้ทุกหน่วยราชการ ตัวอย่างตำแหน่งงานเช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่ประสานงาน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เลขานุการบริหาร นักวิชาการศึกษา ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้ด้านการบริหารจัดการไปทำงานในภาคเอกชนได้

- รัฐศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการระหว่างประเทศ

ศึกษาเกี่ยวกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ การเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งในปัจจุบันความรู้ความเข้าใจในด้านดังกล่าวมีความสำคัญทั้งต่อภาครัฐบาล ภาคเอกชน เพราะแต่ละประเทศไม่ได้อยู่กันอย่างโดดเดี่ยว

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานในหน่วยงานราชการต่างๆ ทำหน้าที่ในคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความร่วมมือแก้ไขความขัดแย้ง ร่วมจรรโลงสันติภาพของประชาคมโลก รวมถึงเข้าไปมีบทบาทในภาคธุรกิจการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.polsci.tu.ac.th/nw_polsci/index.php?option=com_content&view=article&id=39&Itemid=109

รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการระหว่างประเทศ (ภาคภาษาอังกฤษ)

โครงการ BMIR เป็นหลักสูตรควบปริญญาตรี-โท ระยะเวลาเรียน 5 ปี จัดการเรียนการสอนที่ท่าพระจันทร์ ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ มุ่งให้นักศึกษามีความรอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง มีความรู้ในระดับสากลที่สามารถตอบ
สนองความต้องการกำลังทรัพยากรมนุษย์ในระดับประเทศภูมิภาคและองค์การระหว่างประเทศได้

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น เป็นคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ เป็นนักบริหารหรือบุคลากรในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน หรือจะอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนที่มีบทบาทในฐานะนักวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นผู้สื่อข่าวนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์การเมืองและการระหว่างประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.polsci.tu.ac.th/nw_polsci/index.php?option=com_content&view=article&id=29&Itemid=118

วารสารศาสตรบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและทักษะทางด้านวิชาชีพวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มวิชาตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ได้แก่ กลุ่มวิชาบริหารการสื่อสาร กลุ่มวิชาวิทยุและโทรทัศน์ กลุ่มวิชาโฆษณา กลุ่มวิชาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ กลุ่มวิชาประชาสัมพันธ์ กลุ่มวิชาภาพยนตร์และภาพถ่าย

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักข่าว นักเขียน นักวิจารณ์ งานบรรณาธิการ การพิมพ์ และออกแบบสิ่งพิมพ์ ผู้ผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ นักประชาสัมพันธ์ในองค์กรของรัฐและเอกชน ผู้กำกับแสง เสียง และการแสดง นักโฆษณาในองค์กรต่าง ๆ ผู้ผลิตภาพยนตร์และเขียนบทภาพยนตร์ ช่างภาพ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.jc.tu.ac.th

วารสารศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศึกษา (ภาคภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับทักษะการสื่อสาร โดยมุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการความรู้ความสามารถเชิงวิชาการและวิชาชีพสู่สังคม มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคมและสาธารณะทั้งในระดับชาติและระดับสากล เป็นผู้นำทางด้านสื่อสารมวลชนที่มีศีลธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะภาษาอังกฤษเพียบพร้อม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ ผู้สื่อข่าว นักเขียน นักวิจารณ์ นักวิเคราะห์ งานบรรณาธิการข่าว การบริหารงานพิมพ์ ผู้ผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ นักการสื่อสารที่สามารถทำงานให้องค์กรต่างๆ เช่น องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน NGO และองค์กรระหว่างประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.jc.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด

ศึกษาเกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกาย ซึ่งเกิดจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพความพิการของร่างกาย รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด

บัณฑิตสาขานี้ เมื่อสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะสามารถปฏิบัติงานเป็นนักกายภาพบำบัดประจำโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน หรือเป็นนักกายภาพบำบัดประจำทีมกีฬาต่างๆ ทั้งยังสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เพื่อเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา และประกอบวิชาชีพอิสระในสาขากายภาพบำบัดได้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://allied.tu.ac.th/physical-therapy

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวัฏจักร
การทำงานในองค์กรตลอดจนธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นๆ มุ่งเน้นเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาสามารถออกไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเนื้อหาของหลักสูตรจะประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มวิชาการจัดการวิศวกรรม กลุ่มวิชาบริหารธุรกิจ และกลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานในหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตและการให้บริการ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาครัฐวิสาหกิจ โดยจะสามารถรับผิดชอบงานซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ วางแผนการผลิต หรือการให้บริการ ให้สอดคล้องกับแผนการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมคุณภาพของสินค้าให้ได้มาตรฐานตามต้องการ วางแผนทางด้านการลำเลียงวัตถุดิบ และ/หรือผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์และป้องกันปัญหาด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และการยศาสตร์ ที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนและพัฒนาสินค้า ระบบการผลิต และ/หรือระบบการให้บริการใหม่ๆ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.siit.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับการคิดเชิงออกแบบและกระบวนการออกแบบ เพื่อนำความรู้ทั้งด้านการออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ การทำธุรกิจ และเทคโนโลยี มาบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าและนวัตกรรมที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวางแผน ฝ่ายออกแบบและพัฒนาและฝ่ายความรับผิดชอบต่อสังคมภาคธุรกิจ นักวิจัยฝ่ายวิจัยและพัฒนาการออกแบบ ผู้ประกอบการสร้างสรรค์อิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tds.tu.ac.th/programs-dbtm/

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบ ความสวยงามของชิ้นงาน การออกแบบระบบ และความเหมาะสมของการใช้งาน รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมที่ไม่ซับซ้อนมากแต่สามารถต่อยอดการพัฒนาชิ้นงานขนาดใหญ่ได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สาขา ได้แก่ แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ และศิลปะและการออกแบบเกม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักออกแบบเลขศิลป์ นักออกแบบภาพประกอบดิจิทัล นักออกแบบเว็บ นักออกแบบโปรแกรมประยุกต์ แอนิเมเตอร์ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบเกม ผู้อำนวยการงานสร้างสรรค์ ผู้อำนวยการสร้าง ผู้อำนวยการด้านเทคนิค ผู้ทำหุ่นจำลอง ริคเกอร์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sci.tu.ac.th/dep/cdt-idd

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ในภาคทฤษฎีซึ่งเป็นโครงสร้างนามธรรมอย่างลึกซึ้ง รู้จักใช้ความคิดและเข้าใจการใช้เหตุผลใน
การพิจารณาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางคณิตศาสตร์อย่างมีระเบียบแบบแผน รวมทั้งสามารถนำความรู้และกระบวนการคิดอย่างมีขั้นตอนไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและศึกษาต่อในระดังสูงอย่างมีประสิทธิภาพ

บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ดังต่อไปนี้ ครู/อาจารย์ นักวิชาการ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย นักการธนาคาร เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ นักวิเคราะห์ความเสี่ยง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://math.sci.tu.ac.th/?p=program&type=bsc_math

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์การจัดการ (ตรีควบโท)

เป็นหลักสูตรปริญญาตรีควบโท ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ผสมผสานระหว่างความรู้ทางการวิจัยดำเนินการ โดยใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ และความรู้ทางเทคโนโลยีการจัดการซึ่งเน้นหลักพื้นฐานทางวิทยาการการจัดการ ตลอดจนเพิ่มทักษะสหวิทยาการและภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงานทางด้านการจัดการ โดยเจาะลึกในการจัดระบบและวิเคราะห์การดำเนินการ

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานสายวิชาการ งานวิจัยในแผนกการวางแผนและพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน งานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในภาคการขนส่งหรือสายการบิน งานวิเคราะห์และจัดระบบการผลิต งานด้านการจัดการกระบวนการดำเนินงาน งานโครงข่ายการสื่อสารข้อมูล งานการจัดตารางการทำงานของการดำเนินงานในองค์กรต่างๆ เช่น การจัดตารางการทำงานของลูกเรือในสายการบิน การจัดตารางการหมุนเวียนของคนงาน หรืองานด้านการวิเคราะห์งบประมาณ การจัดการรายได้ การวิเคราะห์การลงทุน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://math.sci.tu.ac.th/?p=program&type=bsc_imma_special

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์

ศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและการประยุกต์ เพื่อนำทักษะไปใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางด้านคณิตศาสตร์โดยใช้การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล สามารถพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีขึ้น
ใหม่ รวมทั้งสามารถพัฒนาตนเอง นำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ดังต่อไปนี้ อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ งานด้านประกันภัย ประกันชีวิต ธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ งานด้านธนาคาร หรืออาชีพอื่นๆ ที่ใช้ทักษะความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://math.sci.tu.ac.th/?p=program&type=bsc_app_math

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา

ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎี หลักเกณฑ์ และวิธีการทางจิตวิทยาสาขาต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการทำความเข้าใจและวิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้เหตุผลวิเคราะห์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ในการดำรงชีวิตและการทำงาน และสามารถนำความรู้ทางจิตวิทยามาใช้ในการช่วยพัฒนาสุขภาวะของบุคคลและการอยู่ร่วมกันในสังคม

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพเป็นนักจิตวิทยา ทำงานบริการมนุษย์และสังคม เช่น นักแนะแนวในสถานศึกษา นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาการปรึกษา ทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ หรืออาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนําจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ เช่นนักการตลาด นักการสื่อสาร นักประชาสัมพันธ์ นักวางแผนและนโยบาย นักกระตุ้นพัฒนาการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://arts.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข (หลักสูตรต่อเนื่อง)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dentistry.tu.ac.th/Dentistry

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมและการแปรรูปดิจิทัล

ศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มสำคัญในอนาคตของการพัฒนาประเทศไทยเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ทั้งในเรื่อง Digital Transformation, Design Thinking, Cybersecurity, Business Analytics และ Creative Media โดยประกอบไปด้วยรายวิชาทั้งหมด 8 Module ได้แก่ การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ธุรกิจ นวัตกรรม และผู้ประกอบการ การแปรรูปดิจิทัล การตลาดดิจิทัล การคิดเชิงออกแบบ การวิเคราะห์ทางธุรกิจ ความมั่นคงทางไซเบอร์ประยุกต์ และประสบการณ์ผู้ใช้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://cio.citu.tu.ac.th/dx

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์

ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางกายภาพต่างๆทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งสามารถอธิบายหลักการทางทฤษฏีและทดลองปฏิบัติได้ โดยจะเน้นเรียนทางด้านกลศาสตร์ ไฟฟ้าแม่เหล็ก แสง และสมบัติต่างๆ ของสสาร ตลอดจนการคิดและวิเคราะห์ในส่วนของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการทดลองและงานวิจัยเพื่อก่อให้เกิดการสร้างเทคโนโลยีใหม่

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการหรือลูกจ้างในหน่วยงานอุตสาหกรรมของภาคเอกชน อาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sci.tu.ac.th/physics

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์

ศึกษาเกี่ยวกับฟิสิกส์และอิเล็กทรอนิกส์ โดยเน้นเรียนด้านอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ วงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น วงจรอนาล็อก วงจรดิจิตอล การสร้างเครื่องมือวัดต่างๆ ตลอดจนการสร้างตัวเซ็นเซอร์และทรานสดิวเซอร์ นอกจากนี้ยังเน้นเรียนทางด้านไมโครคอนโทรลเลอร์และการประยุกต์ใช้ในการสร้างหุ่นยนต์ขนาดเล็กและการควบคุมฮาร์ดแวร์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษาที่จบได้มีความชำนาญทางด้านคอมพิวเตอร์ด้วย

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยทางฟิสิกส์และฟิสิกส์ประยุกต์ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ หรือลูกจ้างในหน่วยงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของภาคเอกชน อาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sci.tu.ac.th/physics

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ

ศึกษาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ในการสำรวจพื้นที่ จัดทำแผนที่ และวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ และการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งสำหรับประกอบกิจกรรมต่างๆ เพื่อการวางแผนพัฒนาพื้นที่ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ทั้งในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศให้ดีขึ้น

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานเป็นอาจารย์ด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ นักวิชาการ นักวิจัยด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ เจ้าหน้าที่อ่าน ตีความ สำรวจและจัดทำแผนที่ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนพัฒนาพื้นที่

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://arts.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค

หลักสูตรนี้มุ่งผลิตนักรังสีเทคนิคที่มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน ทั้งด้านรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ตลอดจนพัฒนาบัณฑิตให้ก้าวทันเทคโนโลยีเพื่อประยุกต์ในการปฏิบัติงานรังสีเทคนิค สามารถจัดการระบบบริหารงานในส่วนที่เกี่ยวข้องในงานด้านรังสีเทคนิคได้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล มีทักษะในการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพทางการแพทย์ รวมทั้งมีทักษะในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยและผู้รับบริการอย่างเหมาะสม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักรังสีเทคนิค อาจารย์ นักวิจัยในสถาบันทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกระดับ ผู้ประกอบการ คลินิกรังสีเทคนิค ผู้แทนฝ่ายขาย ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ตามบริษัทจําหน่ายเครื่องมือทางรังสีวิทยา ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาสาขารังสีเทคนิคหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ประกอบอาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://allied.tu.ac.th/radiological-technology

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของวัสดุต่างๆ เช่น เซรามิกส์ เซรามิกส์ขั้นสูง พอลิเมอร์ วัสดุเชิงประกอบและโลหะ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้
ความสามารถทางด้านกระบวนการผลิตและพัฒนาวัสดุใหม่ๆ รวมถึงสามารถประยุกต์ใช้วัสดุให้
เหมาะสมกับงานด้านต่างๆ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักวิชาการ พนักงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการหรือลูกจ้างในหน่วยงานอุตสาหกรรมของภาคเอกชน อาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sci.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ และคอมพิวเตอร์กราฟิก เน้นการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับองค์กร โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนนำทักษะไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างเหมาะสม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิชาการสายวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ ผู้ประสานงานโครงการซอฟต์แวร์ นักพัฒนาเว็บไซต์ นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้วิทยาการคอมพิวเตอร์ แอนิเมเตอร์ (Animator) นักพัฒนาเกม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.cs.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการประกันภัย

วิทยาการประกันภัยเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ทางคณิตศาสตร์และสถิติ การวิเคราะห์และจัดการเหตุการณ์ความเสี่ยงต่างๆ เช่น ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ภัยธรรมชาติ เป็นต้น ให้เป็นเหตุเป็นผลในรูปของการเงิน โดยใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ซึ่งในชีวิตประจำวันของเรานั้นเกี่ยวข้องกับ ความไม่แน่นอนและความเสี่ยงภัยอยู่เสมอคณิตศาสตร์ประกันภัยจึงเปรียบเสมือนเครื่องมือสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวให้กับตัวบุคคลรวมถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศ

จากการเปิดเสรีทางสินค้าและบริการการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ส่งผลให้เกิดความต้องการบุคลากรประกันภัยที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิทยาการประกันภัยจึงสอดคล้องกับความต้องการทรัพยากรบุคคลด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยของทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนเพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆในการพัฒนาประเทศและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศนอกจากนี้ยังเป็นการขยายโอกาสให้กับผู้ที่มีความสนใจสายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การประกันชีวิตการประกันวินาศภัยบริษัทให้คำปรึกษาด้านการเงิน เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://math.sci.tu.ac.th/?p=program&type=bsc_asci_special

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

ศึกษาเกี่ยวกับการออกกำลังกาย การนำความรู้ทางด้านร่างกายของมนุษย์ การเคลื่อนไหว รวมถึงวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยีทางการกีฬามาใช้ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพและทักษะทางการกีฬาให้แก่บุคคลทั่วไปและนักกีฬา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักวิจัย ผู้ฝึกนักกีฬา ผู้ให้คำแนะนำการออกกำลังกายในสถานประกอบการทางสุขภาพ พนักงานรัฐในส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานวิทยาศาสตร์การกีฬา

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://allied.tu.ac.th/sport-science

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งที่เกี่ยวกับ
พื้นฐาน ทฤษฎี หลักการ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการ รวมถึงเทคนิค
วิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานของการเสริมสร้างคุณธรรม
และจริยธรรมสำหรับการเป็นนักวิชาการและการดำรงชีวิตในสังคม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมหรืออาจารย์ นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการหรือลูกจ้างตามสถานประกอบการ และอาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sci.tu.ac.th/dep/environmental-science

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการบริหารจัดการ โดยแบ่งออกเป็นสามกลุ่มวิชาเฉพาะ ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ เคมีประยุกต์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

เมื่อเรียนจบบัณฑิตสามารถประกอบอาชีพได้เทียบเคียงกับผู้ที่จบสาขาเคมี เทคโนโลยีชีภาพ หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โดยเน้นทางด้านอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังสามารถประกอบกิจการส่วนตัวหรือกิจการร่วมทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมีทางเลือกในการทำงานกับกลุ่มบริษัทธุรกิจระดับนานาชาติที่หลากหลาย เช่น ปิโตรเคมี อาหารและยา เครื่องสำอาง เทคโนโลยีชีวภาพ และเคมีภัณฑ์ต่างๆ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sci.tu.ac.th/dep/isc-tu

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล

หลักสูตรนี้เกิดขึ้นจากการบูรณาการความรู้ทั้งคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ และนวัตกรรม เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในยุคดิจิทัล ผ่านเทคนิคและเครื่องมือทางปัญญาประดิษฐ์เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมจากข้อมูลเพื่อใช้ในการสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจและลูกค้า หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนเป็น module โดยทุก module จะมีความร่วมมือกับอุตสาหกรรม เพื่อประสบการณ์การเรียนรู้จริงจากปัญหาและความต้องการของธุรกิจ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิเคราะห์ข้อมูล นักวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ วิศวกรข้อมูล และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

 

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหาร

เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ที่มีสมรรถนะสูงในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารด้วยนวัตกรรม มีความพร้อมที่จะเป็นนักนวัตกรรมอาหารที่มีความรู้ความชำนาญทางวิชาชีพตามมาตรฐานสากลและข้อกำหนดของสภาวิชาการอุตสาหกรรมเกษตร ผ่านการฝึกฝนความชำนาญในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ควบคู่กับการฝึกฝนทักษะที่นอกเหนือจากวิชาชีพด้านกระบวนการคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมอาหาร การวิเคราะห์ปัญหาทางอุตสาหกรรมอาหาร การพัฒนาภาวะผู้นำ การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และการเรียนรู้ทักษะสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจอาหาร

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่วิจัย วิเคราะห์ตรวจสอบ วางแผน และกำกับนโยบายทางด้านอาหารในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือทำงานกับโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม หรือครัวของสายการบินในตำแหน่งงานควบคุมการผลิต การวางแผนกำลังคน วางแผนการผลิต การจัดซื้อ การวิเคราะห์ตรวจสอบ การประกันคุณภาพ การสุขาภิบาลและความปลอดภัยของอาหาร และการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว ทั้งในรูป SMEs หรือ โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ธุรกิจการนำเข้าและจำหน่ายสารปรุงแต่งอาหาร อุปกรณ์การวิเคราะห์ทดสอบอาหาร เครื่องมือและเครื่องจักรกลการผลิตอาหาร ธุรกิจจำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.fin.sci.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในด้านต่างๆ เช่น การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร เคมีอาหาร จุลชีววิทยาอาหาร และการประกันคุณภาพอาหาร โดยเป็นสาขาวิชาที่นำความรู้
ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การตลาดและการจัดการ มาบูรณาการให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศ

บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เช่น การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารในด้านการวางแผนการผลิต การควบคุมการผลิต การควบคุมและประกันคุณภาพ การสุขาภิบาลและความปลอดภัยของอาหาร หรือทำงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น การขาย การวิจัย การวิเคราะห์อาหาร และการกำหนดมาตรฐานอาหาร เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sci.tu.ac.th/dep/food-science

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ

ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งทอ เคมีสิ่งทอ เทคโนโลยีสิ่งทอ รวมถึง
กระบวนการผลิต การตกแต่งสำเร็จ กระบวนการควบคุมคุณภาพ การจัดการและ
บริหารงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาวัสดุสิ่งทอ นักบริหารจัดการด้านการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน เสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ นักเคมีในอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสำเร็จ นักวิเคราะห์และทดสอบวัสดุสิ่งทอ นักธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุสิ่งทอ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sci.tu.ac.th/dep/textile-science

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม

ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมของอาคาร เทคโนโลยีอาคาร การนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานสถาปัตยกรรม การประยุกต์วิชาการพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม และวิทยาการจัดการ เพื่อให้กระบวนการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมมีความทันสมัยสอดคล้องกับสังคมยุคใหม่

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ สถาปนิก นักวิจัย นักบริหารจัดการและควบคุมงาน ก่อสร้าง นักบริหารจัดการทรัพยากรอาคารสถานที่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหรือเทคโนโลยีสารสนเทศในงานสถาปัตยกรรม นักออกแบบสร้างสรรค์ในด้านอื่นๆ ฯลฯ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tds.tu.ac.th/programs-ar/

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และการบริหารธุรกิจ ในลักษณะของการบูรณาการ เน้นประยุกต์วิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับวิชาการด้านวิทยาการจัดการและบริหารธุรกิจ เป็นหลักสูตรที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนรู้ เนื่องจากองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ มาจากต่างประเทศ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ สถาปนิก นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นักบริหารธุรกิจ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tds.tu.ac.th/programs-rd/

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ

ศึกษาเกี่ยวกับสถิติทั้งภาคทฤษฎีและภาคประยุกต์ 
โดยมุ่งเน้นพัฒนาให้นักศึกษาสามารถประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลในงานสถิติหรืองานที่ต้องอาศัยสถิติเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญและมีความจำเป็นในการศึกษาวิจัยเกือบ ทุกสาขาวิชา โดยเฉพาะศาสตร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลหรือตัวเลข

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักสำรวจและนักวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ นักวิเคราะห์วางแผน วิจัย และประมวลผล โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ งานด้านประกันชีวิตและประกันวินาศภัย นักสถิติการศึกษา งานอื่นๆ ที่ต้องใช้สถิติหรือคณิตศาสตร์ เช่น งานด้านการพยากรณ์ การควบคุมคุณภาพสินค้า เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://math.sci.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ 

ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยบูรณาการหลักวิชาการต่างๆ เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของประชาชนทั้งในระดับบุคคล ชุมชนและสังคม ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่กำหนดภาวะสุขภาพ วางแผน ออกแบบกิจกรรม ดำเนินการ และติดตามประเมินผลโครงการ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://fph.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัย สิ่งแวดล้อม

ศึกษาเกี่ยวกับการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่เชื่อมโยงสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ ตลอดจนแนวทางการแก้ไข การป้องกัน และควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมประเภทต่างๆ ที่ก่อให้ เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสุขาภิบาล นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์ นักอนามัยสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมในบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและสถานประกอบการด้านอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://fph.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยชุมชน

ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพและศิลปะในการทำงานร่วมกับชุมชน บุคคลากรสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อประเมินสถานการณ์ ติดตาม กำกับสถานะด้านสุขภาพของประชากรและปัจจัยกำหนด ขับเคลื่อนการพัฒนาและการสร้างชุมชนสุขภาพดีด้วยทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงระบบ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิชาการสาธารณสุขหรือนักวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้อง นักพัฒนาชุมชน นักพัฒนาองค์กรเอกชน ผู้ช่วยวิจัยหรือนักวิจัยในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://fph.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ศึกษาเกี่ยวกับการประเมินและควบคุมปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนการควบคุมอุบัติเหตุ เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพมีสุขภาพที่ดีและความปลอดภัย ไม่เกิดความเจ็บป่วย โรค หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม นักอาชีวอนามัย นักวิชาการด้านสาธารณสุข/ แรงงาน/ สิ่งแวดล้อม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://fph.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาเคมีสาขาต่างๆ คือ เคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์
เคมีวิเคราะห์ เคมีฟิสิกส์ รวมทั้งวิชาทางเคมีประยุกต์ต่างๆ เช่น ด้านโพลิเมอร์ ปิโตรเคมี เคมีอุตสาหกรรม เคมีการกัดกร่อน โดยเน้นการให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

บัณฑิตสามารถประกอบวิชาชีพได้หลากหลาย เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักเคมีประจำห้องปฏิบัติการทดสอบ ห้องปฏิบัติการวิจัยและโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการในหน่วยงานต่างๆ เป็นอาจารย์ระดับมัธยมศึกษา พนักงานขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีหรืออุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sci.tu.ac.th/dep/chemistry

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ เพื่อการวินิจฉัย การติดตามการรักษา การพยากรณ์โรค การป้องกันโรค และการประเมินภาวะสุขภาพ รวมถึงส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์

บัณฑิตสาขานี้เมื่อสอบขึ้นทะเบียนการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์จากสภาเทคนิคการแพทย์ จะสามารถปฏิบัติงานเป็นนักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ ผู้แทนขายเครื่องมืออุปกรณ์และน้ำยาทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://allied.tu.ac.th/medical-technology

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรของสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ เป็นการผสาน 3 สาขาวิชาหลักคือ การบริหารและการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม เพื่อที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการองค์กรทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ นักศึกษาจะสามารถเลือกกลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้านตามความสนใจได้ดังต่อไปนี้ 1. การจัดการระบบสารสนเทศ (Management Information Systems: MIS) 2. การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management: SCM)

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานด้านการวางแผน บริหาร และประสานงานในภาคธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาเฉพาะด้านที่เลือกศึกษา งานวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบสารสนเทศภายในองค์กร หรือเป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในแนวทางเดียวกัน และส่งผลให้โครงการต่างๆ สามารถดำเนินไปได้ด้วยดี

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.siit.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตร ทั้งการผลิตพืชและผลิตสัตว์ โดยมีความพิเศษอยู่ที่การบูรณาการศาสตร์ทางด้านการเกษตรในทุกสาขาวิชาอย่างครบถ้วน และมีการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกเรียนในสาขาเทคโนโลยีการผลิตพืชหรือสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ได้ตามความสนใจ รวมทั้งมีการสอนภาคบรรยายควบคู่ไปกับภาคปฏิบัติทั้งในห้องปฏิบัติการและศูนย์เกษตรธรรมศาสตร์

บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตร ทั้งในภาครัฐและเอกชน เช่น อาจารย์ รับราชการในกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิชาการเกษตร นักวิจัย พนักงานบริษัททางด้านการเกษตร เกษตรกร หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sci.tu.ac.th/dep/agricultural-technology

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพอย่างครบวงจร ตั้งแต่
ความสามารถในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุกรรมพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ 
การพัฒนากระบวนการผลิตสารชีวภาพต่างๆ อาทิ เช่น ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมชีวภาพ เป็นต้น อีกทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการ
สร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิง
พาณิชย์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ ลูกจ้างตามสถานประกอบการ อาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.biot.sci.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการบูรณาการศาสตร์ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และศิลปะเข้าด้วยกัน เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ แบบจำลอง และงานสร้างสรรค์รูปแบบต่างๆ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแสดงภาพเคลื่อนไหว การจำลองปรากฏการณ์และการสร้างเกม ภายในหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 สาขา ได้แก่ การจำลองการโต้ตอบแบบดิจิทัล และวิศวกรรมและการออกแบบเกม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบจำลองและเกม นักออกแบบเกม นักพัฒนาเครื่องมือและเกมเอนจิ้น นักออกแบบประสบการณ์ของผู้เล่นเกม ผู้จัดการโครงการเกม นักวิจัยสำหรับงานวิจัยที่ต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมีเดีย นักออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านกราฟิกส์ นักสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ วิศวกรควบคุมคุณภาพซอฟต์แวร์ นักพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sci.tu.ac.th/dep/cdt-idd

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางคลินิก (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.cicm.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพ

เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตนักเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ผ่านการเรียนรู้แบบบูรณาการใน 3 สาขาวิชา คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เคมี และพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงฝึกประสบการณ์กับสถานประกอบการจริงเป็นเวลา 1 ปีการศึกษา เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะการแก้ปัญหาระหว่างกระบวนการผลิตในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักเทคโนโลยีในสถานประกอบการ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ อาจารย์ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน อาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.beb.sci.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับ
การนำคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ระบบเครือข่าย ระบบสื่อสารทางไกล ไปประยุกต์ใช้ในงานบริการสารสนเทศต่างๆ งานระบบเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต งานระบบจักรกล
ฝังตัวแบบเรียลไทม์ งานบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์และระบบงาน นักสารสนเทศในระบบคอมพิวเตอร์ธุรกิจและอุตสาหกรรม ผู้ออกแบบและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลและระบบเครือข่าย นักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประยุกต์ใช้งาน นักพัฒนาโปรแกรมควบคุมไมโครโปรเซสเซอร์ นักพัฒนาระบบสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับหน่วยงานต่างๆ นักธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.siit.tu.ac.th

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.cicm.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน

ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อ
การพัฒนาท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาและ
จัดการเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถบูรณาการความรู้เชิงสหวิทยาการทางเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ คัดเลือก ให้คำแนะนำ และบริหารจัดการเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น ทางด้านงานโยธา-ผังเมือง 
การจัดการทรัพยากร การเกษตร และพลังงาน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ นักวิจัยและนักวิชาการด้านการพัฒนาชนบท พนักงานราชการ พนักงานท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ พนักงานบริษัท หรืออาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sci.tu.ac.th/dep/rural-technology

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการทำงานของ คอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์และการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ การออกแบบและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ ระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ระบบฐานข้อมูล เทคโนโลยีการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเชิงวัตถุ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกรคอมพิวเตอร์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน นักเขียนโปรแกรมหรือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย ผู้จัดการโครงการ นักพัฒนาเว็บไซต์ ผู้จัดการซอฟต์แวร์ หัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์หรือผู้บริหารหน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ตำแหน่งงานอื่น ๆ ที่มีการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.ece.engr.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ครอบคลุมทุกแง่มุมของระบบคอมพิวเตอร์เช่น ระบบเครือข่าย และระบบการสื่อสาร รวมถึงการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในด้าน
ต่างๆ นอกจากนี้ยังสอนให้เข้าใจในแก่นแท้ของเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ ที่จะนำไปสู่
การสร้างสรรค์ออกแบบคอมพิวเตอร์และออกแบบโปรแกรมที่ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญออกแบบระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ นักพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบและผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์และระบบงาน ผู้ออกแบบและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลและระบบเครือข่าย นักคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศเพื่องานธุรกิจและอุตสาหกรรม นักวิจัยและพัฒนาวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อการประยุกต์ใช้งาน ที่ปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์ให้กับหน่วยงานต่างๆ ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.siit.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

ศึกษาเกี่ยวกับการผลิตซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในการนำหลักการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์และการจัดการโครงการซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาชีพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกรซอฟต์แวร์หรือนักเขียนโปรแกรม นักวิเคราะห์ระบบหรือนักออกแบบระบบ วิศวกรความต้องการ นักประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ วิศวกรปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ นักทดสอบระบบ  สถาปนิกซอฟต์แวร์  นักบูรณาการระบบ ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://tupine.engr.tu.ac.th/course.php?id=6

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาการด้านวิศวกรรมศาสตร์หลายแขนง ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยเน้นการบูรณาการความรู้ต่างๆ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงได้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความสามารถในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรมยานยนต์ และสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิจัย อาจารย์ วิศวกรยานยนต์ โดยสามารถทำงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การออกแบบชิ้นส่วน การออกแบบระบบใน และการควบคุมกระบวนการผลิตยานยนต์ เป็นต้น วิศวกรเครื่องกล โดยสามารถออกแบบ ควบคุม และซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ควบคุมการผลิตและกระบวนการต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม ออกแบบและควบคุมงานระบบต่างๆ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบการลำเลียงน้ำในอาคาร รวมทั้งวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงงาน อาคาร และหน่วยงานต่างๆ ได้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tep.engr.tu.ac.th/autoTu.php?cid=33&cname=AUTO-TU

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิคส์และการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการใช้วัสดุทางไฟฟ้า
สัญญาณไฟฟ้าและปรากฏการณ์ทางไฟฟ้า ในการทำให้บุคคลที่อยู่ต่างสถานที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ระบบสื่อสารต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ รวมไปถึงโครงข่ายคอมพิวเตอร์ โดยหลักสูตรประกอบด้วยหมวดวิชาต่างๆ ดังนี้ วิชาด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เช่น วงจรไฟฟ้า วงจรอิเล็กทรอนิกส์ วิชาด้านการสื่อสารและโครงข่ายเชื่อมโยง วิชาด้านโซลิดสเตทและอิเล็กทรอนิกส์ และวิชาด้านเครื่องมือวัด ระบบควบคุมและแมค คาทรอนิกส์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกรทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร โทรคมนาคม และไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น งานวิจัยและพัฒนา งานวิเคราะห์และออกแบบ งานผลิตและบำรุงรักษา เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.siit.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตแบบต่างๆ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในงานอุตสาหกรรม การออกแบบและวางผังโรงงาน วัสดุศาสตร์ในงานอุตสาหกรรม การวางแผน และการควบคุมการผลิต เทคนิคและระบบควบคุมคุณภาพ การศึกษาการทำงาน การวิจัยดำเนินงาน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม หลักการยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรม หลักการวิเคราะห์ต้นทุน งบประมาณและโครงการอุตสาหกรรม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกรภาคการผลิต วิศวกรภาคการบริการ ผู้วิจัย หรือผู้ช่วยวิจัย นักวิเคราะห์และออกแบบระบบการทำงาน งานด้านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ งานด้านการเงิน งานด้านการวางแผนการผลิต

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.ie.engr.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (ภาคภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี กรรมวิธีการผลิต และการบริหารจัดการทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ โดยแบ่งเนื้อหาการเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มความรู้ด้านวัสดุและกระบวนการผลิต กลุ่มความรู้ด้านระบบงานและความปลอดภัย กลุ่มความรู้ด้านระบบคุณภาพ กลุ่มความรู้ด้านการจัดการการผลิตและดำเนินงาน กลุ่มความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน และกลุ่มความรู้ด้านการบูรณาการวิธีการทางวิศวกรรมอุตสาหการ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกรในส่วนต่างๆ ของภาคการผลิตและภาคบริการ นักวิจัยหรือผู้ช่วยวิจัย นักวิเคราะห์และออกแบบระบบการทำงาน งานด้านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ งานด้านการเงิน งานด้านการวางแผนการผลิต

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tep.engr.tu.ac.th/tepe.php?cid=32&cname=TEPE

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (ภาคภาษาอังกฤษ) (สองสถาบัน)

หลักสูตรร่วมกับ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ (Nottingham & New South Wales)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสองสถาบัน 
(Twinning Engineering Programmes : TEP)

1. ศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นเวลา 2 ปี 
(ห้าภาคการศึกษา) แล้วไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งน็อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 2 ปี

2. ศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นเวลา 2 ปี แล้วไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เป็นเวลา 2 ปี

ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตแบบต่างๆ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในงานอุตสาหกรรม การออกแบบและวางผังโรงงาน วัสดุศาสตร์ในงานอุตสาหกรรม การวางแผน และการควบคุมการผลิต เทคนิคและระบบควบคุมคุณภาพ การศึกษาการทำงาน การวิจัยดำเนินงาน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม หลักการยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรม หลักการวิเคราะห์ต้นทุน งบประมาณและโครงการอุตสาหกรรม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tep.engr.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (ภาคภาษาอังกฤษ) (สองสถาบัน)

หลักสูตรร่วมกับ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ (Nottingham & New South Wales)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสองสถาบัน 
(Twinning Engineering Programmes : TEP)

1. ศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นเวลา 2 ปี 
(ห้าภาคการศึกษา) แล้วไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งน็อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 2 ปี

2. ศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นเวลา 2 ปี แล้วไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เป็นเวลา 2 ปี

ศึกษาเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานและการออกแบบทางวิศวกรรมโยธา ซึ่งครอบคลุมถึงเนื้อหาด้านการวิเคราะห์และการออกแบบโครงสร้าง การวางแผนและการบริหารโครงการก่อสร้าง การพัฒนาคุณสมบัติวัสดุสำหรับการก่อสร้าง การศึกษาด้านธรณีเทคนิคสำหรับวิศวกรรมโยธา การศึกษาพัฒนา
และการจัดการระบบแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tep.engr.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ในการผลิตและการจัดการ ในส่วนของการผลิตนั้นจะศึกษาการออกแบบสินค้า กระบวนการผลิต เครื่องมือหรืออุปกรณ์ และการวัดละเอียด เป็นต้น ส่วนด้านการจัดการ จะศึกษาการจัดการองค์กร การควบคุมคุณภาพสินค้า การวางแผนและการควบคุมการผลิต การจัดส่ง เป็นต้น

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ งานในภาคเอกชน เช่น วิศวกรการผลิต วิศวกรฝ่ายวางแผนการผลิต รวมไปถึงงานในระดับผู้บริหารที่ต้องการทักษะทางด้านวิศวกรรม งานในภาครัฐบาล เช่น อาจารย์หรือนักวิจัยประจำในมหาวิทยาลัย และวิศวกรประจำองค์กรภาครัฐ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น งานด้านอื่นๆ ที่ต้องอาศัยความรู้ทางด้านนี้ประกอบด้วย เช่น ที่ปรึกษาบริษัท วิศวกรฝ่ายขาย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.siit.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

ศึกษาเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานและการออกแบบอุปกรณ์ทางด้านวิศวกรรมเคมี ซึ่งเกี่ยวกับการถ่ายโอนโมเมนตัม การถ่ายโอนมวล การถ่ายโอนความร้อน หลักการทางเทอร์โมไดนามิกส์และจลนศาสตร์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกรกระบวนการผลิต วิศวกรออกแบบกระบวนการผลิต นักวิชาการในองค์กรราชการและเอกชน นักวิเคราะห์โครงการ ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและกระบวนการทางเคมี วิศวกรความปลอดภัยกับงานสิ่งแวดล้อม นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมี และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.che.engr.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (ภาคภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาวิศวกรรมเคมี ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยหลักสูตรมุ่งเน้นพัฒนาทักษะ ความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน และเน้นการบูรณาการความรู้ต่างๆ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง นอกจากนี้ยังมุ่งพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการทำงานเป็นกลุ่มโดยอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกรกระบวนการผลิต วิศวกรออกแบบกระบวนการผลิต นักวิชาการในองค์กรราชการและเอกชน นักวิเคราะห์โครงการ ผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับสารเคมีและกระบวนการทางเคมี วิศวกรความปลอดภัยกับงานสิ่งแวดล้อม นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมี และเครื่องมือวิเคราะห์ต่าง ๆ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tep.engr.tu.ac.th/tepe.php?cid=32&cname=TEPE

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (ภาคภาษาอังกฤษ) (สองสถาบัน)

หลักสูตรร่วมกับ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ (Nottingham & New South Wales)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสองสถาบัน 
(Twinning Engineering Programmes : TEP)

1. ศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นเวลา 2 ปี 
(ห้าภาคการศึกษา) แล้วไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งน็อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 2 ปี

2. ศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นเวลา 2 ปี แล้วไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เป็นเวลา 2 ปี

ศึกษาเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานและการออกแบบอุปกรณ์ทางด้านวิศวกรรมเคมี ซึ่งเกี่ยวกับการถ่ายโอนโมเมนตัม การถ่ายโอนมวล การถ่ายโอนความร้อน หลักการทางเทอร์โมไดนามิกส์และจลนศาสตร์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tep.engr.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีทางเคมี
และชีวภาพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในการตอบสนองความต้องการในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นความต้องการยาที่มีประสิทธิภาพ
ในการรักษาโรค สารกึ่งตัวนำที่มีประสิทธิภาพสูงในระบบสื่อสาร อวัยวะเทียมที่ผู้ป่วยหาใช้ได้ทันที น้ำมันที่มีราคาถูก น้ำสะอาดที่ปลอดภัย สิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่อาศัย ตลอดจนวัสดุพอลิเมอร์ที่ใช้
อย่างหลากหลาย

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกรในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตต่างๆ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
เคมีภัณฑ์ พลังงาน วัสดุศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม รับราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิต หรือเคมีภัณฑ์ เทคโนโลยีพลังงาน วัสดุศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ดำเนินกิจการส่วนตัวเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กที่ผลิตสินค้าต่างๆ เรียนต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.siit.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องยนต์ พลังงานในรูปแบบต่างๆ การแปรรูปพลังงาน การออกแบบระบบทางกล เช่น การถ่ายเทความร้อน การทำความเย็นและการปรับอากาศ การออกแบบเครื่องจักรกลระบบการควบคุม อัตโนมัติและเทคโนโลยียานยนต์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกรภาคการผลิต วิศวกรภาคการบริการ ผู้วิจัย หรือผู้ช่วยวิจัย นักวิเคราะห์และออกแบบระบบการทำงาน งานด้านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ งานด้านการเงิน งานด้านการวางแผนการผลิต

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.me.engr.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (ภาคภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิศวกรรมเครื่องกลซึ่งเกี่ยวข้องกับวิทยาการหลายแขนง ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มความรู้ด้านการออกแบบเชิงกล กลุ่มความรู้ด้านอุณหศาสตร์และของไหล และกลุ่มความรู้ด้านระบบพลศาสตร์และการควบคุม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิจัย อาจารย์ วิศวกรเครื่องกล โดยสามารถออกแบบควบคุมและซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ควบคุมการผลิตและกระบวนการต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม ออกแบบและควบคุมงานระบบต่างๆ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบการลำเลียงน้ำในอาคาร รวมทั้งวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงงาน อาคาร และหน่วยงานต่างๆ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tep.engr.tu.ac.th/tepe.php?cid=32&cname=TEPE

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (ภาคภาษาอังกฤษ) (สองสถาบัน)

หลักสูตรร่วมกับ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ (Nottingham & New South Wales)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสองสถาบัน (Twinning Engineering Programmes : TEP)

1. ศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นเวลา 2 ปี 
(ห้าภาคการศึกษา) แล้วไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งน็อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 2 ปี

2. ศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นเวลา 2 ปี แล้วไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เป็นเวลา 2 ปี

ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องยนต์ พลังงานในรูปแบบ
ต่างๆ การแปรรูปพลังงาน การออกแบบระบบทางกล เช่น การถ่ายเทความร้อน 
การทำความเย็นและการปรับอากาศ การออกแบบเครื่องจักรกล ระบบการควบคุมอัตโนมัติ และเทคโนโลยียานยนต์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tep.engr.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต และการบำรุงรักษาระบบ เช่น ระบบสาธารณูปโภค กระบวนการผลิตทุกประเภท การใช้วัสดุ การทำเหมืองแร่ ยานพาหนะ
ภาคอากาศและพื้นดินและระบบพลังงาน อุตสาหกรรมใดที่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือจะต้องเกี่ยวข้องกับสาขานี้ สาขาวิชานี้มุ่งเน้นพัฒนาให้นักศึกษามีวิสัยทัศน์ในด้านวิศวกรรม มีความสามารถในการวางแผนและจัดการเทคโนโลยีล่าสุด โดยเน้นในสองสาขา คือสาขาที่เกี่ยวกับกลไกเครื่องกลทั่วๆ ไป และการประยุกต์ทางด้านเครื่องกล และการจัดการพลังงาน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ งานวางแผน ออกแบบ ประดิษฐ์ ผลิต ควบคุม พัฒนา วิเคราะห์และตรวจสอบเครื่องกลต่างๆ เช่น นักออกแบบด้านเครื่องกล และระบบพลังงานนักประดิษฐ์ 
นักวิเคราะห์ นักวางแผน นักพัฒนาระบบ วิศวกรด้านต่างๆ เช่น วิศวกรคุณภาพ วิศวกรการผลิต วิศวกรพลังงาน เป็นต้น งานสอน วิจัย และฝึกอบรม ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล เช่น อาจารย์ นักวิจัย นักฝึกอบรม งานให้คำปรึกษาทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล และงานบริหาร เช่น ที่ปรึกษา
สถาบันหน่วยงานต่างๆ ผู้จัดการบริษัท ผู้จัดการโครงการ และผู้จัดการโรงงาน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.siit.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

ศึกษาเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานและการออกแบบทางวิศวกรรมโยธา ซึ่งครอบคลุมถึงเนื้อหาด้านการวิเคราะห์และการออกแบบโครงสร้าง การวางแผนและการบริหารโครงการก่อสร้าง การพัฒนาคุณสมบัติวัสดุสำหรับ การก่อสร้าง การศึกษาด้านธรณีเทคนิคสำหรับวิศวกรรมโยธา การศึกษาพัฒนา และการจัดการระบบแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกร นักวิชาการ ที่ปรึกษาโครงการ ผู้บริหารโครงการ นักวิจัย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.ce.engr.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (ภาคภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรมโยธา เช่น การออกแบบ กฎระเบียบ และการก่อสร้างสมัยใหม่ รวมถึงการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อการจราจรอันเนื่องมาจากพัฒนาที่ดิน โดยมุ่งพัฒนาให้นักศึกษามีความสามารถในการรับทราบและแยกแยะข้อมูลด้วยเหตุและผล สามารถวิเคราะห์ข้อมูลในหลายๆ ด้านเพื่อจำแนกผลดีผลเสียก่อนที่จะทำการสรุปและตัดสินใจ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกร นักวิชาการ ที่ปรึกษาโครงการ ผู้บริหารโครงการ นักวิจัย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tep.engr.tu.ac.th/tepe.php?cid=32&cname=TEPE

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่เดิมและการสร้างและใช้สิ่งก่อสร้าง ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การวิเคราะห์ การก่อสร้างหรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงการจัดการและการบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่เดิม ตัวอย่างงานทางด้านวิศวกรรมโยธา เช่น งานออกแบบก่อสร้างและบำรุงรักษาสะพาน เส้นทางรถไฟฟ้า สนามบิน ท่าเรือ เขื่อน ถนน อาคารสูง บ้าน เป็นต้น

หลังจบการศึกษาบัณฑิตสามารถเลือกทำงานในสายงานด้านวิศวกรรมโยธาที่แตกต่างกันมากมาย 
เนื่องจากวิศวกรรมโยธาเป็นสาขาที่ค่อนข้างกว้าง เช่น งานทางด้านโครงสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน วัสดุก่อสร้าง การจราจรและขนส่ง แหล่งน้ำ การจัดการโครงการ และอื่นๆ โดยลักษณะงานที่ทำมีทั้งงานในสำนักงานและงานที่ต้องออกหน้างาน นอกจากนี้ยังมีงานประเภทงานวิจัยและพัฒนาอีกด้วย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.siit.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง (ตรีควบโท)

ศึกษาในลักษณะสหวิทยาการ โดยบูรณาการและเชื่อมต่อองค์ความรู้ทางวิศวกรรมโยธาและพาณิชยศาสตร์เข้าด้วยกัน  เพื่อผลิตวิศวกรที่มีความรู้และความสามารถในการประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกรออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง วิศวกรด้านการบริหารและการควบคุมการก่อสร้าง วิศวกรด้านสำรวจการรังวัดและการจัดทำผังเมือง วิศวกรออกแบบและดูแลระบบผลิตน้ำประปาและระบบบำบัดน้ำเสียประจำโรงงานและอาคารต่างๆ วิศวกรสำรวจและบริหารงานด้านแหล่งน้ำและอุทกวิทยา วิศวกรออกแบบและดูแลระบบไฮเวย์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://tupine.engr.tu.ac.th/course.php?id=8

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

ศึกษาเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานและการออกแบบ ทางวิศวกรรมไฟฟ้า เช่น การแปลงพลังงานกล-ไฟฟ้า การผลิตกระแสไฟฟ้า การออกแบบระบบไฟฟ้า การวิเคราะห์และการออกแบบระบบสื่อสารและโทรคมนาคม การประมวลสัญญาณและข้อมูล การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์และระบบ คอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ และการออกแบบระบบควบคุม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกรไฟฟ้า นักวิจัย นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ผู้จัดการโครงการ ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.ece.engr.tu.ac.th

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ภาคภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้า ทั้งทางทฤษฎีและการคิดออกแบบการประยุกต์ใช้งาน และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เลือกเรียนในสาขาวิชาที่หลากหลายตามความต้องการในสาขาย่อย ได้แก่ การสื่อสารและประมวลผลสัญญาณ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้ากำลัง และระบบควบคุม เพื่อผลิตวิศวกรไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเทคโนโลยีและพลังงาน

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานกับบริษัททางด้านระบบไฟฟ้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์ วิทยุดาวเทียม บริษัทผู้ผลิตแผงวงจรไฟฟ้าวงจรหรือชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า ผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ การไฟฟ้าฯ ทั้งส่วนนครหลวงและภูมิภาค

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tep.engr.tu.ac.th/tepe.php?cid=32&cname=TEPE

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ภาคภาษาอังกฤษ) (สองสถาบัน)

หลักสูตรร่วมกับ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ (Nottingham & New South Wales)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสองสถาบัน 
(Twinning Engineering Programmes : TEP)

1. ศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นเวลา 2 ปี 
(ห้าภาคการศึกษา) แล้วไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งน็อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 2 ปี

2. ศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นเวลา 2 ปี แล้วไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เป็นเวลา 2 ปี

ศึกษาเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานและการออกแบบ
ทางวิศวกรรมไฟฟ้า เช่น การแปลงพลังงานกล-ไฟฟ้า การผลิตกระแสไฟฟ้า การออกแบบระบบไฟฟ้า การวิเคราะห์และการออกแบบระบบสื่อสารและโทรคมนาคม การประมวลสัญญาณและข้อมูล การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์และระบบ
คอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ และการออกแบบระบบควบคุม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tep.engr.tu.ac.th

 

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ (ตรีควบโท)

ศึกษาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ควบคู่ไปกับการเสริมทักษะด้านวิศวกรรมอุตสาหการ กระบวนการและระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบการผลิต การปรับปรุงประสิทธิภาพ และการบริหารจัดการอุตสาหกรรม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกรไฟฟ้าหรือวิศวกรอุตสาหการ นักวิจัย นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอุตสาหการ ผู้จัดการโครงการ ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอุตสาหการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.ipen.engr.tu.ac.th/course_bachelor.php

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ (พัทยา)

ศึกษาเกี่ยวกับยานยนต์ทั้งในด้านความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีและทักษะภาคปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ต่างๆ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงได้ รวมถึงมุ่งพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการทำงานเป็นกลุ่ม เพราะวิศวกรรมยานยนต์เป็นสาขาที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาการหลายแขนง บัณฑิตจึงต้องสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งวิศวกรและบุคคลในวิชาชีพอื่นได้เป็นอย่างดี

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิจัย อาจารย์  วิศวกรยานยนต์ เช่น การออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ การออกแบบระบบในยานยนต์ และการควบคุมกระบวนการผลิตยานยนต์ เป็นต้น วิศวกรเครื่องกลโดยสามารถออกแบบ ควบคุม และซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ควบคุมการผลิตและกระบวนการต่างๆ ใน โรงงานอุตสาหกรรม ออกแบบและควบคุมงานระบบต่างๆ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบการลำเลียงน้ำในอาคาร รวมทั้งวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงงาน อาคาร และหน่วยงานต่างๆ ได้ 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.engr.tu.ac.th/

ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการละคอน

ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการละคอน วรรณกรรมการละคอนของไทย 
ตะวันตก และตะวันออก การวิเคราะห์วิจารณ์การแสดงหรือละคอนประเภทต่างๆ นอกจากนี้นักศึกษายังจะได้ฝึกปฏิบัติในศิลปะการละคอนแขนงต่างๆ ได้แก่ การแสดง การกำกับการแสดง การออกแบบและสร้างฉาก เครื่องแต่งกาย
สำหรับการละคอน การควบคุมแสงเสียง เป็นต้น

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพด้านงานศิลปะการละคอน การกำกับการแสดงละครเวที 
โทรทัศน์ การออกแบบควบคุมแสง เสียง เทคนิคพิเศษ งานโฆษณา งาน
ประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน นักแสดง นักพากย์ หรือนําความรู้ทางศิลปะการละคอนไปประยุกต์ใช้ในงานพัฒนาสังคม เยาวชน และการศึกษา

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fineart.tu.ac.th/index.php/th/darma

 

ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์

ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของสิ่งทอ 
เครื่องแต่งกายของไทย เอเชีย และตะวันตก ความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับศาสตร์
และศิลปะการออกแบบสิ่งทอและเครื่องแต่งกายสำหรับอุตสาหกรรมระดับต่างๆ รวมถึงเรียนรู้ความต้องการของตลาดในปัจจุบัน การบริหาร การตลาด การนำเสนอผลงาน และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จำเป็นในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักออกแบบสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย งานบริหารจัดการในธุรกิจสิ่งทอและ
เครื่องแต่งกาย อาชีพอิสระในการผลิตงานประเภทสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย ฝ่ายศิลปกรรมในองค์กรรัฐบาลหรือเอกชน นักวิชาการทางด้านสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.fineart.tu.ac.th/index.php/th/textileart

ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม

ศึกษาเกี่ยวกับศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมถึงเรียนรู้ทักษะการวิจัยและบูรณาการความรู้ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการและรสนิยมของผู้บริโภค ส่งเสริมให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพได้ท้ังในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการทางศิลปะและการออกแบบ นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ปรึกษาด้านการออกแบบ นักวิชาการและนักวิจัยทางงานออกแบบ นักบริหารจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมและการออกแบบ เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fineart.tu.ac.th/index.php/th/Indcraftsdesign

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการกีฬา  

ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการและความรู้ทางกีฬา การฝึกสอนกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬาประยุกต์และการดูแลการบาดเจ็บ โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการกีฬาทุกมิติอย่างเป็นระบบ ทั้งในกลุ่มกีฬาเพื่อสุขภาพ กีฬาอาชีพ และกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ร่วมกับการให้โอกาสในการพัฒนาความสามารถทางการกีฬา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักจัดการการกีฬา ผู้จัดและควบคุมดูแลการแข่งขันกีฬา นักธุรกิจทางด้านการกีฬา นักการตลาดการกีฬา ผู้นำนันทนาการและศูนย์เยาวชน ผู้สื่อข่าวกีฬา นักวิชาการทางการกกีฬา ผู้ตัดสินกีฬาระดับต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://allied.tu.ac.th/sport-science

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

ศึกษาเกี่ยวกับองค์ความรู้สองด้านหลัก คือ องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมและองค์ความรู้ด้านการจัดการ เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการที่บูรณาการทั้งศาสตร์และศิลป์ โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมอย่างรอบด้านครอบคลุมทั้งในมุมกว้างและลุ่มลึก

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ พนักงานโครงการทางศิลปวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ บุคลากรสายวิชาการ พนักงานสายสนับสนุนด้านการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ นักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัย ภัณฑารักษ์ พนักงานฝ่ายการตลาดและการประชาสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม พนักงานฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนโครงการทางวัฒนธรรม พนักงานฝ่ายประสานงานโครงการทางวัฒนธรรม พนักงานด้านการออกแบบสื่อวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เจ้าหน้าที่บริษัทผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ เจ้าหน้าที่บริษัทรับจัดงานอีเวนต์และการแสดงทางวัฒนธรรม อาชีพอิสระ เช่น ผู้ผลิตงานสร้างสรรค์ (ภาพยนตร์ เพลง ศิลปะการแสดง ฯลฯ) ผู้ประกอบกิจการขนาดเล็ก (SME)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.citu.tu.ac.th/home

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการฝึกสอนกีฬา

ศึกษาเกี่ยวกับการฝึกสอนกีฬา การบริหารจัดการและความรู้ทางกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬาประยุกต์และการดูแลการบาดเจ็บ โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการฝึกสอนกีฬา ควบคู่ไปกับความสามารถในการจัดการองค์ความรู้ต่างๆ อย่างเป็นระบบ ทั้งในกลุ่มกีฬาเพื่อสุขภาพ กีฬาอาชีพ และกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ร่วมกับการให้โอกาสในการพัฒนาความสามารถทางการกีฬา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ ผู้ฝึกสอนกีฬา นักวิชาการทางการกีฬา ผู้ตัดสินกีฬาระดับต้น ผู้ให้คำแนะนำการออกกำลังกายในสถานประกอบการทางสุขภาพ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://allied.tu.ac.th/sport-science

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์

ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง พัฒนาภายใน พัฒนาคุณธรรม พัฒนาส่วนรวม และส่งเสริมการมีสำนึกสาธารณะจิตกุศล รูปแบบการเรียนรู้เน้นการปฏิบัติจัดการในสถานการณ์ของชีวิตจริงที่หลากหลาย การทำงานพัฒนาบูรณาการและสร้างสรรค์จริง ผสมผสานกับการฟังบรรยายในชั้นเรียน โดยประกอบด้วยโครงสร้างแบบเป็น 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาการพัฒนาชุมชนร่วมสมัย กลุ่มวิชาการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม และกลุ่มวิชาการจัดการงานอาสาสมัคร

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพได้กว้างขวาง เช่น นักพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม วัฒนธรรม และชุมชน ผู้ประกอบการทางสังคม นักพัฒนาชุมชน นักพัฒนาสังคม นักพัฒนาวัฒนธรรม นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นักวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนา ผู้จัดการงานอาสาสมัคร ผู้จัดการโครงการทางสังคม วัฒนธรรม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ผู้จัดการงานธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่ปรึกษาด้านการประเมินองค์กร โครงการ กิจกรรมธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม ที่ปรึกษาด้านการประเมินผลกระทบทางชุมชน สังคม และวัฒนธรรม นักวางแผนและกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคม นักคิด นักเขียน วิเคราะห์ วิจารณ์ ด้านการพัฒนา เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://psds.tu.ac.th/bacreative.html

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารทางธุรกิจ กิจกรรมทางธุรกิจ และวัฒนธรรมของคนในประเทศต่างๆ ที่ติดต่อธุรกิจกับประเทศไทย เพื่อพัฒนาให้นักศึกษาเป็นผู้รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจในกระแสโลกาภิวัตน์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ พนักงานในองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจระหว่างประเทศ พนักงานบริษัทข้ามชาติ นักธุรกิจ/เจ้าของกิจการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ นักประชาสัมพันธ์ นักแปลเอกสารทางธุรกิจ หรืออาชีพอื่นๆ ที่ต้องใช้ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://tubec.net

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับภาษาจีน รวมถึงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับประเทศจีน เช่น อารยธรรมจีน ปรัชญาจีน ระบบเศรษฐกิจจีนในปัจจุบัน และการเมืองการปกครองของจีน โดยเป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับ School of International Studies แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศจีน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและองค์กรที่ใช้ภาษาจีนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถานทูต และองค์กรระหว่างประเทศ พนักงานและผู้ประกอบการในสายงานด้านต่างๆเช่น ธุรกิจการท่องเที่ยวการโรงแรม การบิน สิ่งพิมพ์ สื่อสารมวลชน การตลาดและการประชาสัมพันธ์ ครูอาจารย์ผู้สอนภาษาจีน นักแปล ล่าม นักเขียน คอลัมนิสต์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.pbic.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริการ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการการให้บริการประเภทต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าที่แตกต่าง สำหรับทั้งองค์กรขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ โดยยึดหลักความยั่งยืนของทรัพยากรและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในการประกอบธุรกิจให้บริการ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ พนักงานฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ฝ่ายบริการของโรงแรม ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจสปา พนักงานฝ่ายบริการของโรงพยาบาล พนักงานฝ่ายบริการของธนาคาร สถาบันการเงิน พนักงานฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์บริการโทรคมนาคม การติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง พนักงานฝ่ายการวางแผนการจัดงานอีเวนต์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.citu.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคมและการพัฒนา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับนโยบายสังคมและการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติระดับภูมิภาค เพื่อผลิตบัณฑิตที่พร้อมก้าวสู่บทบาทของการเป็นผู้ปฏิบัติงานหรือจัดการงานด้านบริการสังคม/สวัสดิการสังคมทั่วไป โดยสิ่งที่หลักสูตรให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือ ค่านิยมการเคารพต่อศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นมนุษย์และความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์ในระดับภูมิภาคอาเซียนและสากล

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้กว้างขวาง อาทิ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักสวัสดิการแรงงาน ผู้จัดบริการสังคม นักพิทักษ์สิทธิ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผู้จัดการโครงการ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ปรึกษาโครงการระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่ด้านงานพัฒนาสังคมและคุ้มครองทางสังคมในงานหน่วยงานด้านสวัสดิการสังคม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.spdtu.com

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎี หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติงานในห้องสมุดและหน่วยงานสารสนเทศ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดการและบริหารงานห้องสมุดหรืองานที่เกี่ยวกับการใช้บริการสารสนเทศในลักษณะอื่น

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานเป็นบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศในห้องสมุดหรือหน่วยงานบริการสารสนเทศอื่นๆ อาจารย์สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการผลิตสื่อสารสนเทศต่างๆ เช่น งานเอกสาร งานจัดการข้อมูล งานบรรณาธิการ เป็นต้น รวมถึงสามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิจัย การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศ หรือประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น งานเลขานุการ งานในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tulibraryscience.com

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์ภูมิภาคอื่นๆ งานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงมีความสามารถในการค้นคว้าและทำวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศและสังคม

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพด้านงานสอน นักวิชาการศึกษา นักสารสนเทศ นักวิจัยประจำหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ นักวางแผนและพัฒนางานวิเคราะห์ หรือทำงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร และนิตยสาร งานวิเทศสัมพันธ์ งานมัคคุเทศก์ งานท่องเที่ยว งานค้นคว้าข้อมูลสำหรับรายการโทรทัศน์และสื่อต่างๆ งานเขียนบทสารคดี งานหนังสือพิมพ์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://arts.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา

ศึกษาเกี่ยวกับรากฐานทางปรัชญาอย่างเข้มข้น โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจตนเองและสังคม สามารถคิดวิเคราะห์ อ่าน ตีความ และเขียนได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล รวมถึงเปิดโอกาสให้มีการศึกษาวิชาปรัชญาแขนงอื่นๆ ตามความสนใจ และส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทั้งทางด้านปรัชญาและทางด้านสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ นักสื่อสารมวลชน นักแปล คอลัมนิสต์ นักเขียนประจำกองบรรณาธิการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://arts.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ ปรับปรุงจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (พ.ศ.2561) โดยวิทยาลัยสหวิทยาการมีแนวความคิดที่จะพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ให้เป็นหลักสูตรนานาชาติที่ผสมผสานระหว่างจิตวิญญาณแห่งธรรมศาสตร์และนโยบายพัฒนาความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นสร้างความโดดเด่นให้แก่หลักสูตรนานาชาติดังกล่าว เนื้อหาสาระจะมุ่งเน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับ “ปรัชญา การเมือง และเศรษศาสตร์ในบริบทอนุภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย” เพื่อให้สอดคล้องกับพลวัตรของศตวรรษที่ 21 ที่ได้รับสมญาว่าเป็น “ศตวรรษแห่งเอเชีย (Asian Century)” และเพื่อรองรับนักศึกษาจากอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ภูมิภาคอาเซียน และภูมิภาคอื่นที่มีความสนใจหลักสูตรการศึกษานานาชาติทางด้านปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ที่เน้นบูรณาการสังคมศาสตร์กับการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ทางสังคมภายใต้บริบท Asian Century

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://ci.tu.ac.th/ppe-inter  และ https://www.ppetuinternational.org

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของโลกยุคปัจจุบัน ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย และพื้นฐานทางปรัชญา โดยมุ่งสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมต่างๆ ในเชิงสหวิทยาการ วิพากษ์และเสนอความคิดได้อย่างมีเหตุผล ครอบคลุม และชัดเจน

เมื่อเรียนจบสามารถเข้าทำงานทั้งในภาครัฐและเอกชนได้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการเมือง การศึกษา หนังสือพิมพ์ การพัฒนาสังคม และอาชีพอิสระอื่นๆ รวมทั้งมีความรู้และความสามารถที่จะศึกษาต่อในระดับสูงเพื่อเป็นนักวิชาการและนักวิจัยได้ (เปิดทั้งศูนย์ลำปาง และศูนย์ท่าพระจันทร์)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://ci.tu.ac.th/ppe-thaprachan

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

ศึกษาเกี่ยวกับทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นทั้งฟัง พูด อ่าน และเขียน รวมถึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นทั้งด้านภาษา วัฒนธรรม และสังคมญี่ปุ่น โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือศึกษาในระดับสูงขึ้นต่อไป

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานในบริษัทหรือหน่วยงานที่ติดต่อกับชาวญี่ปุ่นล่าม นักแปลภาษาญี่ปุ่นมัคคุเทศก์ภาษาญี่ปุ่นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในกระทรวงต่างประเทศ สถานทูต ฯลฯ อาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่นตามสถาบันอุดมศึกษา มัธยมศึกษา ประถมศึกษา หรือสถาบันสอนภาษา

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://arts.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส

ศึกษาเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม วรรณกรรมฝรั่งเศส และหลักการแปล โดยเน้นส่งเสริมความรู้และทักษะด้านภาษาฝรั่งเศส วัฒนธรรม และวิชาชีพที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและองค์กรที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนสถานทูต และองค์กรระหว่างประเทศ พนักงานและผู้ประกอบการในสายงานด้านต่างๆ เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว การโรงแรม การบิน สิ่งพิมพ์ สื่อสารมวลชน การตลาดและการประชาสัมพันธ์ อาจารย์ผู้สอนภาษาฝรั่งเศส  นักแปล ล่าม นักเขียน คอลัมนิสต์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://arts.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษารัสเซีย

ศึกษาเกี่ยวกับการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษารัสเซีย เพื่อใช้ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเรียนรู้ด้านภาษาศาสตร์ วรรณคดี และวัฒนธรรมของประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจโลกมาช้านาน ทั้งยังมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ ความโดดเด่นของประวัติศาสตร์ และมีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ งานตามบริษัทหรือหน่วยงานที่ติดต่อกับชาวรัสเซีย ล่าม นักแปล มัคคุเทศก์ อาจารย์สอนภาษารัสเซียในสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันสอนภาษา ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต ฯลฯ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://arts.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน และภาษาอังกฤษ มีรายวิชาที่เน้นความ เข้มแข็งทางภาษาศาสตร์ เช่น ด้านสัทศาสตร์ สัทวิทยา ด้านระบบคำและวากยสัมพันธ์ ด้านระบบข้อความ ฯลฯ เพื่อให้นักศึกษานำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและสอนภาษาได้ รวมถึงเน้นพัฒนาทักษะการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ และเรียนรู้เทคนิคการสื่อความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวและงานบริการ บรรณาธิการ นักเขียน นักแปล เจ้าหน้าที่ทำงานเกี่ยวกับภาษาทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หรือพนักงานต้อนรับของสายการบิน เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://arts.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียนให้สื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา รวมถึงมีความรู้พื้นฐานด้านภาษาศาสตร์ การแปลวรรณคดีและวัฒนธรรม เพื่อเสริมความเข้าใจในเรื่องศาสตร์ของภาษาและ ศิลปะในการใช้ภาษา ซึ่งจะช่วยในการสื่อความหมายด้วยภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานเป็นอาจารย์ นักแปล ล่าม นักเขียน เจ้าหน้าที่ในองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรเอกชน หน่วยงานราชการ ในตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษ เช่น เลขานุการ ผู้สอนภาษาอังกฤษ ฯลฯ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://arts.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเยอรมัน

ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาเยอรมันในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเรียนรู้ด้านสังคม ศิลปะ วัฒนธรรม และวรรณกรรมของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน เพื่อเข้าถึงภูมิปัญญา วัฒนธรรม วิถีชีวิต และวิธีคิดของชนชาติที่มีความเจริญทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม และเทคโนโลยี อันเป็นที่มาขององค์ความรู้อันหลากหลาย

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ นักแปล ล่าม เจ้าหน้าที่ติดต่อสื่อสารต่างประเทศ เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ในองค์กรของรัฐ พนักงานบริษัทเอกชน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานสายการบิน มัคคุเทศก์และงานในสายงานการท่องเที่ยว หรืออาชีพอิสระอื่นๆ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://arts.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ

ศึกษาเกี่ยวกับประวัติวรรณคดี ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ วรรณกรรมสมัยต่างๆ และการแปล โดยเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้มาวิเคราะห์ วิจารณ์ งานประพันธ์ประเภทต่างๆ ได้ รวมถึงมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเชี่ยวชาญด้านทักษะภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะการอ่านและการเขียน และมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดตลอดจนวัฒนธรรมตะวันตกอย่างลึกซึ้ง ผ่านทางงานวรรณกรรมของชาติตะวันตกที่เขียนหรือแปลเป็นภาษาอังกฤษ

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานเป็นอาจารย์ผู้สอนด้านภาษาและวรรณคดีอังกฤษระดับประถมและมัธยมศึกษา  นักวิชาการและนักวิจัยด้านวรรณคดีอังกฤษ นักแปลและบรรณาธิการ พนักงานภาคการให้บริการ เช่น อุตสาหกรรมการโรงแรม พนักงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://arts.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมจีน

ศึกษาเกี่ยวกับการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาจีน เพื่อใช้ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วรรณคดี ภาษาศาสตร์ และอารยธรรมจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในอารยธรรมหลักของโลกที่ส่งอิทธิพลต่อประเทศไทยมาโดยตลอด  

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ ล่าม นักแปล นักวิเทศสัมพันธ์ นักสื่อสารมวลชน ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ อาชีพที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมภาคบริการและท่องเที่ยว ฯลฯ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://arts.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

ศึกษาเกี่ยวกับภาษาไทยและวรรณกรรมไทย โดยเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจภาษาและวรรณกรรมในบริบทของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญด้านภาษาไทย สามารถวิเคราะห์วิจารณ์ภาษาและวรรณกรรมไทย รวมถึงประยุกต์ความรู้ด้านภาษาไทยไปใช้ในการประกอบอาชีพและวงวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับความชำนาญในการใช้ภาษาไทยได้หลากหลาย เช่น อาจารย์ นักเขียน นักวิจารณ์ เลขานุการ บรรณาธิการ นักประชาสัมพันธ์ นักโฆษณา นักข่าว ผู้ประกาศทางโทรทัศน์/วิทยุ นักวิจัย นักวิชาการด้านภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรมไทย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://203.131.210.88/thai_larts

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา

ศึกษาเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การทหาร สังคม ศิลปวัฒนธรรม และภาษารัสเซีย ในรูปแบบสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อส่งเสริมนักศึกษาให้รู้จักคิดและวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้อย่างชัดเจนรอบด้านและมีโลกทัศน์กว้างไกล ทำความเข้าใจบทบาทสำคัญของรัสเซียในแง่มุมต่างๆ ทั้งการเมือง การทหาร เศรษฐกิจโลก ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความมั่งคั่งทางทรัพยากรธรรมชาติ ความโดดเด่นของประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนความน่าสนใจของวิถีชีวิตอันหลากหลายของชาวรัสเซีย

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษาอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ล่าม มัคคุเทศก์ พนักงานในองค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ประกอบธุรกิจส่วนตัว นักการทูต

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://arts.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเรียนรู้

ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ องค์ประกอบทางสังคมและวัฒนธรรมในการเรียนรู้ การออกแบบและการจัดกระบวนการเรียนรู้ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ โดยในปีการศึกษาสุดท้ายผู้เรียนสามารถเลือกกลุ่มวิชาที่ตนเองสนใจเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญในเชิงลึก อาทิ ด้านการศึกษา ด้านศิลปะประยุกต์เพื่อการศึกษา การออกแบบและจัดกระบวนการเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักฝึกอบรมและผู้ที่ทำงานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระบวนกรหรือวิทยากรกระบวนการ นักเทคโนโลยีการศึกษา นักออกแบบสื่อการเรียนการสอน นักออกแบบการจัดการเรียนรู้ นักศิลปะสร้างสรรค์ นักพัฒนาชุมชน นักวิจัยด้านการเรียนรู้และการศึกษา
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://lsed.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิเทศคดีศึกษา (อาเซียน - จีน) (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับภาษา การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของอาเซียนและจีน โดยเน้นความเป็นนานาชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษานานาชาติมาศึกษาและพัฒนาความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการด้านอาเซียนและจีนศึกษา บรรณาธิการ มัคคุเทศก์ ข้าราชการ และพนักงานของรัฐในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนและจีน นักเขียน นักวิจารณ์ นักข่าว ผู้สื่อข่าวและผู้รายงานข่าว

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://tuasean.com

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และภาษา ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้จะทำให้นักศึกษามีพื้นฐานในการเข้าสู่โปรแกรมวิชาเอก 4 โปรแกรม คือ สหวิทยาการ จีนศึกษา สหวิทยาการอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงศึกษา สหวิทยาการการจัดการทรัพยากรทาง
สังคมและวัฒนธรรม และสหวิทยาการการจัดการการท่องเที่ยว

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ พนักงานในองค์กรภาครัฐและเอกชน อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย เจ้าหน้าที่ในองค์กรพัฒนาเอกชน เจ้าหน้าที่ในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ในมูลนิธิ เจ้าหน้าที่ในสถานทูตและองค์กรระหว่างประเทศ นักพัฒนา ผู้จัดการในธุรกิจนำเที่ยว เจ้าหน้าที่หรือผู้จัดการหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://ci.tu.ac.th/si-lampang

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอังกฤษ–อเมริกันศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับรากฐานทางวัฒนธรรมและวิวัฒนาการของวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ในด้านประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ภาษา วัฒนธรรม วรรณคดี และศิลปะ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ อาจารย์และนักวิจัย ข้าราชการในหน่วยงานของรัฐ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ เจ้าหน้าที่สถานทูต พนักงานในหน่วยงานเอกชนที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เลขานุการของผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ล่าม นักแปล พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและภาคพื้นดินของสายการบินต่างๆ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://basthammasat.org

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอินเดียศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับประเทศอินเดียในแง่มุมต่างๆ เช่น อารยธรรมอินเดีย ปรัชญาอินเดีย ระบบเศรษฐกิจอินเดียในปัจจุบัน การเมืองการปกครองของอินเดีย และภาษาฮินดี โดยเป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอินเดีย มีการเชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของอินเดียมาร่วมสอนด้วย

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและองค์กรที่ใช้ภาษาอังกฤษและฮินดีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถานทูต และองค์กรระหว่างประเทศ พนักงานและผู้ประกอบการในสายงานด้านต่างๆ เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว การโรงแรมการบิน สิ่งพิมพ์ สื่อสารมวลชน การตลาดและการประชาสัมพันธ์ ครูอาจารย์ผู้สอนภาษาฮินดี นักแปล ล่าม นักเขียน คอลัมนิสต์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.pbic.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

ศึกษาเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และภาษา ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกสมัยใหม่ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์และปัญหาสังคม ตลอดจนรู้จักคิดวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจนรอบด้าน รวมถึงสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความร่วมมือในภูมิภาคมากกว่าการสร้างความขัดแย้งและมุ่งเน้นที่ผลประโยชน์ของชาติเพียงลำพัง

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ อาจารย์  นักวิจัย นักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บรรณาธิการ มัคคุเทศก์ ข้าราชการ และพนักงานของรัฐในกระทรวงหรือองค์การมหาชนที่เกี่ยวข้องกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักเขียน นักวิจารณ์ นักข่าว ผู้สื่อข่าวและผู้รายงานข่าว

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://arts.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม (ปริญญาตรี-หลักสูตรนานาชาติ)

 

Global Studies ใช้หลักการ Trans-disciplinary ในการปฏิบัติการวิจัย และการศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรสาธารณของโลก และสุขภาวะของมนุษย์ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคมการเมือง และวัฒนธรรม ผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ต่อความแตกต่างของสิ่งเหล่านี้ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ซึ่งต้องการพันธมิตรในการแก้ปัญหา และผลกระทบที่เกิดขึ้น

วิทยาลัยโลกคดีศึกษานำค่านิยมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ให้ความสำคัญด้านความมั่นคงของมนุษย์ และสุขภาวะของมนุษย์เป็นแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับ Global studies โดยสร้างองค์ความรู้จากการวิจัย และการนำความรู้มาจัดการศึกษาหลักสูตร เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และนำไปสู่ความมั่นคง ตลอดจนสุขภาวะของมนุษย์

ผู้ประกอบการเพื่อสังคมคือผู้ที่ใช้นวัตกรรมใหม่ในการแก้ปัญหาสังคม เป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการค้นหาสาเหตุหลักของปัญหาสังคม และเสนอแนวทางและความคิดใหม่ในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง ผู้ประกอบการเพื่อสังคมจะค้นหาสิ่งที่เป็นอุปสรรค และแปลงอุปสรรคให้เป็นปัจจัยที่เรียกว่านวัตกรรม มาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาที่มีความยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมสังคมให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sgs.tu.ac.th

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับไทยและอาเซียน หรือจีน หรืออินเดีย ในด้านต่างๆ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภาษา โดยมุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสังคม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและองค์กรที่ใช้ความรู้ด้านไทยและอาเซียนศึกษาหรือจีนศึกษาหรืออินเดียศึกษา ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถานทูต และองค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน พนักงานและผู้ประกอบการในสายงานด้านต่างๆ เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว การโรงแรม การบิน สิ่งพิมพ์ สื่อสารมวลชน การตลาด และการประชาสัมพันธ์ อาจารย์สอนไทยและอาเซียนศึกษา นักแปล ล่าม นักเขียน คอลัมนิสต์ 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.pbic.tu.ac.th

สถาปัตยกรรมภายในบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในของอาคาร การออกแบบผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ และนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานสถาปัตยกรรมภายใน เน้นการประยุกต์ใช้วิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการจัดการ เพื่อให้กระบวนการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมภายในมีความทันสมัย เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของสังคมยุคใหม่

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่  สถาปนิกภายใน นักออกแบบผลิตภัณฑ์หรือเฟอร์นิเจอร์ นักออกแบบงานนิทรรศการหรือการจัดแสดงต่างๆ นักออกแบบแสงสว่าง ผู้ดูแล ควบคุมโครงการ นักเขียนแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ ฯลฯ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tds.tu.ac.th/programs-ia/

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยทางสังคม

ศึกษาเกี่ยวกับการทำวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล ความรู้ทางสถิติ ความรู้ทางสังคมวัฒนธรรม การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำวิจัยทางสังคม และการวิเคราะห์วิจัยเพื่อการบรรลุแผนยุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความชำนาญในการวิจัยทางสังคมอย่างถูกต้องตามหลักทฤษฎีและระเบียบวิธี สามารถค้นคว้าและศึกษาข้อมูลภาคสนามได้ในระดับลึก และนำมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ของสังคมทั้งในและต่างประเทศ

บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการวิจัยโดยตรง เช่น นักวิจัย นักวิชาการ 
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน หรือนำความรู้ด้านการวิจัยไปประยุกต์ใช้กับงานวิเคราะห์ความพึงพอใจของลูกค้า ผลิตภัณฑ์ ความต้องการของตลาด การประเมินประสิทธิภาพของพนักงานบริษัท และงานประเภทการวิจัยและพัฒนาต่างๆ สำหรับงานในภาคราชการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://socanth.tu.ac.th

 

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ศึกษาเกี่ยวกับประเด็นปัญหา ปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะปรากฏการณ์ร่วมสมัย โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์ปรากฏการณ์ทางสังคม และมีทักษะในการศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมได้อย่างเป็นระบบ

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานเป็น อาจารย์ นักวิจัยสังคม นักวิชาการทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา นักวิจัยทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ นักวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม นักวิชาการพัฒนาชุมชน นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักพัฒนาสังคม ผู้เชี่ยวชาญด้านการรับผิดชอบต่อสังคม นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการศึกษา นักพัฒนาการท่องเที่ยว ผู้บริหารทางด้านทรัพยากรบุคคล นักประวัติศาสตร์สังคม นักโบราณคดี ภัณฑารักษ์ นักอาชญาวิทยา นักชาติพันธุ์วิทยา นักวิชาการวัฒนธรรม ผู้บริหารพิพิธภัณฑ์ ผู้บริหารศูนย์วัฒนธรรมหรือศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรม นักเขียนสารคดี ผู้ผลิตสื่อดิจิตอล ผู้สื่อข่าว ผู้กำกับสื่อ นักวิจารณ์สังคม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://socanth.tu.ac.th

สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ วิธีวิทยาในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ และทักษะวิชาชีพ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการองค์ความรู้ ทัศนคติ และทักษะทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์เข้ากับการปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ มีความสามารถในการพัฒนากลวิธีการทำงานใหม่ๆ และประยุกต์เครื่องมือการทำงานทางวิชาชีพในการทำงานกับคน องค์กร ท้องถิ่น ชุมชน สังคม  ทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค สากล รวมทั้งสามารถทำงานแบบสหวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักสังคมสงเคราะห์  นักจัดการรายกรณี (case manager) นักพัฒนาสังคม พัฒนากร นักพัฒนาชุมชน นักฑัณทวิทยา พนักงานคุมประพฤติ พนักงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พนักงานคุ้มครองสิทธิ เจ้าหน้าที่บุคคล เจ้าหน้าที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นักวิชาการ / นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักบริหาร เจ้าหน้าที่บริหาร ฯลฯ  (ศึกษาที่ศูนย์รังสิต/ศูนย์ลำปาง)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.socadmin.tu.ac.th

เภสัชศาสตร์บัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต วิจัย และพัฒนาเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงการดูแลเรื่องสุขภาพของ ประชาชนภายใต้บริบทของระบบยา คือ การคัดสรรและจัดหายา การผลิตยา การกระจายยา และการใช้ยา

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานเป็นเภสัชกรประจำโรงพยาบาล เภสัชกรประจำโรงงานอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง เภสัชกรประจำร้านขายยา อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการในธุรกิจทางด้านเภสัชกรรม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.pharm.tu.ac.th/aca_under.php

เศรษฐศาสตรบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับการใช้เหตุผลและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการทำความเข้าใจกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจ และการวิเคราะห์ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเข้าใจในการเชื่อมโยงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถประกอบอาชีพได้กว้างขวาง เช่น นักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบาย นักวิเคราะห์การขาย นักวิเคราะห์การลงทุน นักธุรกิจ สื่อสารมวลชน ข้าราชการ นักการเมือง หรือ ประกอบอาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.econ.tu.ac.th

เศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างสังคมเศรษฐกิจไทยและสังคมเศรษฐกิจโลก โดยเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ ตลอดจนสามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์กับสาขาอื่นๆ ได้

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้กว้างขวาง อาทิ นักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบาย นักวิเคราะห์การขาย นักวิเคราะห์การลงทุน นักธุรกิจ สื่อสารมวลชน ข้าราชการ นักการเมือง หรือประกอบอาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.be.econ.tu.ac.th

แพทยศาสตรบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับองค์ความรู้ในศาสตร์ทางการแพทย์ โดยระดับชั้นปีที่ 1-3 จัดการเรียนการสอนที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ส่วนระดับชั้นปีที่ 4-6 จะเรียนฝึกปฏิบัติงานระดับคลินิกในโรงพยาบาลต่างๆ

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพเป็นแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน อาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์หรือคณะสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ นักวิจัย หรือศึกษาต่อระดับวุฒิบัตรเป็นแพทย์เฉพาะทาง ศึกษาต่อปริญญาโท-เอกในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://med.tu.ac.th/webmed

แพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)

มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถและทักษะตามมาตรฐานสากลและมีเจตคติที่เหมาะสม ปฏิบัติงานได้ดีในระบบสุขภาพและสาธารณสุขของประเทศ สามารถศึกษาต่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ รวมถึงมีทักษะภาษาอังกฤษและการติดต่อสื่อสารที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ร่วมงาน ตลอดจนสามารถถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างเหมาะสม

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพเป็นแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน อาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์หรือคณะสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ นักวิจัย หรือศึกษาต่อระดับวุฒิบัตรเป็นแพทย์เฉพาะทาง ศึกษาต่อปริญญาโท-เอกในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://med.tu.ac.th/webmed

View by Categories

More Detail