Loading...

บัณฑิตศึกษา

          หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยประกอบไปด้วยหลักสูตรภาษาไทย สองภาษา และนานาชาติ โดยจัดการเรียนการสอนแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ ภาคปกติ ซึ่งศึกษาแบบเต็มเวลาในเวลาราชการ และภาคพิเศษ ซึ่งศึกษาในช่วงเย็น หรือศึกษาในวันเสาร์, วันอาทิตย์

          หลักสูตรระดับปริญญาโท สามารถเลือกแผนการศึกษาได้ตามความสนใจ โดยการศึกษาในระดับบัณฑิตวิทยาลัย จะมีลักษณะที่แตกต่างจากในระดับมหาวิทยาลัยทั่วไป เพราะถือได้ว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษามาแล้ว ในกรณีนี้จะเน้นไปที่การวิจัย ก่อนจะสำเร็จการศึกษาต้องเขียน "วิทยานิพนธ์” (thesis) เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ หรือ การศึกษาเฉพาะเรื่องที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมหรือการทำงาน

          ส่วนหลักสูตรระดับปริญญาเอก จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างงานวิจัยที่เรียกว่า "ดุษฎีนิพนธ์" (dissertation) เพื่อการพัฒนาประเทศ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ร่วมกับคณาจารย์ ทั้งนี้ ทุกหลักสูตรมีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในหลากหลายองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไรร่วมด้วย

การรับเข้าศึกษา : http://graduate.tuadmissions.in.th/

การรับเข้าศึกษา : https://tu.ac.th/non-degree

View by Categories

การตลาดมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อริเริ่มธุรกิจใหม่อย่างผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้ที่ศึกษาจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับคณาจารย์และมืออาชีพจากสถาบันการศึกษาและองค์กรธุรกิจชั้นนำทั่วโลก และยังได้ถกเถียงกันในชั้นเรียน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ

หลักสูตรการตลาดมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้เป็นนักการตลาดที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นบุคลากรที่มีคุณค่าต่อองค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาคราชการ สามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงของการตลาดโลกได้อย่างทันสมัย มีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล สามารถกำหนดกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ และเป็นคนที่ทำงานอย่างมีแผน มีระบบและมีวินัย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tbs.tu.ac.th http://www.mim.tbs.tu.ac.th

การผังเมืองมหาบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการพัฒนาและการผังเมืองเพื่อความยั่งยืน, รัฐ - การพัฒนาเมืองและการวางแผน, ปฏิบัติการบูรณาการการวางแผน และเทคนิคการวางแผนขั้นสูงและวิธีการวิจัย ฯลฯ

หลักสูตรนี้เน้นคุณภาพและมาตรฐานสูงในระดับสากลสู่วงการวิชาการและวิชาชีพการผังเมืองและการวางแผนพัฒนาเมือง มีฐานความรู้ความสามารถในระดับกว้าง พร้อมกับความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในระดับลึกของวิชาชีพการผังเมืองและการวางแผนพัฒนาเมือง โดยมีความรู้ความสามารถในด้านการวิจัย มีความพร้อมที่จะพัฒนาด้านวิชาการ เพื่อประโยชน์ของวงการวิชาการและวิชาชีพในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ นำไปสู่การพัฒนาสังคมและประเทศอย่างบูรณาการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://w2.tds.tu.ac.th/

การออกแบบพัฒนาชุมชนเมืองมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการวิจัยเพื่อการออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มปฏิบัติการออกแบบชุมชนเมืองและกลุ่มปฏิบัติการการพัฒนาชุมชนเมืองให้ยั่งยืน มุ่งเน้นการออกแบบและการพัฒนาเมืองเพื่อการท่องเที่ยว ออกแบบและพัฒนาเมืองเพื่อความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ออกแบบพัฒนาเมืองเพื่อนวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์และเคหะการ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถประกอบวิชาชีพอิสระหรือทำงานในหน่วยงานราชการ บริษัทที่ปรึกษาโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนเมืองได้ทั้งในและต่างประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://w2.tds.tu.ac.th/

ควบรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการระหว่างประเทศ (ภาคภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, กติการะหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ, กฎหมายระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, โลกาภิบาลและเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ, การเตรียมความพร้อมการเขียนวิทยานิพนธ์

ควบรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการระหว่างประเทศ (ภาคภาษาอังกฤษ) สามารถตอบสนองความต้องการกำลังทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ประเทศชาติได้ในระดับหนึ่ง สำหรับการพัฒนาประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและทัดเทียมนานาอารยะประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกำลังคนที่มีความรู้ทั้งในด้านการเมืองและการระหว่างประเทศอย่างลุ่มลึก สามารถรองรับงานต่าง ๆ ที่ต้องการปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงด้วย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.polsci.tu.ac.th/nw_polsci/

ควบวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการตลาด

ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการการตลาด, ระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อการตัดสินใจ, โจทย์ทางการตลาดและจิตวิทยาผู้บริโภค, การจัดการผลิตภัณฑ์และตรายี่ห้อ, การจัดการราคา และความสามารถในการทำกำไร, การจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย, การสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร, กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อการแข่งขัน ฯลฯ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง ผู้บริหารด้านการตลาดในองค์กรภาครัฐและเอกชน,

นักวิชาการด้านการตลาด, อาจารย์หรือวิทยากรด้านการตลาด ในสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันการศึกษาอื่น ๆ, เจ้าของธุรกิจที่มีความชำนาญด้านการตลาด

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.tbs.tu.ac.th , http://www.ibmp.tbs.tu.ac.th

ควบวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชีและบริหารการเงิน

ศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการวิเคราะห์ทางการเงิน, นโยบายและกลยุทธ์ทางการเงิน, การวิเคราะห์การลงทุน, อนุพันธ์ทางการเงิน, การเงินระหว่างประเทศ, การจัดการความเสี่ยง ฯลฯ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง ผู้จัดการการเงิน, ผู้จัดการกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน, นักวิเคราะห์หลักทรัพย์, นักวิเคราะห์ทางการเงิน, วิศวกรทางการเงิน, ผู้บรรยายทางการเงิน, เจ้าหน้าที่ผู้กำกับและดูแลระบบและสถาบันการเงิน ฯลฯ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.tbs.tu.ac.th ,  http://www.ibmp.tbs.tu.ac.th

นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยทางนิติศาสตร์ เพื่อจัดทำวิทยานิพนธ์ โดยจัดทำประเด็นทางกฎหมายที่จะค้นคว้าสมมติฐานการวิจัย แนวความคิด ทฤษฎีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนชัดเจน เพื่อแสวงหาคำตอบภายใต้วิธีการที่มีหลักเหตุผลและเชื่อถือได้ โดยมุ่งเน้นให้ผู้ศึกษาได้ฝึกทักษะในการศึกษาค้นคว้าและนำผลการวิจัยที่ได้มาพัฒนาเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ และนำไป ประยุกต์ใช้ในกระบวนการยุติธรรม

มุ่งเน้นการศึกษาที่มีการค้นคว้าวิจัยด้านนิติศาสตร์ด้วยตนเอง และการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคโลกาภิวัตน์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.law.tu.ac.th/

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 8 สาขาย่อย ได้แก่ สาขากฎหมายเอกชน สาขากฎหมายอาญา สาขากฎหมายมหาชน สาขากฎหมายต่างประเทศ สาขากฎหมายธุรกิจ สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ สาขากฎหมายภาษี และสาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ซึ่งแบ่งออกเป็นหลักสูตรสำหรับกรณีทั่วไป และกรณีส่งเสริมผู้มีประสบการณ์ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ทางวิชาการอย่างแท้จริง มีพื้นฐานทางปัญญา ความคิดและทัศนคติอันส่งเสริมต่อการเสาะแสวงหาวิชาความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถวิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล รู้จักตนเองและสภาพแวดล้อมสามารถปรับตัวและพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ สามารถนำความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปใช้ได้อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตการพัฒนาสังคม รวมถึงผดุงไว้ซึ่งความเป็นธรรมและความถูกต้องของสังคม

 ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.law.tu.ac.th/

นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ (ภาคภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายลักษณะสัญญาและการละเมิดขั้นสูง, กฎหมายบริษัทเปรียบเทียบและหลักธรรมมาภิบาล, กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา, กฎหมายซื้อขายระหว่างประเทศ และกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นิติกร, ทหาร, ตำรวจ, ที่ปรึกษากฎหมาย, อัยการ ผู้พิพากษา, เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายในองค์กรระหว่างประเทศ, นักวิชาการ, อาจารย์, ผู้บริหารหรือลูกจ้างองค์กรธุรกจิต่าง ๆ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.law.tu.ac.th/

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมสู่การก้าวเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น เป็นหลักสูตร Part-time มีระยะเวลา 2 ปี นักศึกษาส่วนใหญ่ คือ ผู้ประกอบการที่ประสบผลสำเร็จ หลักสูตรที่เข้มข้นเกิดจากการแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างนักศึกษาและคณาจารย์ที่มีประสบการณ์การทำงานวิจัยในระดับสูงและภาคธุรกิจรวมทั้งวิทยากรชั้นนำจากภาคเอกชนที่มีชื่อเสียง

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ได้พัฒนาการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นนักบริหารมืออาชีพหรือเป็นผู้ประกอบการที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล โดยมุ่งเ­­น้นให้นักศึกษามีความแม่นยำในหลักการและทฤษฎีทางด้านบริหารธุรกิจที่ทันสมัยและรู้จักใช้เครื่องมือที่ถูกต้องกับสถานการณ์ การเรียนการสอนเน้นการใช้กรณีศึกษา การ ใช้เกมส์จำลองทางธุรกิจเพื่อฝึกฝนการตัดสินใจ นักศึกษามีทางเลือกการทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระเพื่อให้นักศึกษาฝึกบูรณาการความรู้ต่าง ๆ ทางบริหารธุรกิจในการทำงานวิจัยขั้นสูง จัดทำแผนธุรกิจและการเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tbs.tu.ac.th ,  http://www.mba.tbs.tu.ac.th , http://www.hrm.tbs.tu.ac.th

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล

ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรและธุรกิจในระดับประเทศและนานาชาติ โดยมุ่งเน้นพัฒนาความสามารถในการบูรณาการหลักคิดและแนวทางการบริหารจัดการขององค์กรต่างๆ ทั้งจากประเทศตะวันออก และประเทศตะวันตก เพื่อพัฒนาและต่อยอดสร้างโอกาสและความสำเร็จให้กับธุรกิจและองค์กรได้

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง ผู้บริหารในองค์กรภาคเอกชน เช่น บริษัทข้ามชาติ หรือองค์กรธุรกิจในประเทศและระหว่างประเทศ ผู้บริหารในองค์กรภาครัฐ เช่น หน่วยงานด้านอุตสาหกรรม พาณิชย์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ ที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจ ได้แก่ การจัดการการตลาด การเงิน การประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ เจ้าของกิจการธุรกิจที่มีความพร้อมต่อการขยายธุรกิจในระดับนานาชาติ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://gemba.tbs.tu.ac.th

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับผู้บริโภคและตลาดสากล, การตัดสินใจโดยข้อมูลและสารสนเทศด้านการบัญชีและการเงิน, รูปแบบธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์, ภาวะผู้นาในธุรกิจสากล, การจัดการกลยุทธ์ธุรกิจสากล, การบริหารการเงินธุรกิจสากล, การจัดการนวัตกรรมในธุรกิจสากล , ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล (หลักสูตรนานาชาติ) ผลิตมหาบัณฑิตที่มีวิสัยทัศน์ด้านการบริหารจัดการองค์กรและธุรกิจในระดับประเทศและนานาชาติ สามารถประมวลหลักการและแนวคิดที่สำคัญของการบริหารธุรกิจขององค์กรต่าง ๆ ในนานาประเทศบนพื้นฐานของการเป็นนักธุรกิจ เจ้าของกิจการ และบุคลากร/ผู้บริหารที่มีคุณธรรมและจริยธรรม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tbs.tu.ac.th , http://www.gemba.tbs.tu.ac.th

บัญชีมหาบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับการบัญชีการเงิน, การบัญชีต้นทุน, ทักษะการสื่อสารทางธุรกิจ, มาตรฐานการรายงานทางการเงิน, การเงินเพื่อการจัดการ, การบริหารความเสี่ยง, กฎหมายและข้อบังคับทางธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจทางด้านการเงิน ทางด้านศาสตร์และศิลป์สำหรับผู้อำนวยกรบัญชี ทางด้านภาษี ฯลฯ

หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิตมุ่งเน้นให้นักศึกษาจะมีโอกาสฝึกฝนทักษะในการวิเคราะห์วิจัยองค์ความรู้ทางทฤษฎี เพื่อสามารถผสมผสานวิชาการ เทคโนโลยีที่ทันสมัย และความรู้จากศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจมาใช้ในการตัดสินใจ และประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ในการประกอบวิชาชีพได้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.tbs.tu.ac.th , http://www.map.tbs.tu.ac.th

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา ชีวเวชศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีววิทยาระดับโมเลกุลและเซลล์วิทยา, โรคเขตร้อน, ชีวสถิติ นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจ เช่น ปรสิตวิทยาระดับโมเลกุล, เทคนิคการวิจัยด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล เป็นต้น

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์ในสถาบันศึกษา, นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ในระดับหัวหน้า, ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาในภาคเอกชนที่ต้องใช้ความรู้เชิงชีวเวชศาสตร์ เช่น บริษัทผู้ผลิตยา บริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ หรืออาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://allied.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา สหวิทยาการ

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาปรัชญาสังคมศาสตร์, ทฤษฎีสังคมร่วมสมัย, ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสหวิทยาการ เป็นต้น

หลักสูตรนี้ มุ่งเน้นการผลิตนักวิชาการที่มีความรู้ในศาสตร์หลายแขนง และสามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่ต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจ วิเคราะห์ วิพากษ์ปรากฏการณ์ทางสังคมได้ อีกทั้งยังมุ่งผลิตนักวิชาการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรมจริยธรรม และมีส่วนในการสร้างทางเลือกหรือหาทางออกให้แก่สังคมไทยได้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://ci.tu.ac.th/phd

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา สหวิทยาการสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการสัมมนาเชิงบูรณาการด้านสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างและระเบียบวิธีวิจัยด้านสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง เป็นต้น

หลักสูตรนี้เน้นให้ผู้ศึกษามีความสามารถขั้นสูง โดยมีศักยภาพในการผลิตงานวิจัยหรือองค์ความรู้ใหม่อย่างอิสระ มีความสามารถในการวางแผนและดำเนินงานวิจัยจนแล้วเสร็จ และผลิตผลงานวิจัยที่เป็นต้นแบบ สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ในระดับสูง และนำไปสู่การสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง ซึ่งได้แก่ สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายใน การผังเมือง การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พร้อมทั้งมีความรู้ความสามารถในการศึกษาเชิงกว้างและเชิงลึกในสาขาวิชาที่สนใจ และสามารถบูรณาการศาสตร์ระหว่างสาขาที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างได้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://w2.tds.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาหลักการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการพื้นฐาน, การจัดการสิ่งแวดล้อมทะเลและชายฝั่งเชิงบูรณาการ, การจัดการทรัพยากรน้ำผิวดิน, การจัดการทรัพยากรป่าไม้และพรรณพืช, การจัดการทรัพยากรดิน, การจัดการสิ่งแวดล้อม เชิงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการผลิตนักวิชาการสิ่งแวดล้อมในระดับปริญญาเอกที่สามารถค้นคว้าวิจัย วางแผนจัดการ และแก้ปัญหาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ทางด้านสุขภาพ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม

ศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางกระบวนการยุติธรรมและการบริหารงานยุติธรรม, ปัญหาการบริหารกระบวนการยุติธรรมขั้นสูง, ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, บัณฑิตสัมมนา, วิทยาการชั้นสูงกับการบริหารกระบวนการยุติธรรม และปัญหาการบริหารกระบวนการยุติธรรมเปรียบเทียบ

มุ่งเน้นการศึกษาในเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกระบวนการยุติธรรม การบริหารจัดการองค์กร ความสัมพันธ์ ระหว่างองค์กรการบริหารเงินและงบประมาณการบริหารทรัพยากรบุคคลและบทบัญญัติกฎหมายทั้งในทางสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากกรณีศึกษาในชั้นเรียนและการศึกษาดูงานทั้งภายในและต่างประเทศ การนำวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารกระบวนการยุติธรรม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.law.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชานวัตกรรมในการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นหลักการทฤษฎีที่สนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาและการประยุกต์ใช้วิธีการใหม่ในการสอนภาษาอังกฤษ, ระเบียบวิธีวิจัยในด้านการสอนภาษาอังกฤษ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้จะสามารถวิเคราะห์ วิพากษ์ แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนางานด้านการสอนภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสมกับบริบทและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและเชี่ยวชาญในศาสตร์การสอนภาษาอังกฤษ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://grad.litu.tu.ac.th

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์บูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาสัมมนาทางการแพทย์บูรณาการและการจัดทำวิทยานิพนธ์ เป็นต้น

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์ในสถาบันการศึกษา, นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์, นักวิชาการ, ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์บูรณาการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cicm.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาหลักการการแพทย์แผนไทย, สมุนไพรไทยและยาพื้นบ้าน, วิธีวิทยาการวิจัยและจริยธรรม นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจ เช่น การจัดการด้านการดูแลสุขภาพของการแพทย์แผนไทย, การฝึกปฏิบัติงานเฉพาะทางด้านแพทย์แผนไทย, เศรษฐศาสตร์สุขภาพ ฯลฯ

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิจัย, นักวิชาการ, ครูและอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://med.tu.ac.th/webmed/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ในปัจจุบันสังคม เศรษฐกิจและการศึกษาของประเทศได้มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยีและวัฒนธรรม จากกระแสโลกาภิวัตน์ต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้สร้างผลให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อให้เกิดความต้องการกําลังคนที่มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ทั้งในเชิงทฤษฎีและการประยุกต์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ทางสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตระหนักถึงความต้องการและความจําเป็นดังกล่าว จึงได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการพัฒนาความรู้ ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ในระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์, นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์, ที่ปรึกษาในสถาบันการศึกษาหรือสถานประกอบการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาประสบการณ์วิจัยชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์, ชีวโมเลกุลและเมแทบอลิซึม, ชีวเคมีพันธุศาสตร์, บูรณาการชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลในทางการแพทย์ ฯลฯ

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิจัย, นักวิชาการ, ครูและอาจารย์ในมหาวิทยาลัย, หรือทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://med.tu.ac.th/webmed/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคม

ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในงานสวัสดิการสังคม, ทฤษฎีองค์กรในงานสวัสดิการสังคม, การคิดวิเคราะห์และการวางแผนนโยบายสังคม ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการศึกษาในระดับมหาบัณฑิตศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคม มุ่งเน้นการสร้างและการพัฒนานักบริหาร นักวิเคราะห์นโนบายที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.spdtu.com/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางทฤษฏีและปฏิบัติของการบริหารธุรกิจและการบริหารทรัพยากรมนุษย์จากคณาจารย์และวิทยากรชั้นนำผู้เชี่ยวชาญ มีการใช้กรณีศึกษาและเกมส์จำลองทางธุรกิจ นักศึกษาสามารถจัดทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระเพื่อศึกษาปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในเชิงลึกในหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเน้นการใช้การวิจัยขั้นสูงเพื่อมองปัญหาทรัพยากรมนุษย์และแสวงหาคำตอบเพื่อการแก้ไขอย่างเป็นระบบอีกด้วย

ในโลกที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการบริหารทุนทางปัญญาที่ประสบความสำเร็จเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะสร้างแต้มต่อให้ธุรกิจในการแข่งขันบนเวทีโลกได้ เพื่อรองรับความต้องการขององค์กรธุรกิจในการผลิตนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ในการบริหารธุรกิจควบคู่ไปด้วยอย่างมืออาชีพ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.tbs.tu.ac.th , http://www.phd.tbs.tu.ac.th

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาแนวคิดและทฤษฎีการวิจัยทางประวัติศาสตร์ขั้นสูง, การพัฒนาแนวคิดและเค้าโครงวิทยานิพนธ์, การค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ขั้นสูง นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกทางด้านประเด็นศึกษาและด้านภูมิภาคให้เลือกตามความสนใจ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่งอาจารย์, นักวิชาการ, นักคิด, นักเขียน และนักวิจัยด้านประวัติศาสตร์ในหน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://arts.tu.ac.th/doctorate

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาภาวะผู้นำทางการพยาบาลในระบบบริการสุขภาพ, การพัฒนาทฤษฎีการพยาบาล, ปรัชญาวิทยาศาสตร์และพยาบาลศาสตร์, การออกแบบการวิจัยขั้นสูงทางการพยาบาล, ชีวิสถิติขั้นสูงทางสาธารณสุข

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิจัยทางการพยาบาลและสุขภาพ, นักบริหารการพยาบาล, นักวิชาการทางการพยาบาลและสุขภาพ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://nurse.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาสัมมนาและวิทยานิพนธ์ ซึ่งนำเสนอความก้าวหน้างานวิจัยในสาขาฟิสิกส์ในหัวข้อที่เกี่ยวกับการทำวิจัยสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ เนื้อหาที่นำเสนอต้องผ่านการสรุปผลเชิงวิเคราะห์อย่างมีขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหัวข้อทางฟิสิกส์ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ ตลอดจนประเด็นที่น่าสนใจ โดยใช้บทความและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิจัย, นักวิทยาศาสตร์, ครู อาจารย์ในสถาบันการศึกษาของภาครัฐและเอกชน, นักออกแบบผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์, อาชีพอิสระ เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาภาษาศาสตร์เปิดสอนมานานกว่า 3 ทศวรรษ มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ในองค์ความรู้ทางภาษาศาสตร์และสามารถนำไปประยุกต์เข้ากับศาสตร์แขนงอื่น ๆ เช่น การเรียนและการสอนภาษาจิตวิทยา สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ หลักสูตรฯ มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาผ่านการนำเสนอผลงานวิจัยและการตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ

ปัจจุบันนอกจากหลักสูตรปกติแล้ว ยังมีหลักสูตร ป.โท ต่อเนื่อง ป.เอก ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาระดับ ป.โท แล้ว ผู้เรียนสามารถศึกษาต่อในระดับ ป.เอก ได้ โดยได้รับการยกเว้นการเรียนรายวิชาบังคับของหลักสูตรฯ และเริ่มต้นพัฒนาหัวข้องานวิจัยที่สนใจ (การเรียนการสอนดำเนินการที่ มธ. ท่าพระจันทร์)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://arts.tu.ac.th/doctorate

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาประวัติศาสตร์ พัฒนาการแนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยา, แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยาร่วมสมัย, การวิจัยทางมานุษยวิทยา, มานุษยวิทยากายภาพ, โบราณคดีเชิงมานุษยวิทยา ฯลฯ ในระดับที่ลงลึกมากกว่าสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา

หลักสูตรนี้เน้นการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การศึกษาข้ามวัฒนธรรมและการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาทางวิชาการอย่างเต็มศักยภาพ นอกจากนี้ ยังเน้นการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างอาจารย์และนักศึกษาในประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน เพื่อสร้างบุคลากรทางวิชาการและการวิจัยให้แก่สังคม ซึ่งจะมีส่วนในการพัฒนาและเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://socanth.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาระบาดวิทยาคลินิก

การพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาระบาดวิทยาคลินิก มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ควบคู่คุณธรรม จริยธรรมและผลิตผลงานวิจัยทางคลินิกที่มีคุณภาพ หลักสูตรมุ่งเน้นให้นักศึกษาทําวิจัยที่ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางระบาดวิทยาคลินิกขั้นสูง เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางวิชาการที่ทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการด้านระบาดวิทยาคลินิกที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว นําองค์ความรู้จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วย

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิจัย, นักระบาดวิทยาคลินิก, อาจารย์, นักวิชาการ, ที่ปรึกษาทางการแพทย์ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน, ผู้ประสานงานโครงการวิจัยทางการแพทย์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://med.tu.ac.th/webmed/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับสาขาการเมืองเปรียบเทียบ ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มการเมืองเปรียบเทียบ, กลุ่มวิชาทฤษฎีการเมือง, กลุ่มวิชาสัมมนาเฉพาะประเด็น นอกจากนี้ยังมีสาขาการระหว่างประเทศ และสาขาการบริหารรัฐกิจและกิจสาธารณะ ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น กลุ่มวิชาเชิงเทคนิคและการจัดการ, กลุ่มวิชาเชิงนโยบายและการจัดการปกครอง เลือกเรียนตามความสนใจและความเกี่ยวข้อง

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ จะสร้างนักวิชาการและนักวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ที่มีความรู้ระดับสูงเกี่ยวกับทฤษฎี วิธีการศึกษา ตลอดถึงองค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ ของวิชารัฐศาสตร์ที่รู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการศึกษาวิจัยและค้นคว้าทางด้านรัฐศาสตร์ อันจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่สำหรับการศึกษารัฐศาสตร์ในประเทศไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นนักวิชาการ นักวิจัยในหน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของสังคมไทยในการก้าวเข้าสู่ศตวรรษใหม่

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.polsci.tu.ac.th/nw_polsci/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงสังคม พาณิชย์และอุตสาหกรรม, สัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และระเบียบวิธีวิจัยสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกในหมวดปัญญาประดิษฐ์, หมวดสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์, หมวดคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย, หมวดระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ, หมวดระบบสารสนเทศ หมวดภาษาโปรแกรม ฯลฯ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิจัย, อาจารย์มหาวิทยาลัย, นักวิเคราะห์ออกแบบระบบงาน, ผู้พัฒนาซอฟแวร์, นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ, ผู้จัดการซอฟแวร์, ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์  

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการสร้างโครงการวิจัยและการดำเนินงานวิจัยอันก่อให้เกิดความรู้ใหม่ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์, นักวิจัย, นักวิชาการ, นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการ, ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://med.tu.ac.th/webmed/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวคลินิก (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับชีวสถิติทางวิทยาศาสตร์ชีวคลินิก, ความรับผิดชอบและจริยธรรมในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวคลินิก นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจซึ่งแบ่งออกตามแขนงวิชาเซลล์ต้นกำเนิดและเวชศาสตร์การฟื้นสภาพ, แขนงวิชาเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์, แขนงวิชาชีววิทยาระดับโมเลกุล, แขนงวิชาจุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน, แขนงวิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยา เป็นต้น      

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์ในสถาบันการศึกษา, นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์, นักวิชาการ, ที่ปรึกษาในภาคเอกชนที่ต้องการบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ชีวคลินิก เช่น บริษัทผู้ผลิตยา ตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์, ผู้ประกอบการด้านวิทยาศาสตร์ชีวคลินิก

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cicm.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ในช่องปาก รวมทั้งการบูรณาการความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปากขั้นสูงและความรู้วิทยาศาสตร์และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาอธิบายสาเหตุของการเกิดโรคในช่องปากหรือพัฒนาแนวทางและวิธีการบำบัดรักษาและป้องกันโรคในช่องปากอย่างมีเหตุผล โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุน ซึ่งจะทำให้ทันตแพทย์มีศักยภาพการบำบัดรักษาและป้องกันโรคในช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผู้ศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปากขั้นสูงมีความรู้ความสามารถและมีคุณธรรม ก้าวทันต่อความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและผสมผสานกับการพัฒนาวิชาการทางทันตแพทยศาสตร์เฉพาะทางก่อให้เกิดศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.dentistry.tu.ac.th/Dentistry/index1.html

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการวิเคราะห์ความเสี่ยงในอาหาร, เคมีกลิ่นรส, วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์ขั้นสูง, จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรมอาหารขั้นสูง, จุลชีววิทยาระดับโมเลกุลในอาหารขั้นสูง, สารพิษในอาหาร, การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารขั้นสูง เป็นต้น

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในฝ่ายต่างๆ ของภาคอุตสาหกรรมอาหารหรือที่เกี่ยวข้อง เช่น การสอน การวิจัย การวิเคราะห์อาหาร การให้คำปรึกษา พัฒนาผลิตภัณฑ์ วางแผนและควบคุมการผลิต ควบคุมและประกันคุณภาพ การขาย และการกำหนดมาตรฐานอาหาร เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์ (พหุวิทยาการ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์เบื้องต้น, คณิตศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์, กายวิภาคศาสตร์, สรีรวิทยา พร้อมทั้งวิชาเลือกที่น่าสนใจ เช่น ชีวกลศาสตร์และวัสดุชีวภาพ, การประยุกต์ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ในชีวกลศาสตร์, ชีวกลศาสตร์ด้านการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์, การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบบูรณาการในวิศวกรรมการแพทย์, ชีวกลศาสตร์ของกระดูกและกล้ามเนื้อ ฯลฯ            

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง วิศวกร ตัวอย่างเช่น วิศวกรโรงงาน วิศวกรซ่อมบำรุง วิศวกรด้านการออกแบบ วิศวกรขายอุปกรณ์และเครื่องจักร, นักวิชาการ, นักวิจัย, นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน, นักเขียนโปรแกรม, นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมทางการแพทย์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาหัวข้อคัดสรรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ในด้านต่าง ๆ เช่น หมวดวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, หมวดวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, หมวดวิชาวิศวกรรมเคมี, หมวดวิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นต้น 

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง วิศวกร, นักวิชาการ, ที่ปรึกษาโครงการ, ผู้เชี่ยวชาญหรือประกอบอาชีพอิสระด้านวิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมอุตสาหการ, วิศวกรรมเคมี, วิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ 

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดการขาดแคลนบุคลากรในสาขาดังกล่าว

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://www.siit.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาหัวข้อขั้นสูงทางด้านวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศ, หัวข้อคัดสรรทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง, หัวข้อคัดสรรทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและการจัดการ, หัวข้อคัดสรรทางด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม, หัวข้อคัดสรรทางด้านวิศวกรรมขนส่ง, หัวข้อคัดสรรทางด้านวิศวกรรมชลศาสตร์และแหล่งน้ำ, หัวข้อคัดสรรทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง วิศวกร, นักวิชาการ, ที่ปรึกษาโครงการ, ผู้บริหารโครงการ และนักวิจัย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ (หลักสูตรนานาชาติ)

ในปัจจุบันแนวโน้มของผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตด้านสถิติและคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่สถาบันการศึกษาซึ่งเปิดสอนระดับดุษฎีบัณฑิตของประเทศไทยมีจำกัด ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตด้านสถิติรับใช้สังคมมาเป็นเวลานาน ตระหนักถึงความต้องการ และความจำเป็นในการขยายองค์ความรู้สถิติในระดับดุษฎีบัณฑิตโดยเฉพาะให้มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ จึงเกิดหลักสูตรนี้ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในสถาบันการศึกษา, ทำงานในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล, ทำงานในบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ, นักวิจัย, นักสถิติ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารวิทยา

ศึกษาเกี่ยวกับการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์, ทฤษฎีการสื่อสารขั้นสูง, การวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูงเพื่อการวิจัยการสื่อสาร, การวิจัยการสื่อสารเชิงคุณภาพขั้นสูง และการวิจัยการสื่อสารเชิงปริมาณขั้นสูง

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารวิทยา ต้องการพัฒนาและยกระดับการสื่อสารด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนให้ได้มาตรฐานในระดับสากลมากขึ้นทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง ตลอดจนมุ่งเน้นความรู้และการวิจัยขั้นสูง สามารถนำสังคมไปสู่การพัฒนาทั้งในระดับชาติและในระดับสากล

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.jc.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชามลพิษทางอากาศและการควบคุม, พิษวิทยาทางอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม, อาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม, สถิติและวิธีวิจัย เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์ที่เน้นด้านชีวอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม, นักวิจัย, นักวิชาการ, ที่ปรึกษา, ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานภาครัฐและ เอกชน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://fph.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาปัญหาพิเศษทางเคมี, เคมีแนวหน้า, ความปลอดภัยทางเคมีและการจัดการความเสี่ยง, การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์, โครงสร้างสารอินทรีย์, โครงสร้างและหน้าที่ระดับโมเลกุล เป็นต้น

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิชาการ, นักวิจัย, นักวิทยาศาสตร์, รับราชการในภาครัฐหรือทำงานวิจัยระดับสูงในภาคอุตสาหกรรม, ผู้บริหาร, นักธุรกิจ, หรือประกอบอาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเซลล์ต้นกำเนิดและอณูชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการสร้างโครงการวิจัยและการดำเนินงานวิจัยอันก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาเซลล์ต้นกำเนิดและอณูชีววิทยา เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับหัวข้อทางด้านเซลล์ต้นกำเนิดและอณูชีววิทยา หรือนวัตกรรมและนำเสนอวิทยานิพนธ์ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานลงในวารสาร

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิจัยด้านเซลล์ต้นกำเนิดและอณูชีววิทยาทางการแพทย์, อาจารย์มหาวิทยาลัย, ผู้เชี่ยวชาญด้านเซลล์ต้นกำเนิดและอณูชีววิทยา, นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการ, พนักงานธุรกิจด้านเซลล์ต้นกำเนิดและอณูชีววิทยาทางการแพทย์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://med.tu.ac.th/webmed/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการจัดการกระบวนการอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน, การจัดการพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม, สถิติและเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม, เทคโนโลยีสะอาด เป็นต้น ซึ่งผู้ที่จะศึกษาในหลักสูตรนี้จะต้องผ่านการศึกษาในระดับชั้นปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม หรือสาขาวิชาที่ทางคณะกรรมการจะเห็นชอบ

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง วิศวกร, นักวิจัย, นักวิเคราะห์โครงการ, ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง, กระบวนทัศน์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ, ระเบียบการวิจัยและการวางแผนการทดลอง นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกในกลุ่มวิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุล, กลุ่มวิชาอุตสาหกรรมและการประกอบการ สามารถเลือกได้ตามความสนใจ

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์, นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์, พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ, ผู้ประกอบการ, ลูกจ้างตามสถานประกอบการ, อาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาทฤษฎีและแนวคิดสำหรับเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว, แนวคิดและหลักการเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว, การบูรณาการการสร้างนวัตกรรมสุขภาพในชุมชน : สังคมศาสตร์การแพทย์ ประชากรศาสตร์, นโยบายและการวางแผนสุขภาพ, ระบบบริการสุขภาพ, หลักการดูแลสุขภาพครอบครัว, การสื่อสารสุขภาพ, สัมมนาเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้ที่ศึกษาสาขานี้ มีความรู้ความสามารถ ประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และจัดการองค์ความรู้เรื่องสุขภาพของสังคมในระดับ ครอบครัว และชุมชนขั้นสูง สามารถสร้างงานวิจัยใหม่โดยบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาสุขภาพของสังคมในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ สามารถแก้ปัญหาสุขภาพของสังคมในระดับ ครอบครัว และชุมชนได้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://med.tu.ac.th/webmed/

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา เน้นการศึกษา วิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ ในระดับสูง รวมทั้งการผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง ซึ่งสามารถนำไปเผยแพร่เพื่อเป็นการให้ความรู้ สร้างบุคลากรให้มีคุณภาพ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมไทยต่อไป จึงกล่าวได้ว่าหลักสูตรนี้มีทิศทางที่สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างแท้จริง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://arts.tu.ac.th/doctorate

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย

หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยสร้างบัณฑิตที่มีองค์ความรู้และความ เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการวิจัยด้านภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรมไทยในระดับสูง มีความสามารถในการ สร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการเชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์ เน้นการสร้างนวัตกรรมการ เรียนรู้ภาษาและสังคมวัฒนธรรมไทย
ที่เหมาะสมกับวิถีในยุคดิจิทัลรวมไปถึงการทำให้ภาษาไทยซึ่งเป็น เอกลักษณ์ของชาติเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://arts.tu.ac.th/doctorate

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการวิจัยทางการพยาบาล, การรักษาโรคเบื้องต้น, การจัดการภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินและการบาดเจ็บ, การดูแลชุมชน เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้จะมีความรู้และทักษะในการประเมินภาวะสุขภาพเชิงลึก สามารถดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน เจ็บป่วยเรื้อรัง และรุนแรง จนถึงภาวะเจ็บป่วยวิกฤตและเจ็บป่วยในระยะสุดท้ายได้ และสามารถวิเคราะห์วินิจฉัยภาวะสุขภาพ การตัดสินใจทางคลินิกและวางแผนการพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาในผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://nurse.tu.ac.th/

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาสำหรับการพยาบาลขั้นสูง, ภาวะผู้นำและการจัดการทางการพยาบาล, การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงทางจิตเวชและสุขภาพจิต, จิตเภสัชบำบัด และการพยาบาลเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิต เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้จะมีความรู้อย่างลึกซึ้งในเนื้อหาสาระของศาสตร์ทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต รวมทั้งแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวของในการปฏิบัติการพยาบาล และสามารถใช้ความรู้เหล่านี้วิเคราะห์ เพื่อประเมินผล วางแผน และให้การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวชและสุขภาพจิตที่ซับซ้อนทั้งในครอบครัวและชุมชนได้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://nurse.tu.ac.th/

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาทฤษฎีสำหรับการพยาบาลขั้นสูง, ภาวะผู้นำและการจัดการทางการพยาบาล, การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูง, พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาคลินิก เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้จะมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกอย่างเป็นองค์รวมในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และทราบถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ทั้งปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวบุคคล สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม วัฒนธรรม นโยบายสุขภาพและระบบบริการสาธารณสุขอย่างครอบคลุม รวมถึงหลักการพยาบาลต่างวัฒนธรรม โดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่ได้อย่างเหมาะสม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://nurse.tu.ac.th/

พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองเพื่อการพัฒนาชุมชน สังคมและท้องถิ่นทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กระบวนทัศน์ ทฤษฎีและวาทกรรมว่าด้วยการพัฒนาชุมชน รวมถึงแนวคิดประเด็นใหม่ ๆ ในการพัฒนาที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างพลังความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งต้องใช้ยุทธศาสตร์และกระบวนการพัฒนาชุมชน นโยบายและการวางแผน ตลอดจนเทคนิคในการวิเคราะห์นโยบายเพื่อการพัฒนาทั้งในระดับประเทศ พื้นที่และชุมชน รวมทั้งการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ กระบวนการจัดทำแผนงาน โครงการ และการผลักดันเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย

หลักสูตรพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิตมุ่งเน้นผลิตผู้ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อส่งเสริมพลังความสามารถของคน ชุมชน สังคมและท้องถิ่น หลักสูตรพัฒนาชุมชนมุ่งพัฒนาบุคลากรของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรชุมชน รวมทั้งองค์กรภาคธุรกิจ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชุมชน ให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทของของสังคมได้อย่างบูรณาการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.spdtu.com/

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์, ความรู้เบื้องต้นทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, ความรู้เบื้องต้นทางการบริหารรัฐกิจ สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านรัฐศาสตร์ ตามด้วยการศึกษาเกี่ยวกับวิธีวิทยาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณทางสังคมศาสตร์, ทฤษฎีและการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจตามแต่ละสาขา อาทิเช่น สาขาการปกครอง, สาขาการระหว่างประเทศและการทูต, สาขาการบริหารรัฐกิจ เป็นต้น

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิตมุ่งสร้างมหาบัณฑิตที่มีความรอบรู้ด้านการเมืองการปกครอง การระหว่างประเทศและการทูต และการบริหารรัฐกิจ ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวความคิด ทฤษฎี กระบวนการ และการบริหารจัดการต่าง ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนากรอบแนวทางในการแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมการเมืองในมิติต่าง ๆ ให้เป็นองค์กรแห่งความรู้ที่สามารถปรับตัวไปตามสภาวการณ์และบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในประเทศไทยและในประชาคมโลก

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.polsci.tu.ac.th/nw_polsci/

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง สำหรับนักบริหาร

ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาประยุกต์ในเรื่องการจัดการทางการเมือง, การค้นคว้าและวิจัยทางการจัดการทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลง, การออกแบบโครงสร้างและสถาบันทางการเมือง, การเมืองการปกครองไทย, การเมืองว่าด้วยการจัดการนโยบายสาธารณะ และพลวัตรทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง สำหรับนักบริหาร เกิดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม รวมถึงการสร้างความเข้าใจในความหมายของการเป็นผู้มีจิตสาธารณะ มีจริยธรรม และมีความสามารถในการนำทางการเมืองและการบริหาร

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.polsci.tu.ac.th/nw_polsci/

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ภาคภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาเฉพาะเรื่องทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, วิธีการและการออกแบบการวิจัยในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและแนวศึกษาและการปฏิบัติ, พลวัตโลกและนโยบายต่างประเทศในด้านความสำเร็จ ความท้าทายและนวัตกรรม, ความร่วมมือและสถาบันระดับโลก, ศึกษาเกี่ยวกับรัฐ การตลาดและโลกาภิวัตน์

คณะรัฐศาสตร์ ได้ก่อตั้งโครงการรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2541 โดยสอนเป็นภาษาอังกฤษ มีเป้าหมายที่จะสอนนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เข้าใจและเตรียมตัวต่อความท้าทายอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทั้งในระดับระดับภูมิภาคและระดับโลก  

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.polsci.tu.ac.th/nw_polsci/

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะสำหรับนักบริหาร

ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์และความเสี่ยงเพื่อการเปลี่ยนแปลง, ศึกษาขอบข่ายของการบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ, การบริหารองค์การสาธารณะ, การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์, การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะในสังคมประชาธิปไตย และการบริหารการเงินการคลังสาธารณะ

สร้างบุคลากรทางการบริหารที่มีความพร้อมในการทำงานรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศและบริบทโลก โดยมุ่ง ให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่ประเทศต้องการนักบริหารที่มีความเพียบพร้อมทั้งในด้านความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ทันสมัย ทักษะในการบริหารสมัยใหม่ คุณธรรมจริยธรรมในการบริหาร หลักสูตรดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญในการเสริมความเข้มแข็งของสังคมในประเด็นดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.polsci.tu.ac.th/nw_polsci/

วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร

ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสารและการประยุกต์, การวิจัยทางการสื่อสารเชิงปริมาณ, การวิจัยทางการสื่อสารเชิงคุณภาพ, หลักการจัดการการสื่อสารองค์กร, พฤติกรรมองค์กรกับการสื่อสาร, กฎหมายและจริยธรรมการจัดการการสื่อสารองค์กร และสัมมนาการจัดการการสื่อสารองค์กร

หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรในระดับมหาบัณฑิตให้มีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถในการจัดการการสื่อสารให้มีความถูกต้องเหมาะสมตามคุณสมบัติและศักยภาพของสื่อ และสอดคล้องกับลักษณะและวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยพิจารณาจากสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร อีกทั้งสามารถนำเอาความรู้ความสามารถไปใช้ในเชิงปฏิบัติการจัดการการสื่อสารในภาครัฐและเอกชน และมีลักษณะความเป็นผู้นำที่มีจริยธรรม สามารถบริหารงานภายในและภายนอกองค์กร พร้อมทั้งมีวิจัยทัศน์ในการวางแผนเพื่ออนาคต

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.jc.tu.ac.th/

วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน

ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีประยุกต์เพื่อการบริหารสื่อสารมวลชน, การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อการบริหารสื่อสารมวลชน, การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการบริหารสื่อสารมวลชน, กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสารมวลชน

หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน เหมาะสำหรับผู้บริหารที่จะพัฒนาศักยภาพในเชิงการบริหารงานและการจัดการธุรกิจและองค์กรให้ประสบความสำเร็จ โดยจะเน้นเรื่องของการสร้างเสริมความสามารถ ความรอบรู้ และวิสัยทัศน์ ตลอดจนความสามารถในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เข้ากับวิชาชีพอันเป็นคุณลักษณะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักบริหารด้านสื่อสารมวลชนในยุคข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดนในปัจจุบันและอนาคต

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.jc.tu.ac.th/

วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน

ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีสื่อสารมวลชน, สัมมนาบทบาทสื่อมวลชนในบริบทความเปลี่ยนแปลงทางสังคม, สัมมนาการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและวิธีวิทยาในการวิจัยสื่อสารมวลชน

หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญทางด้านการวิจัย ด้านการสื่อสารมวลชน ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา การวางนโยบาย และการวางแผนด้านการสื่อสาร เพื่อพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง สังคม การศึกษา การสาธารณสุข วัฒนธรรม ฯลฯ การศึกษาจะเป็นในลักษณะสหวิชา เพื่อจะเอื้ออำนวยให้มหาบัณฑิตมีความรับผิดชอบ รอบรู้ สามารถปฏิบัติงานในระดับนโยบายและหัวหน้าในหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวกับสื่อสารมวลชน ตลอดจนงานสอนหรือวิจัยทางด้านสื่อสารมวลชน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.jc.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด

ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการและวิจัย เพื่อให้ผู้ที่ศึกษามีศักยภาพในการทำวิจัยทางกายภาพบำบัดและสาขาที่เกี่ยวข้อง สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัยและการประกอบวิชาชีพอย่างมีวินัยและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแสวงหาความรู้ที่ทันสมัยทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่งของโรงพยาบาล หรือสโมสรกีฬาต่าง ๆ ทางด้านกายภาพบำบัด

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://allied.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ จัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)  

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาเมืองและอนาคต, กลยุทธ์การออกแบบและวางแผน, ทักษะการวิจัยและกระบวนการตั้งคำถาม นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจ เช่น การบริหารจัดการโครงการ, ความยั่งยืนโครงการ, การจัดการความเสี่ยงโครงการ, คุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ, ภาวะผู้นำในการจัดการออกแบบ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายออกแบบและพัฒนา, ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนาความยั่งยืน, ผู้ประกอบการสร้างสรรค์อิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://w2.tds.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์

ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 หมวดวิชา ได้แก่ หมวดวิชาเทคโนโลยีและระบบเกษตรอินทรีย์, หมวดวิชาการตลาดและการประกอบการ, หมวดวิชาภูมิปัญญาท้องถิ่นและการพึ่งตนเอง, หมวดวิชาเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์

เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในเชิงสหวิทยาการด้านการวิจัยทางด้านเกษตรอินทรีย์แบบบูรณาการ โดยเน้นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกร ให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย สามารถประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยและองค์ความรู้ส่งเสริมการบริหารการจัดการเกษตรอินทรีย์ในระดับท้องถิ่นและประเทศชาติ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการจัดการนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยี, การตลาดเชิงนวัตกรรมและการจัดการตราผลิตภัณฑ์, เศรษฐศาสตร์เทคโนโลยี, การเงินและการบัญชีเพื่อการบริหารเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังศึกษาการวางแผนเงินทุนและการกำกับดูแลการลงทุน กลยุทธ์นวัตกรรมธุรกิจและความเป็นผู้ประกอบการ และการตัดสินใจในงานบริหารเทคโนโลยี

ด้วยคณาจารย์และวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญจากหลากหลายวงการ และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยีที่ตอบสนองต่อกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป มีการประยุกต์เชิงวิชาการและภาคปฏิบัติเข้าด้วยกัน ผสมผสานองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการและด้านเทคโนโลยีไว้อย่างลงตัว ทำให้ผู้ศึกษาในสาขานี้จะได้รับความรู้อย่างสมบูรณ์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.citu.tu.ac.th/home

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบการจัดการบริการ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการบริการ โดยผสมผสานศาสตร์จากหลากหลายองค์ความรู้ อาทิ การจัดการงานบริการ การจัดการธุรกิจและองค์กร นวัตกรรมการบริการและการออกแบบระบบบริการเฉพาะทาง และความรู้ด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรด้านการเงินและทรัพยากรบุคคล การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ การจัดการองค์ความรู้และใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างรอบด้าน การพัฒนาการคิดเชิงออกแบบเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพระดับการจัดการของภาคอุตสาหกรรมการบริการในด้านต่างๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน เช่น ผู้จัดการโรงแรม ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจสปา ผู้จัดการฝ่ายบริการของโรงพยาบาล ผู้จัดการฝ่ายบริการของธนาคาร สถาบันการเงิน ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์บริการโทรคมนาคม การติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.citu.tu.ac.th/home

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ)  

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการผลิตแอนิเมชั่นขั้นสูง, หลักการตลาดสื่อดิจิทัล, การพัฒนาบทประพันธ์และบทโต้ตอบสำหรับสื่อดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกทางด้านแอนิเมชั่นและวิชวลเอฟเฟ็กต์, ด้านศิลปะและออกแบบเกม อีกด้วย

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักออกแบบกราฟิก, นักออกแบบภาพประกอบ, นักออกแบบเว็บ, นักออกแบบโปรแกรมประยุกต์, แอนิเมเตอร์, นักออกแบบผลิตภัณฑ์, นักออกแบบเกม, ผู้อำนวยการงานสร้างสรรค์, ผู้อำนวยการโปรดิวเซอร์, ผู้อำนวยการด้านเทคนิค, ผู้ทำหุ่นจำลอง, ริคเกอร์ (Rigger)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับการเงิน, เศรษฐมิติเบื้องต้น,หลักเศรษฐศาสตร์, ความรู้เบื้องต้นทางบัญชีและการเงิน สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านการเงินมาก่อน เพื่อเสริมพื้นฐานให้เท่าเทียมกัน ตามมาด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์งบการเงิน, การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์จุลภาค, ตลาดทุนและนโยบายเศรษฐกิจมหภาค, ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเงิน, ทฤษฎีการเงินธุรกิจ, การเงินระหว่างประเทศ, การลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง ผู้จัดการการเงิน, ผู้จัดการกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน, นักวิเคราะห์หลักทรัพย์, นักวิเคราะห์ทางการเงิน, วิศวกรทางการเงิน, ผู้บรรยายทางการเงิน, เจ้าหน้าที่ผู้กำกับและดูแลระบบและสถาบันการเงิน ฯลฯ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.tbs.tu.ac.th , http://www.mif.tbs.tu.ac.th

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์บูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาความรับผิดชอบและจริยธรรมในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวคลินิก, วิทยาศาสตร์ชีวภาพเชิงระบบ, แนวความคิดปัจจุบันทางเซลล์ต้นกำเนิดและเวชศาสตร์การฟื้นสภาพ, เทคนิคการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด  เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์ในสถาบันการศึกษา, นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์, นักวิชาการ, ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์บูรณาการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cicm.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาวิธีวิทยาการวิจัยและจริยธรรม, สถิติประยุกต์, สัมมนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร, วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบจากตำรา วารสาร สิ่งพิมพ์ และสื่อในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์, หลักการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย เวชกรรมไทย เภสัชกรรมแผนไทย การนวดแผนไทยและการประยุกต์ สมุนไพรไทยและยาพื้นบ้าน เปรียบเทียบการใช้ยาสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์, นักวิชาการ, นักวิจัยทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์และสมนุ ไพร ในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตร

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://med.tu.ac.th/webmed/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาพีชคณิตนามธรรม, พีชคณิตเชิงเส้น, การวิเคราะห์เชิงเส้น และสัมมนาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านนี้มาก่อนสามารถลงวิชาเสริมพื้นฐานได้

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักคณิตศาสตร์, คณิตศาสตร์ประยุกต์, นักสถิติ, คอมพิวเตอร์, นักฟิสิกส์, นักฟิสิกส์อิเลคทรอนิคส์ หรือวิศวกร

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์การจัดการ (ตรีควบโท)  

ศึกษาเกี่ยวกับงานวิจัยทางด้านคณิตศาสตร์การจัดการภายใต้การดูแลและให้คําปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์โดยจะครอบคลุมจริยธรรมในการทํางานวิจัย การเขียน และการนําเสนอวิทยานิพนธ์ การเขียนรายงานการวิจัยและการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิเคราะห์ระบบงานในด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจ, นักวิเคราะห์แผนงาน, นักวิจัย, นักวิชาการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://www.siit.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีวโมเลกุลและเมแทบอลิซึม ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับสารชีวโมเลกุลในสิ่งมีชีวิต เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน กรดนิวคลีอิก เป็นต้น และยังศึกษาชีวเคมีพันธุศาสตร์ ซึ่งเป็นกลไกและหลักการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรม การกลายพันธุ์และการซ่อมแซมดีเอ็นเอ การควบคุมการแสดงออกของยีนส์ การวิเคราะห์ดีเอ็นเอ ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติระดับยีนส์และโครโมโซม ฯลฯ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิจัย, นักวาการ, ครู และอาจารย์ในหมาวิทยาลัยทั้งภาครัฐ บริษัทเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://med.tu.ac.th/webmed/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีววิทยาระดับโมเลกุลและเซลล์วิทยา, โรคเขตร้อน, ชีวสถิติ นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจ เช่น วิทยาภูมิคุ้มกัน, จุลชีววิทยาระดับโมเลกุล, พันธุวิศวกรรมศาสตร์, พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์ในสถาบันการศึกษา, นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์, ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาในภาคเอกชนที่ต้องใช้ความรู้เชิงชีวเวชศาสตร์ เช่น บริษัทผู้ผลิตยา บริษัท ตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์, ผู้ประกอบการซึ่งต้องใช้ความรู้เชิงชีวเวชศาสตร์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://allied.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาหลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, เครื่องมือและเทคนิคในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, ตจวิทยาคลินิกทั่วไป, คลินิกตจวิทยา เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง แพทย์ที่สามารถตรวจรักษาผู้ป่วยด้านผิวหนังอย่างมีขั้นตอนที่ถูกต้องประจำโรงพยาบาลรัฐบาล เอกชน และคลินิก

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cicm.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมผู้สูงอายุ (หลักสูตรทวิภาษา)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุสำหรับทันตแพทย์, การดูแลสุขภาพองค์รวมในผู้สูงอายุ, การประเมินและตรวจร่างกาย, ตรวจบริเวณศีรษะ ลำคอและช่องปาก, การวินิจฉัยแยกโรคระหว่างลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่พบได้ปกติในช่องปากและรอยโรคที่ผิดปกติในช่องปาก เป็นต้น

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการผลิตผู้มีความรู้ความชำนาญด้านทันตกรรมผู้สูงอายุที่พร้อมให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความยุ่งยากซับซ้อนหรือมีความต้องการพิเศษ นอกจากนี้ ยังเป็นผู้นำในการจัดการศึกษาด้านทันตกรรมผู้สูงอายุให้กับทันตบุคลากรและสหวิชาชีพด้านสาธารณสุข และเป็นผู้ให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุกับประชาชนทั่วไป

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.dentistry.tu.ac.th/Dentistry/index1.html

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมรากเทียม (หลักสูตรทวิภาษา) 

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีวสถิติ, ชีววิทยาของกระดูก ส่วนประกอบพื้นฐานของโครงสร้างของกระดูก, ทันตชีววัสดุศาสตร์ขั้นสูง คลินิกทันตกรรมรากเทียม, วัสดุพื้นฐานสำหรับงานทันตกรรมประดิษฐ์และทันตกรรมรากเทียม, ศัลยศาสตร์พื้นฐานสำหรับทันตกรรมรากเทียม, พื้นฐานศัลยศาสตร์สำหรับงานทันตกรรมรากเทียมและการควบคุมการติดเชื้อ เป็นต้น

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถให้บริการทันตกรรมรากเทียมแบบบูรณาการ และสามารถให้บริการทันตกรรมรากเทียมทั้งระบบของไทยและต่างประเทศ และสามารถผลิตผลงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยเน้นงานวิจัยและพัฒนา (R&D) นวัตกรรมรากเทียมไทย นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำในการผลิตมหาบัณฑิตด้านทันตกรรมรากเทียมแก่ภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.dentistry.tu.ac.th/Dentistry/index1.html

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีววิทยาช่องปาก, พยาธิสรีรวิทยาช่องปากและทันตวิทยามะเร็ง, กายวิภาคศาสตร์ของใบหน้าช่องปาก และวิทยามะเร็ง, โอษฐ์วิทยาประยุกต์, ชีวสถิติ เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง ทันตแพทย์ผู้มีทักษะขั้นสูง ในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาตามวิชาเอก, นักวิจัย ผู้ถ่ายทอดความรู้ในสถานศึกษา

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.dentistry.tu.ac.th/Dentistry/index1.html

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดทางธุรกิจหลัก ๆ แล้วยังศึกษาอย่างลึกซึ้งในกลยุทธ์และเทคนิคของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น การบริหารโครงการ  การประเมินมูลค่า การศึกษาความเป็นไปได้ การลงทุนและการพัฒนา ฯลฯ

จุดเด่นของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือเป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทย คือ การบูรณาการความรู้ทุกแขนงมาสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บางวิชาในหลักสูตรมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษโดยนักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติเพื่อให้นักศึกษารู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของโลกและมองเห็น โอกาสใหม่ ๆ ในตลาดต่างประเทศอีกด้วย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tbs.tu.ac.th , http://www.re.tbs.tu.ac.th

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการบริการสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการบริการด้านสุขภาพในระดับสากล โดยผสมผสานศาสตร์จากหลากหลายองค์ความรู้ อาทิ การจัดการงานบริการองค์รวม การจัดการธุรกิจและองค์กรที่มุ่งเน้นการให้บริการสุขภาพ การจัดการสุขภาพ การออกแบบระบบการให้บริการสุขภาพ และความรู้ด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรด้านการเงินและทรัพยากรบุคคล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการสุขภาพ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง การจัดการของภาคอุตสาหกรรม การบริการในด้านต่างๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน เช่น ผู้บริหารโรงพยาบาล, ผู้บริหารองค์กรสุขภาพ, ผู้บริหารบริษัทยา, ผู้บริหารบริษัทหรือองค์กรด้านสุขภาพ, อาจารย์ และนักวิชาการ, บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น แพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกร, เทคนิคการแพทย์, พยาบาล, นักสาธารณสุข, นักวิจัย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.citu.tu.ac.th

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาหลักการและแนวคิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, กฎหมายและภาษี เพื่อการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์, การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอสังหาริมทรัพย์, ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และการตลาดเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

มุ่งเน้นมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเชิงกายภาพและสภาพแวดล้อม ควบคู่กับความสามารถด้านธุรกิจและการบริหารจัดการให้มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการด้านอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างบูรณาการพร้อมในการแข่งขันในระดับประเทศและระดับนานาชาติ มีความเข้าใจการแก้ปัญหาในหลายมิติ และช่วยนำพาโครงการให้บรรลุเป้าหมายแห่งความสมดุลอย่างยั่งยืน และมีความพร้อมในการเป็นผู้นำทางวิชาชีพ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://w2.tds.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีวัสดุ

ศึกษาเกี่ยวกับวิชากระบวนการผลิตวัสดุขั้นสูง, การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมวัสดุ, การหาลักษณะเฉพาะของวัสดุขั้นสูง นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจ เช่น กระบวนการผลิตเหล็กกล้าอุณหภูมิสูง, โลหะผสมเชิงอุตสาหกรรม, วัสดุเซรามิกขั้นสูงและการประยุกต์ ฯลฯ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิจัยและพัฒนาวัสดุ, ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีวัสดุ ฯลฯ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์  

ศึกษาเกี่ยวกับวิชากฎหมายลักษณะพยาน, จริยธรรมและหลักการทางนิติวิทยาศาสตร์, เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมสำหรับนิติวิทยาศาสตร์, นิติเวชศาสตร์และนิติพยาธิวิทยา, การพิสูจน์หลักฐานและการวิเคราะห์อาชญากรรม

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่งของโรงพยาบาลหรือสำนักงานตำรวจ ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://allied.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารดิจิทัล

ศึกษาเกี่ยวกับการเน้นองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในด้านนโยบายและการบริหารดิจิทัล เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรให้ตอบรับกับเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผสานองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดการ ตลอดจนด้านกฎหมายและจริยธรรม เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งสร้างกระบวนการเรียนรู้ในเชิงรุก โดยหลักสูตรได้มีการนำงานวิจัยทางด้านนโยบายและการบริหารเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ มาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์และเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรนี้ มหาบัณฑิตจะได้นำความรู้ไปใช้ในแง่ของการขับเคลื่อนผลักดันจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเป็นผู้ผลักดันให้ประเทศ รัฐบาล และเอกชน มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีมาตรฐานจากการใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มและศักยภาพการแข่งขันในระดับสากล และเพื่อการขับเคลื่อนทุกมิติของเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การผลิต และการบริการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.citu.tu.ac.th/home

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพฤฒาวิทยาสังคม (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาบทนำสู่พฤฒาวิทยาสังคม, การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจ เช่น การดูแลแบบประคับประคองในผู้สูงอายุ, การพัฒนาเครื่องมือในการประเมินสุขภาวะ, การฝึกปฏิบัติทางพฤฒาวิทยาสังคม เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์ในสถาบันการศึกษา, นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์, นักพัฒนา

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cicm.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชากลศาสตร์คลาสสิก, ไฟฟ้าพลศาสตร์คลาสสิก, กลศาสตร์ควอนตัม, กลศาสตร์เชิงสถิติ, วิธีการทางคณิตศาสตร์ในฟิสิกส์

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการผลิตบุคลากรทางด้านฟิสิกส์เพื่อสนับสนุนนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและด้านการศึกษาของรัฐบาล เพื่อให้มีความสามารถในการค้นคว้าวิจัยและบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างอิสระและต่อเนื่อง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างผู้บริหารที่รู้ลึกเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศควบคู่กับความรู้ด้านการบริหาร จึงเหมาะกับผู้ที่ทำงานทั้งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านบริหาร เพื่อให้เป็นนักบริหารที่มีทักษะแตกต่างจากผู้บริหารทั่วไป ซึ่งกำลังมีความต้องการอย่างมากในปัจจุบัน  หลักสูตรนี้จึงเน้นการบริหารองค์กร และการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร การเรียนการสอนส่วนใหญ่เป็นการศึกษาจากกรณีศึกษาจริง เพื่อให้สามารถประยุกต์ทฤษฎีนำไปใช้ในการบริหารจริงได้ โดยรับนักศึกษารุ่นละไม่เกิน 60 คน

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ พยายามพัฒนาบุคลากรและผู้สนใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เข้าใจและสามารถประยุกต์เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนกลยุทธ์และบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ นอกจากนี้ยังพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นผู้บริหารระดับสูงในฝ่ายงานเทคโนโลยีอีกด้วย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.tbs.tu.ac.th http://www.mis.tbs.tu.ac.th

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบาดวิทยาคลินิก

ศึกษาเกี่ยวกับสาขาวิชาระบาดวิทยาคลินิกขั้นสูง อย่างประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษา, การพยากรณ์ สมุฏฐานของโรค, การศึกษาวิเคราะห์เมต้าหรือการวิเคราะห์แบบอภิมาน, การศึกษาทางเลือกและเศรษฐกิจทางคลีนิก, รวมทั้งวิพากษ์และประเมินคุณค่าการศึกษาแต่ละรูปแบบ, การวิเคราะห์ข้อมูลระบาดวิทยาคลินิกขั้นสูง และสัมมนาระบาดวิทยาคลินิก

ระบาดวิทยาเป็นศาสตร์เพื่อตอบคำถามทางคลินิกด้านสมุฏฐานของโรค การวินิจฉัยโรค การดูแลรักษา การพยากรณ์ การพัฒนา และหาวิธีป้องกัน ถือเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจทางคลินิก โดยมุ่งประเด็นของความเกี่ยวข้องกันระหว่างการเกิดโรค ผลที่ตามมาและสาเหตุ นอกจากนี้ยังสามารถบูรณาการกับศาสตร์ด้านการแพทย์คลินิก สถิติศาสตร์คลินิก และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประโยชน์สูงสุดในเวชปฏิบัติทางคลินิก การดูแลรักษาผู้ป่วย การป้องกันโรค และการกำหนดนโยบายด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://med.tu.ac.th/webmed/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาเครื่องมือซอฟต์แวร์สําหรับงานวิจัย, การวิเคราะห์อัลกอริทึม, ทฤษฎีการคํานวณ, สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ระบบ

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศเป็นอย่างมาก ปัจจุบันยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในการทํางานวิจัยและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาด้านชีววิทยาระดับเซลล์และอณูชีววิทยา, ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, ด้านสรีรวิทยาคลีนิก, ด้านเภสัชโภชนศาสตร์ เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์, นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์, นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการ, ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://med.tu.ac.th/webmed/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวคลินิก (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการแพทย์บูรณาการเบื้องต้น, การแพทย์บูรณาการ, ปัญหาพิเศษทางการแพทย์บูรณาการ, ระเบียบวิธีวิจัยทางการแพทย์บูรณาการ นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจ เช่น การแพทย์แบบดั้งเดิม, การรักษาแบบประคับประคอง, อาหารสมุนไพรบำบัดโรค, เซลล์บำบัด เป็นต้น      

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์ในสถาบันการศึกษา, นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์, นักวิชาการ, ที่ปรึกษาในภาคเอกชนที่ต้องการบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ชีวคลินิก เช่น บริษัทผู้ผลิตยา ตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์, ผู้ประกอบการด้านวิทยาศาสตร์ชีวคลินิก

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cicm.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาสิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศวิทยา, เศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม, เทคโนโลยีที่ใช้ควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, การวิจัยเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม, บัณฑิตสัมมนา, การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการจัดการสิ่งแวดล้อมขั้นสูง

หลักสูตรนี้มีขึ้นเพื่อผลิตนักวิชาการที่สามารถวางแผนจัดการและแก้ปัญหาและค้นคว้าวิจัยในการจัดการและควบคุม สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมตรวจสอบ วิเคราะห์ ดำเนินการ และบํารุงรักษาระบบบําบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดของเสียหรืออุปกรณ์เครื่องมือใช้สําหรับการควบคุม บําบัดหรือกำจัดมลพิษอื่น ๆ รวมทั้งมีความสามารถในการให้บริการบําบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสีย หรือตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาเทคนิคเครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านเภสัชกรรม และปัญหาพิเศษทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยการผลิตตัวยาใหม่, ตํารับยาและระบบนําส่งยาใหม่, การพัฒนายาและเครื่องสําอาง, การควบคุมการผลิตยาและเภสัชภัณฑ์ต่าง ๆ ตามข้อกําหนดภายใต้กฎหมาย, การวิจัยและพัฒนายาใหม่ จากการสังเคราะห์ทางเคมีจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ รวมทั้งการศึกษาการออกฤทธิ์และความเป็นพิษของยา

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้ศึกษามีความรู้ความสามารถทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม สามารถปฏิบัติงานด้านการวิจัยและพัฒนา และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยา เภสัชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.pharm.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการวางแผนการทดลองสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, การวิเคราะห์อาหาร, สัมมนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน, นักวิจัยในหน่วยงานราชการ และเอกชน, นักวิเคราะห์อาหาร, นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร, นักการตลาด, พนักงานฝ่ายขาย, พนักงานฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต, พนักงานฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรฐานอาหาร

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์

ศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรซึ่งประกอบไปด้วย 4 กลุ่มวิชา ได้แก่ ชีวกลศาสตร์ (Biomechanics), การประมวลผลสัญญาณทางการแพทย์ (Biomedical Signal Processing), ปัจจัยมนุษย์ในงานวิศวกรรมและการยศาสตร์ (Human Factor in Engineering and Ergonomics), การจำลองทางสรีรวิทยาและวิศวกรรมทางการแพทย์ Physiological & Medical Engineering Modeling)

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง วิศวกร, นักวิจัย นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมทางการแพทย์, นักวิเคราะห์และออกแบบ, นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมทางการแพทย์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาวัสดุชนิดใหม่ หรือการปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุให้ตอบสนองความต้องการของสังคมในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ งานวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านเคมีฟิสิกส์ของอาหาร การวิจัยผู้บริโภคและการประเมินทางประสาทสัมผัส การจัดอบรม ให้คำปรึกษา และบริการตรวจวิเคราะห์ให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งประกอบด้วยสาขาที่หลากหลาย เป็นงานวิจัยทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงประยุกต์เพื่อสามารถนำไปใช้ได้จริงในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และการจัดการให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย และดำเนินงานบริการทางวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://www.siit.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาทฤษฎีความน่าจะเป็น, ทฤษฎีการอนุมานเชิงสถิติ, การวิเคราะห์เชิงสถิติ, การออกแบบการทดลอง, การวิเคราะห์หลายตัวแปร, การวิเคราะห์การถดถอย และเทคนิคการชักตัวอย่าง

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรู้ทางด้านสถิติ และสามารถนําไป ประยุกต์ใช้ตรงตามความ ต้องการของตลาดแรงงาน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ)  

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมในแขนงวิชาอาชีวสุขศาสตร์, แขนงวิชาการยศาสตร์และความปลอดภัย, แขนงวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์ที่เน้นด้านชีวอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม, นักวิจัย, นักวิชาการ, ที่ปรึกษา, ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานภาครัฐและ เอกชน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://fph.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาระเบียบวิธีการวิจัย, วิชาสัมมนาเคมี, และเคมีอินทรีย์ขั้นสูง เป็นต้น

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทั้งทางด้านวิชาการและการประยุกต์ใช้เพื่อสนองความต้องการตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเซลล์ต้นกำเนิดและอณูชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาระเบียบวิธีวิจัยและจริยธรรมการวิจัยด้านเซลล์ต้นกำเนิด, แนวคิดสำคัญทางด้านเซลล์และอณูชีววิทยา, ชีววิทยาเซลล์ต้นกำเนิด อย่างไรก็ตามบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการค้นคว้าวิจัยและสร้างนวัตกรรมทางด้านเซลล์ต้นกำเนิดยังคงมีจำกัด ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศ ที่สำคัญในประเทศไทยเองยังไม่มีหลักสูตรที่เปิดสอนทางด้านเซลล์ต้นกำเนิดและอณูชีววิทยาโดยตรง ดังนั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เล็งเห็นความสำคัญจึงได้เปิดหลักสูตรนี้ขึ้น

ด้วยเหตุนี้เองจึงถือเป็นโอกาสของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่พัฒนาองค์ความรู้เพื่อชี้นำพัฒนาแก้ปัญหาสังคมทุกด้านร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ที่มีศักยภาพทางด้านโครงสร้าง ห้องปฏิบัติการ งบประมาณการวิจัย และมีบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการผลิตมหาบัณฑิตให้สามารถผลิตงานวิจัยทางด้านเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อประยุกต์ใช้ทางคลินิกในการแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชน หรือพัฒนาวิธีการป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อความยั่งยืนในอนาคต

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://med.tu.ac.th/webmed/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาระเบียบการวิจัยทางเทคโนโลยีการเกษตร, สัมมนาด้านเทคโนโลยีการเกษตร, ปัญหาพิเศษด้านเทคโนโลยีการเกษตร เป็นต้น

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ มีประสบการณ์เป็นผู้รู้จริงและปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังมีความสามารถสูง ในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร มีความสามารถที่จะคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมควบคู่ไปกับจิตสํานึกในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาเทคนิคและเครื่องมือทางเทคโนโลยีชีวภาพ, กระบวนทัศน์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ, ระเบียบการวิจัยและการวางแผนการทดลอง

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์, นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์, พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ, ผู้ประกอบการ, ลูกจ้างตามสถานประกอบการ หรืออาชีพอิสระ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก, พื้นฐานด้านการให้แสงและเงา, พื้นฐานด้านการออกแบบเกม, พื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ในเกม, พื้นฐานด้านการพัฒนาเกม, การออกแบบและการโปรแกรมเชิงวัตถุ, คอมพิวเตอร์กราฟิกขั้นสูง ฯลฯ 

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิจัยพัฒนาซอฟแวร์แบบจำลองและเกม, นักพัฒนาเครื่องมือและเกมเอนจิ้น, นักพัฒนาเกม, นักวิจัยสำหรับงานวิจัยที่ต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมีเดีย, นักสถาปัตยกรรมซอฟแวร์, นักพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์, แอนิเมเตอร์, วิศวกรควบคุมคุณภาพซอฟแวร์, นักออกแบบและพัฒนาซอฟแวร์ด้านกราฟิก, นักพัฒนาเว็บไซต์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการสัมมนาทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท, ระเบียบวิธีวิจัยทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท, การฝึกปฏิบัติภาคสนาม และบัณฑิตสัมมนา

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท, นักวิจัยและนักวิชาการด้านการพัฒนาชนบท, ผู้จัดการโครงการด้านการพัฒนาชนบทและสิ่งแวดล้อม, นักวิเคราะห์และวางแผนการพัฒนาชนบทและสิ่งแวดล้อม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sci.tu.ac.th/

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์อายุรวัฒน์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ในเวชศาสตร์อายุรวัฒน์, จรรยาบรรณวิชาชีพด้านเวชศาสตร์อายุรวัฒน์ นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจ เช่น เวชศาสตร์อายุรวัฒน์เชิงป้องกัน, เวชศาสตร์การฟื้นสภาพและเทคโนโลยีชีวการแพทย์ก้าวหน้า, บูรณาการเวชศาสตร์อายุรวัฒน์เชิงระบบ, บทนำสู่เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์ในสถาบันการศึกษา, นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์, ประกอบวิชาชีพตามสาขาภายใต้ใบประกอบโรคศิลปะของตนเอง โดยเพิ่มการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านเวชศาสตร์อายุรวัฒน์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cicm.tu.ac.th/

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาสถิติอุตสาหกรรม, การออกแบบและวิเคราะห์การทดลอง, การควบคุมคุณภาพทางสถิติ, ความน่าเชื่อถือเชิงวิศวกรรม, การวิเคราะห์เชิงปริมาณสำหรับอุตสาหกรรม, การจำลองระบบทางอุตสาหกรรม, เทคนิคการตัดสินใจสำหรับงานวิศวกรรม ฯลฯ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง วิศวกร, นักวิชาการ, ที่ปรึกษาโครงการ, ผู้บริหารองค์กร, นักวิจัย, ผู้ประกอบการ เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการบัญชีชั้นต้น, หลักสำคัญของการบัญชี, การเงินธุรกิจ, หลักพื้นฐานการตลาด, หลักการบริหาร, การจัดการองค์กร, การบริหารกลยุทธ์, การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจและวิศวกรรม, จริยธรรมในการบริหารจัดการธุรกิจ ฯลฯ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง วิศวกรออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างต่างๆ อาทิ อาคารสูง โรงงาน ท่าอากาศยาน ถนน สะพานอุโมงค์ใต้ดิน เขื่อน ฝายกั้นน้า ฯลฯ, วิศวกรด้านการบริหารและการควบคุมการก่อสร้าง, วิศวกรด้านสำรวจ การรังวัด และการจัดทำผังเมือง, วิศวกรออกแบบและดูแลระบบผลิตน้ำประปาและระบบบำบัดน้ำเสียประจำโรงงานและอาคารต่าง ๆ, วิศวกรสำรวจและบริหารงานด้านแหล่งน้ำและอุทกวิทยา, วิศวกรออกแบบและดูแลระบบไฮเวย์, นักวิชาการ, ที่ปรึกษาโครงการ, ผู้บริหารโครงการ, นักวิจัย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานอุตสาหกรรม ซึ่งจะแนะนำวิธีการวิจัยการปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมอุตสาหการ โดยเน้นการใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์, การกำหนดการเชิงเส้น และปัญหาการมอบหมายงาน, วิชาการวางแผนการผลิตและการควบคุมกระบวนการผลิต เพื่อคำนวณค่าใช้จ่ายและเวลาสูญเปล่า เป็นต้น

ประเทศไทยมีนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรในจำนวนที่จำกัด และไม่เพียงพอต่ออัตราการเจริญเติบโตของประเทศ อุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงต้องพยายามดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดได้และพัฒนาเพื่อการเจริญเติบโตต่อไปในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่เศรษฐกิจระดับประเทศ จึงจำเป็นต้องอาศัยนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถสูงเป็นจำนวนมาก ควบคู่ไปกับการกำหนดนโยบายและแนวทางในการดำเนินการที่ชัดเจน ซึ่งผู้ที่ศึกษาในสาขานี้จึงมีความสำคัญมาก

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาสมดุลมวลสารและพลังงาน, กลศาสตร์ของไหลสำหรับวิศวกรรมเคมี, การถ่ายเทความร้อน, วิศวกรรมปฏิกิริยา, การถ่ายโอนมวล, เทอร์โมไดนามิกส์วิศวกรรมเคมี เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง วิศวกรกระบวนการผลิต (Production Engineer), วิศวกรออกแบบกระบวนการผลิต (Design Engineer), นักวิจัยและพัฒนาในองค์กรราชการและเอกชน, นักวิเคราะห์โครงการ, ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและกระบวนการทางเคมี, วิศวกรความปลอดภัยกับงานสิ่งแวดล้อม, นักเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม, วิศวกรแผนกควบคุมคุณภาพ, นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมีและเครื่องมือวิเคราะห์ต่าง ๆ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรมขั้นสูง, การถ่ายเทความร้อนขั้นสูง, การออกแบบระบบทางความร้อน, ปรากฏการณ์การถ่ายเทในวัสดุพรุน, เทคโนโลยีการอบแห้ง ฯลฯ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง วิศวกร ซึ่งแบ่งได้เป็น วิศวกรโรงงาน วิศวกรซ่อมบำรุง วิศวกรด้านการออกแบบวิศวกรขายอุปกรณ์ / เครื่องจักร, นักวิจัย, นักวิชาการ, นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน, นักเขียนโปรแกรม, นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมเครื่องกล เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์, ทฤษฎีกลศาสตร์โครงสร้าง, การวิเคราะห์โครงสร้างขั้นสูง, โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กขั้นสูง และวิชาเลือกในหมวดวิศวกรรมแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม, หมวดวิศวกรรมขนส่งและสารสนเทศ, หมวดวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง วิศวกร, นักวิชาการ, ที่ปรึกษาโครงการ, ผู้บริหารโครงการ, นักวิจัย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์และระบบโซ่อุปทาน (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาเรื่องความน่าจะเป็นและสถิติ, หลักการจัดการวิศวกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, โครงข่ายการขนส่งและการกระจายสินค้า, การจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้า เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง บุคลากรระดับปฏิบัติการถึงผู้บริหารในองค์กรทั้งภาคเอกชน ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ เช่น ขนส่ง คลังสินค้า จัดซื้อ วางแผนและควบคุมการผลิต การผลิต การบริการ, ที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, วิทยากรถ่ายทอดความรู้, นักวิจัย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://www.siit.tu.ac.th/

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ

ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของการวิจัย กระบวนการการวิจัยซึ่งประกอบด้วย การกำหนดปัญหา การศึกษา ระเบียบวิธีวิจัย การแปลความหมายข้อมูล นำเสนอผลงานวิจัย การเขียนโครงการและรายงานวิจัย จริยธรรมในการทำวิจัย สถานภาพและทิศทางการวิจัยทางวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ และกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิทางปัญญา

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง วิศวกรไฟฟ้าหรือวิศวกรอุตสาหการ, นักวิจัย นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอุตสาหการ, ผู้จัดการโครงการ, ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอุตสาหการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้า, สัมมนาทางวิศวกรรมไฟฟ้า, ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับวิศวกรรมไฟฟ้า และวิชาเลือกในแต่ละสาขา เช่น สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์, สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคมและการประมวลผลสัญญาณ, สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง วิศวกรไฟฟ้าหรือวิศวกรคอมพิวเตอร์, นักวิจัย นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า, ผู้จัดการโครงการ, ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการจัดการกระบวนการอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน, การจัดการพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม, สถิติและเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม, เทคโนโลยีสะอาด ฯลฯ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง วิศวกรกระบวนการผลิตและพลังงาน, วิศวกรออกแบบกระบวนการผลิต, นักวิจัยและพัฒนาในองค์กรราชการและเอกชน, นักวิเคราะห์โครงการ, ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม, วิศวกรความปลอดภัยกับงานสิ่งแวดล้อม, นักเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม, วิศวกรแผนกควบคุมคุณภาพ, นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมี

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.engr.tu.ac.th/main

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ขั้นสูงสําหรับเทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงาน, การถ่ายเทความร้อนขั้นสูง, การวิเคราะห์พลังงานความร้อน, การทําความเย็นและการปรับอากาศขั้นสูง, เชื้อเพลิงและการเผาไหม้ขั้นสูง, เทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น

หลักสูตรนี้มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ทักษะและความชํานาญในการประยุกต์ใช้และพัฒนาเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม เป็นมหาบัณฑิตนักปฏิบัติ มีความสามารถในการออกแบบ พัฒนา คิดวิเคราะห์แก้ไข ปัญหา และบริหารจัดการ ทำให้การดําเนินงานบรรลุเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีความคิดสร้างสรรค์พร้อมที่จะทํางาน ได้ทั้งในและต่างประเทศ และสามารถพัฒนาศักยภาพตนเองให้สูงขึ้น และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://www.siit.tu.ac.th/

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์การคณนา (Computational Mathematics), แนวคิดซอฟต์แวร์สําหรับระบบฝังตัว, การออกแบบซอฟต์แวร์สําหรับระบบฝังตัว, แนวคิดฮาร์ดแวร์สําหรับระบบฝังตัว, การออกแบบฮาร์ดแวร์สําหรับระบบฝังตัว, ระเบียบวิธีวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฝังตัว

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว คือระบบสมองกลฝังตัวที่ใช้ประมวลผล เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความฉลาด ความสามารถให้กับอุปกรณ์เหล่านั้นผ่านซอฟต์แวร์ ซึ่งถือเป็นหลักสูตรที่น่าสนใจตอบสนองการพัฒนาของโลกในปัจจุบันนี้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://www.siit.tu.ac.th/

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน

ศึกษาเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานและนิติวิธีในกฎหมายมหาชน, สิทธิขั้นพื้นฐาน, สถาบันทางการเมืองและองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ, การกระทำทางปกครองและความรับผิดของฝ่ายปกครอง, การคลังสาธารณะและวิธีการงบประมาณของไทย, การควบคุมฝ่ายปกครอง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง, กฎหมายมหาชนเศรษฐกิจ, ปัญหากฎหมายมหาชนในมิติของกฎหมายระหว่างประเทศ, สัมมนากฎหมายรัฐธรรมนูญ และสัมมนากฎหมายปกครอง

เพื่อมุ่งสร้างนักกฎหมายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางกฎหมายมหาชนทั้งเชิงทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างมีทัศนคติอันน่าเลื่อมใสในหลักนิติรัฐและระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความกล้าหาญในวิชาชีพที่จะใช้กฎหมายในแนวทางที่สอดคล้องกับหลักการทั้งสองดังกล่าว

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.law.tu.ac.th/

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีต่าง ๆ ภายในห้องเรียน โดยวิทยาลัยนวัตกรรมเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการอภิปรายนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณาจารย์และวิทยากรที่เชี่ยวชาญในหลักสูตร ขณะที่การศึกษาภายนอกห้องเรียนวิทยาลัยนวัตกรรมได้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เช่น การศึกษาดูงานนอกสถานที่ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคลากรที่ทำงานตามองค์กรต่าง ๆ

มหาบัณฑิตในสาขานี้จะได้รับการส่งเสริมด้านการวิจัย สอนให้เรียนรู้ ค้ำชูธรรมศาสตร์ สร้างบทบาทต่อสังคม และชื่นชมประสบการณ์วิทยากร

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.citu.tu.ac.th/home

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรม

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของสังคมไทยในแง่เศรษฐกิจ สังคม การเมือง, เรียนรู้ทฤษฎีอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสาเหตุของการเข้าสู่อาชญากรและวิธีลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญา นอกจากนี้ยังศึกษาการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อความเข้าใจในโครงสร้าง อำนาจ และหน้าที่ของระบบยุติธรรม ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทางสังคม สามารถประมวลข้อมูลและนำไปใช้ในทางด้านสังคมศาสตร์

การบริหารงานยุติธรรมเป็นวิชาการที่สําคัญเพื่อเอื้อต่อความยุติธรรมสู่ประชาชน ท่ามกลางกระแสเรียกร้องสิทธิของกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ต้องหา จำเลย ผู้ต้องขัง เหยื่อ อาชญากรรม รวมถึงกระแสความต้องการของประชาชนที่ประสงค์จะให้องค์กรทั้งหลายเข้ามาดำเนินงาน ระงับยับยั้ง ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้ได้ผล บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม จึงจําเป็นต้องมีความรู้เท่าทันกระแสดังกล่าว ทั้งยังสามารถกำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการงานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ชั้นตำรวจ อัยการ ศาล ทนายความ คุมประพฤติ และราชทัณฑ์ ได้อีกด้วย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.spdtu.com/

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาแนวคิดด้านศิลปวัฒนธรรมและการจัดการ, นโยบายและจริยธรรมในงานศิลปวัฒนธรรม, การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม, การตลาดวัฒนธรรมและการระดมทุน, การสื่อสังคมและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง ภัณฑารักษ์หรือตำแหน่งอื่น ๆ ในพิพิธภัณฑ์, ภัณฑารักษ์ศิลปะอิสระ, ผู้บริหารโครงการทางศิลปวัฒนธรรม, ผู้บริหารจัดการด้านอุตสาหกรรมบันเทิงและงานสร้างสรรค์, บุคลากรสายวิชาการด้านงานบริหารศิลปวัฒนธรรม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.citu.tu.ac.th/home

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชางานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนา, พื้นฐานชุมชนวิทยา วัฒนธรรมวิทยาและสังคมวิทยา, เศรษฐศาสตร์การเมืองและการพัฒนาสังคม, สุนทรียศาสตร์ของการพัฒนา, การศึกษาการพัฒนาเบื้องต้น ฯลฯ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม วัฒนธรรมและชุมชน, ผู้ประกอบการทางสังคม, นักพัฒนาชุมชน นักพัฒนาสังคม นักพัฒนาวัฒนธรรม, นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรภาครัฐและเอกชน, นักวิจัยเชิงปฏิบัติพัฒนา, ผู้จัดการงานอาสาสมัคร, ที่ปรึกษาด้านการประเมินโครงการ, นักวางแผน, นักคิด นักเขียน นักวิเคราะห์ทางด้านการพัฒนา

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://psds.tu.ac.th/

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (ภาคภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาหลักการสอนภาษาอังกฤษ, การรับภาษาที่สอง, พื้นฐานทางภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ, การฝึกสอนสำหรับการสอนภาษาอังกฤษ, ระเบียบวิธีวิจัย เชิงปริมาณสำหรับการสอนภาษาอังกฤษ และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับการสอนภาษาอังกฤษ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง ครูสอนภาษาอังกฤษ ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างประเทศ, ทำอาชีพอาชีพอิสระด้านการสอนภาษาอังกฤษ, ผู้เชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษและด้านทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษ, นักแปล, ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาการสอนภาษาอังกฤษ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://grad.litu.tu.ac.th

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลภาษาฝรั่งเศส-ไทย

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการค้นคว้าวิจัย, การวิเคราะห์ข้อเขียนภาษาฝรั่งเศส, ศิลปะการเขียนภาษาไทยสำหรับนักแปล, การอ่านวรรณกรรมเชิงวิเคราะห์, ทฤษฎีและหลักวิธีการแปล, การแปลฝรั่งเศส – ไทยทั่วไป และการวิเคราะห์การแปล

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักแปลอิสระหรืออาจารย์สอนทางด้านภาษา

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://arts.tu.ac.th/master

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการแปลภาษาญี่ปุ่น, สัมมนาโครงสร้างภาษาญี่ปุ่น, การสอนภาษาญี่ปุ่นในฐานะภาษาต่างประเทศ, สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น, การเมืองและเศรษฐกิจญี่ปุ่น, วรรณกรรมกับสังคมญี่ปุ่น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิชาการ, อาจารย์, นักวิจัย, ข้าราชการและพนักงานในองค์กรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น, พนักงานบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://arts.tu.ac.th/master

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมทางสังคม และความยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ)

วิทยาลัยโลกคดีศึกษามีจุดมุ่งหมายในการอภิปรายถึงมุมมองที่สำคัญต่อปรากฏการณ์ในโลก และจัดเตรียมเครื่องมือรวมทั้งทักษะในการจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อน อีกทั้งจะช่วยยกระดับความสามารถในด้านต่างๆ ไปสู่ความสำเร็จในโลกยุคปัจจุบัน มุ่งเน้นในด้านการเรียนรู้ที่ยั่งยืน วัฒนธรรมที่หลากหลาย ความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่างๆ การคำนึงถึงมุมมองที่แตกต่าง ทักษะการคิดวิเคราะห์ รวมไปถึงความสามารถในการแก้ปัญหา เพื่อสร้างความยั่งยืนในโลกยุคศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาความร่วมมือในระดับนานาชาติทางด้านการศึกษา และงานวิจัยรูปแบบใหม่ อีกทั้งวิทยาลัยฯ ยังได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่มุ่งเน้นทางด้านความยั่งยืน และนวัตกรรมสังคม ผ่านมุมมองด้านสังคม และการเมือง ที่ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างภูมิภาค โดยการประยุกต์จุดศูนย์รวมแบบใต้-ใต้ (แอฟริกา เอเชีย-แปซิฟิค และตะวันออกกลาง) เช่นเดียวกับการมุ่งเน้นผลข้ามภาค

ในขณะที่วิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องของความยั่งยืนได้ก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดนั้น เครื่องมือทางเทคนิค และนวัตกรรมได้ถูกพัฒนา การจัดการธุรกิจรูปแบบใหม่ได้เข้ามาแทนที่ การมีส่วนร่วมทางสังคม และการเมือง และการส่งเสริมทางด้านสิทธิมนุษยชนนั้นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อองค์ประกอบต่างๆ นั้นถูกรวมเข้าด้วยกัน เราสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมสังคมที่สำคัญ โดยการรวบรวมประสบการณ์ ทรัพยากร และความชำนาญของเรา ผ่านทางความร่วมมือ และการให้ความสำคัญกับมนุษย์ที่มีมุมมองต่างกัน มีความรู้ และประสบการณ์ที่ต่างกัน อีกทั้งยังมีการจัดลำดับความสำคัญที่ต่างกัน การทำความเข้าใจการทำงานร่วมกันในระดับโลก การสร้างความก้าวหน้าทางด้านงานวิจัยนวัตกรรม และการให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ จะช่วยพัฒนาความรู้ ทักษะ และหลักจริยธรรม สำหรับโลกยุคศตวรรษที่ 21 ที่มีความยั่งยืน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.sgs.tu.ac.th/

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติเศรษฐศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง โดยคณาจารย์ทั้งจากคณะนิติศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ตรง เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และถกอภิปรายในระหว่างเรียน เน้นการวิเคราะห์ การนำเสนอ และผลิตรายงาน

ซึ่งการศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติเศรษฐศาสตร์มีส่วนผสมทั้งจากภาคธุรกิจ ภาครัฐ นักปฏิบัติ ผู้วางนโยบาย และนักบริหารนั้น จะทำให้ผู้เรียนสามารถแบ่งปันประสบการณ์ให้ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และสร้างเครือข่ายสำหรับการทำงานต่อไปในอนาคตได้เป็นอย่างดี 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.econ.tu.ac.th/

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคม

ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมทางสังคม, ปัจจัยและกระบวนการทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมมนุษย์, สังคมสงเคราะห์และนโยบายสังคม และยังรวมไปถึงแรงงานศึกษา, ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต, การทำงานของแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ, แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิต การทำงานและความเป็นธรรมในสังคม, เศรษฐศาสตร์แรงงานและสวัสดิการ, กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานและสวัสดิการ, แรงงานสัมพันธ์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคม มุ่งผลิตผู้ที่มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสามารถในการวิเคราะห์องค์ความรู้ต่าง ๆ มีกระบวนการคิดที่สะท้อนถึงการติดตามพัฒนาการของความรู้และความสามารถในการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อการทำงานด้านพัฒนาแรงงานและสวัสดิการสนับสนุนการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างความเป็นธรรมทางสังคมอีกด้วย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.spdtu.com/

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ขั้นสูง, แนวคิดและทฤษฎีการวิจัยทางประวัติศาสตร์ขั้นสูง, การพัฒนาแนวคิดและเค้าโครงวิทยานิพนธ์

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์, นักวิชาการ, นักคิด, นักเขียน, นักวิจัยด้านประวัติศาสตร์ ในหน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://arts.tu.ac.th/master

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาประวัติพุทธศาสนา, พระไตรปิฎกและอรรถกถา, พุทธศาสนาเถรวาท, พุทธศาสนามหายาน, กรรมฐานในพุทธศาสนา

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง ครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษาทั้งในระดับอุดมศึกษาและต่ำกว่าอุดมศึกษา, นักวิชาการอิสระ, บรรณาธิการและนักเขียนงานด้านพุทธศาสนา, เจ้าหน้าที่วิชาการด้านพุทธศาสนา เช่น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://arts.tu.ac.th/master

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาเสียงและระบบเสียง, ระบบคำและประโยค, ระบบความหมาย, ระบบข้อความ, วัจนปฏิบัติศาสตร์, ภาษาศาสตร์เชิงสังคม เป็นต้น

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิชาการและนักวิจัยด้านภาษาศาสตร์, อาจารย์สอนด้านภาษา, ที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำด้านการใช้ภาษา, นักแปลเอกสารภาษาต่างประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://arts.tu.ac.th/master

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา (โครงการพิเศษ หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาภาษาอังกฤษศึกษาได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมุ่งหมายที่จะสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของภาษาอังกฤษศึกษา ได้แก่ ภาษาศาสตร์ ประยุกต์และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม อีกทั้งมีความสามารถในการนาองค์ความรู้ไปใช้ในการประกอบวิชาชีพหรือในการสร้างรายได้ และเกิดความตระหนักถึงความหลากหลายของสังคมและวัฒนธรรมอันจะนาไปสู่ความสามารถอยู่ร่วมกันและทางานกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://arts.tu.ac.th/master  หรือ  http://www.tuenglish.org/programs/els/

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเชิงอาชีพเพื่อการสื่อสารนานาชาติ (ภาคภาษาอังกฤษ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาภาษาอังกฤษโดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มทฤษฎีและการปฏิบัติทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ, กลุ่มภาษาศาสตร์และภาษาศาสตร์ประยุกต์, วิชาการพัฒนาวิชาชีพ, วิชาการพัฒนาความรู้ทางภาษาอังกฤษ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง ครู อาจารย์และนักวิชาการ, นักข่าว, นักแปล, เลขานุการ, มัคคุเทศก์, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศ, เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์, ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://grad.litu.tu.ac.th

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาภาษาศาสตร์กับการศึกษาวิเคราะห์ภาษาไทย, วรรณกรรมไทยต่างสมัย, ระเบียบวิธีวิจัย พร้อมทั้งวิชาเลือกที่สามารถเลือกตามความสนใจได้อีกหลายรายวิชา

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง อาจารย์ด้านภาษาและวรรณกรรมไทยในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา, นักวิชาการและนักวิจัยด้านภาษาและวรรณกรรมไทย, บรรณาธิการ, นักวิจารณ์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://arts.tu.ac.th/master

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมและการศึกษาเปรียบเทียบ

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการเขียนเชิงวิชาการ, การเขียนงานวิจัย, ประวัติวรรณคดีวิจารณ์, วรรณคดีวิจารณ์ร่วมสมัย

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิชาการและนักวิจัยด้านภาษาและวรรณคดีอังกฤษ, อาจารย์ผู้สอนด้านภาษาและวรรณคดีในระดับอุดมศึกษา, นักแปลหนังสือ ภาพยนตร์ และวารสารต่าง ๆ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://arts.tu.ac.th/master

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสตรี เพศสถานะ และเพศวิถีศึกษา 

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาความรู้เบื้องต้นทางสตรีศึกษา, วิวัฒนาการแนวคิดและทฤษฎีสตรีนิยม, ระเบียบวิธีวิจัยในแนวสตรีศึกษา, สัมมนาหัวข้อวิทยานิพนธ์

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิจัย, นักวิชาการ, นักวางแผนและกำหนดนโยบาย, นักบริหารจัดการและผู้ปฏิบัติงานทั้งในภาครัฐ ธุรกิจเอกชน องค์กรด้านการพัฒนา องค์กรสาธารณประโยชน์และองค์กรระหว่างประเทศ หรือประกอบวิชาชีพอิสระในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสตรีศึกษา

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://ci.tu.ac.th/master-program

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาเซียนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมในอาเซียน, โครงสร้างและกระบวนการตัดสินใจในองค์การของอาเซียน, ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ และยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาเซียนอีกหลายรายวิชา

หลักสูตรนี้มุ่งการสร้างและการเผยแพร่องค์ความรู้ ตลอดจนผลิตบุคลากรที่มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งในเสาหลัก 3 ด้านของประชาคมอาเซียน คือ เศรษฐกิจ ความมั่นคง และสังคมวัฒนธรรม ทั้งนี้ ภายใต้บริบทของการเชื่อมโยงและการพึ่งพิง ซึ่งส่งอิทธิพลถึงกันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น การลงทุน การค้า การแก้ปัญหาสังคม การเสริมสร้างความมั่นคง ตลอดจนความเข้าใจและสร้างมิตรภาพอันดีระหว่างกันในภูมิภาคอาเซียนจึงเป็นสิ่งจำเป็น ความร่วมมือดังกล่าวไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลดีต่อประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนผู้คนในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกที่สนใจในประชาคมอาเซียนอีกด้วย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pbic.tu.ac.th/main/

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียแปซิฟิกศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานเอเชียแปซิฟิกศึกษา, การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิก, พลวัตของเศรษฐกิจไทย และยังมีวิชาเลือกอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง ข้าราชการในกระทรวงต่าง ๆ ที่ได้ใช้ความรู้โดยตรง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม,กระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, กระทรวงการต่างประเทศ ได้แก่ กรมเอเชียตะวันออก กรมอาเซียน กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ci.tu.ac.th/

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเรียนรู้และนวัตกรรมการศึกษา

ศึกษาเกี่ยวกับสมดุลของศาสตร์และศิลป์ในด้านวิทยาการเรียนรู้และนวัตกรรมการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจความหมายของการเรียนรู้และการศึกษาจากหลายสาขาวิชาและหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ โดยตลอดระยะเวลาการศึกษา ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทั้งทฤษฏี นวัตกรรม และกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการศึกษาในบริบทต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และนวัตกรรมการศึกษาบนฐานการวิจัยตามความสนใจ และความถนัดของแต่ละบุคคล โดยมีคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวิชาและอาชีพให้การสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและด้านการปฏิบัติเชิงวิชาชีพอย่างใกล้ชิด

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้จะเป็นบุคลากรด้านการเรียนรู้และการศึกษาที่สามารถทำงานได้ในทุกภาคส่วนของสังคม มีคุณสมบัติความเป็นมนุษย์ที่เคารพความคิดตนเองและความคิดผู้อื่น สามารถปรับตัวเข้ากับบริบทต่าง ๆ ได้อย่างรู้เท่าทัน และนำความรู้ประสบการณ์ไปพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่ด้านวิทยาการเรียนรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาผ่านการสืบค้นและการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://lsed.tu.ac.th/

สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานการออกแบบเชิงวิจัยสถาปัตยกรรม, การออกแบบ-วิจัยสถาปัตยกรรม เป็นการปฏิบัติการออกแบบเชิงวิจัยสําหรับการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีความซับซ้อน มุ่งเน้นกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีรายวิชาการบริหารจัดการงานก่อสร้าง ศึกษาวงจรการบริหารจัดการและดําเนินงานก่อสร้างของโครงการทางด้านสถาปัตยกรรมและอสังหาริมทรัพย์

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง เพื่อเข้าสู่วงการวิชาชีพสถาปัตยกรรมตามมาตรฐานสากล โดยมีความรู้ความสามารถเฉพาะทางตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านต่าง ๆ เน้นการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม และมีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำทางวิชาชีพ มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเป็นวิชาชีพที่เชื่อถือของสังคม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://w2.tds.tu.ac.th/

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยทางสังคม

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาทฤษฎีทางสังคมวิทยาร่วมสมัย และสถิติพื้นฐานเพื่อการวิจัยทางสังคม นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจอีกหลายรายวิชา

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นมีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนงานวิจัยทั้งกระบวนการ มีทักษะในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และแปลความหมายของข้อมูลอย่างมีระเบียบแบบแผน สามารถปฏิบัติงานวิจัยทางสังคม ริเริ่มและดำเนินการวิจัยได้อย่างเป็นอิสระด้วยตนเอง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://socanth.tu.ac.th/

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาประวัติศาสตร์ พัฒนาการแนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยา, แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยาร่วมสมัย, การวิจัยทางมานุษยวิทยา, มานุษยวิทยากายภาพ และโบราณคดีเชิงมานุษยวิทยา

หลักสูตรนี้มีแผนการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นการวิจัยเป็นหลัก และส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมานุษยวิทยาเป็นแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ที่พยายามทำความเข้าใจมนุษย์ ทั้งในแง่ที่มนุษย์เป็นผลิตผลของระบบสังคม วัฒนธรรม และในแง่ที่มนุษย์เป็นศูนย์กลางในการสร้างสรรค์ ควบคุม และเปลี่ยนแปลงสภาพชีวิตรอบ ๆ ตัว ดังนั้น เนื้อหาของมานุษยวิทยาจึงมีขอบเขตที่กว้างขวาง ครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งทางด้านกายภาพ วิถีชีวิตพฤติกรรม ความคิด ความเข้าใจ การให้ความหมาย ตลอดไปจนถึงอารมณ์ความรู้สึก เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://socanth.tu.ac.th/

สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ในบริบทสังคมโลกาภิวัตน์, ปรัชญาและแนวคิดของงานสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม, ทฤษฎีสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมด้านสังคมสังเคราะห์ศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต

องค์ความรู้ในศาสตร์ทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ มีทักษะทางวิชาชีพและจรรยาบรรณ ในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม เสริมสร้างคุณภาพผู้ปฏิบัติงาน นักวิจัยและผู้บริหารงานสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงาน นอกจากตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์แล้ว ยังเป็นเจ้าหน้าที่บุคคล เจ้าหน้าที่ทรัพยากรมนุษย์ นักวิชาการ นักวิจัย หรือ อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาอีกด้วย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.spdtu.com/

สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาพฤติกรรมมนุษย์ในระบบสวัสดิการสังคม, แนวคิดและทฤษฎีในงานสวัสดิการสังคมและในองค์กรต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเพิ่มการวิเคราะห์นโยบายและแผนสวัสดิการสังคมอีกด้วย ซึ่งผู้ศึกษาสามารถเลือกตามความสนใจได้ว่าจะศึกษาแผน ก. คือ แผนจัดทำวิทยานิพนธ์ หรือ แผน ข. คือ แผนศึกษารายวิชา โดยไม่ต้องจัดทำวิทยานิพนธ์

มหาบัณฑิตที่ศึกษาในหลักสูตรนี้จะมีความรู้และทักษะตลอดจนทัศนคติที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับตัวเข้ากับหน่วยงานและโลกได้ดี เป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่มีคุณภาพ มีระบบเครือข่ายระหว่างหน่วยงานที่ทำงานด้านสวัสดิการสังคม รวมทั้งเครือข่ายชุมชนด้านสวัสดิการชุมชนที่เข้มแข็ง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.spdtu.com/

สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีวสถิติสำหรับสาธารณสุข, วิทยาการระบาดสำหรับสาธารณสุข, สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ในงานสาธารณสุข, อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย โดยมีการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รงสิต และศูนย์ลำปาง

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักสาธารณสุขเพื่อสังคม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://fph.tu.ac.th/

สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสาธารณสุขโลก (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีวสถิติประยุกต์สำหรับการสาธารณสุขโลก, วิทยาการระบาดประยุกต์ในทัศนมิติการสาธารณสุขโลก, นโยบายและการวางแผนการสาธารณสุขโลก, สังคมศาสตร์และพฤติกรรรมศาสตร์ด้านสาธารณสุขโลก, อนามัยสิ่งแวดล้อมโลก เป็นต้น

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการผลิตทรัพยากรบุคคลที่มีแนวคิดใหม่ของสุขภาพอนามัยโลกโดยอาศัยประโยชน์จากประสบการณ์ ความรู้ ความชํานาญ และทรัพยากรที่มีอยู่ผสมผสานเข้ากับนานาทัศนมิติและการจัดลําดับความสําคัญที่แตกต่างกันของเครือข่ายในการช่วยเปลี่ยนแปลงพื้นฐานด้านสุขภาพอนามัยโลกให้สามารถขับเคลื่อนเครือข่ายงานสาธารณสุขไปในทาง ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://fph.tu.ac.th/

หลักสูตรปริญญาโทออนไลน์

หลักสูตรปริญญาโท บริหารธุรกิจ สาขา Business Innovation (M.B.A. Business Innovation)

ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างผู้บริหารในยุคดิจิตอล เนื้อหามีการปรับปรุงและสร้างขึ้นใหม่บนแนวคิดการบริหารจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรม โดยครอบคลุมทั้ง การวางกลยุทธ์, การบริหารจัดการ, ทักษะเฉพาะทางในการดำเนินการทางธุรกิจ และการสร้างภาวะผู้นำ ผู้เรียนจะได้รับองค์ความรู้ในการเป็นผู้นำทีม ที่จะพัฒนาและบริหารจัดการนวัตกรรมเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจให้ทัดเทียมกับระดับภูมิภาค ตลอดจนระดับนานาชาติได้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.skilllane.com/TUXSA

หลักสูตรปริญญาโท Data Science for Digital Business Transformation (M.S. Digital Business Transformation)

ออกแบบและพัฒนาตามความต้องการของงานในยุคปัจจุบันที่ปริมาณข้อมูลมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน หลักสูตรนี้จะสอนให้ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลมาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจที่ทรงพลัง และเข้าใจถึงวิธีการในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และคาดการณ์ความเป็นไปได้เพื่อสร้างแต้มต่อและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน นอกจากความรู้และกรณีศึกษาเกี่ยวกับ Data Science หลักสูตรนี้ยังมีองค์ความรู้ที่มุ่งเน้นการสร้างความเชี่ยวชาญในด้านการวางนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นผู้บริหารขององค์กรที่สามารถนำและปรับองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.skilllane.com/TUXSA

หลักสูตรปริญญาโท Applied AI

มุ่งเน้นการสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีและการพัฒนาอัลกอริทึมในด้านปัญญาประดิษฐ์ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การสร้างและการประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเมื่อความร่วมมือระหว่างมนุษย์และ AI เป็นเรื่องที่ไม่สามารถปฏิเสธได้อีกต่อไป การเรียนรู้ถึงการบริหารจัดการและปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรเพื่อใช้ AI ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจึงเป็นเนื้อหาอีกส่วนหนึ่งที่ผู้เรียนจะได้รับในหลักสูตรนี้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.skilllane.com/TUXSA

เทคนิคการแพทยมหาบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาการบูรณาการความรู้ผสมผสานระหว่างการบริการวิชาการและการวิจัย เช่น การลงฝึกปฏิบัติงานในชุมชน เพื่อนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัย เพื่อแก้ไขปัญหาทางสุขภาพของชุมชนให้ตรงกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น ส่งเสริมการทำวิจัยโดยใช้อุปกรณ์เครื่องมือในการทำวิจัยขั้นสูง ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องเทคนิคการแพทย์

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคนิคการแพทย์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://allied.tu.ac.th/

เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหาภาค,  เศรษฐศาสตร์ร่วมสมัย, คณิตศาสตร์สำหรับนักเศรษฐศาสตร์, เศรษฐมิติ, เศรษฐมิติระดับสูง, ระเบียบวิธีวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ พร้อมทั้งมีวิชาเลือกตามแต่ละสาขาที่สนใจ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักเศรษฐศาสตร์, นักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและสถิติในสถาบันธนาคารพาณิชย์, นักวิชาการและนักวิจัยในสถาบันวิจัยและหน่วยงานราชการ, อาจารย์ผู้สอนด้านเศรษฐศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.econ.tu.ac.th/

เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหาภาค รวมไปถึงประเด็นวิวาทะเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศไทยและเศรษฐกิจโลก เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวในเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัว นอกจากนี้ยังศึกษารวมไปถึงเศรษฐมิติอีกด้วย

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถนำความรู้ที่ได้นำใช้ในองค์กรชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน อาทิ ธนาคารพาณิชย์, สถาบันการเงิน, บริษัทต่างชาติ ฯลฯ หรือจะเป็นทางด้านภาคราชการ อาทิ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์, นักวิจัยกระทรวงการคลัง, ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.econ.tu.ac.th/

เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหาภาค, เศรษฐศาสตร์ร่วมสมัย, เศรษฐมิติ นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกตามแต่ละสาขาที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ สาขาเศรษฐศาสตร์การเมืองและเศรษฐศาสตร์สถาบัน, สาขาวิชาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ปริมาณ, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร        

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักเศรษฐศาสตร์, นักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและสถิติในสถาบันการเงิน, นักวิชาการและนักวิจัยในสถาบันวิจัยและหน่วยงานราชการ, อาจารย์ผู้สอนด้านเศรษฐศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.econ.tu.ac.th/

เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

ศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหาภาคเบื้องต้น  เสริมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถิติและคณิตศาสตร์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในทางเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ นอกจากนี้ยังเสริมพื้นฐานการบัญชี โดยนักศึกษาจะได้ศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจภายใต้สภาวะต่าง ๆ เช่น ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของพฤติกรรมผู้บริโภค ฯลฯ นอกจากนี้ยังเน้นไปที่เรื่องของเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการทางธุรกิจและการเงิน

หัวใจของเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจที่แท้จริงแล้ว คือ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่าง ๆ เพื่อใช้กับการทำงาน ผู้เรียนจะสามารถประยุกต์ใช้กับองค์กรต่าง ๆ ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบกับพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์สอนให้รู้จักการมองรอบด้าน ผู้เรียนจะเข้าใจถึงการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบสูง เตรียมพร้อมรับมือสำหรับทุกการเปลี่ยนแปลง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.econ.tu.ac.th/

View by Categories